ทำความรู้จัก ความเสี่ยงด้านเครดิต

ทำความรู้จัก ความเสี่ยงด้านเครดิต
คอลัมน์ :คุยฟุ้งเรื่องการเงิน
ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions [ABS]

ความเสี่ยงด้านเครดิต เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย เรียกง่าย ๆ คือ การโดนเบี้ยว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา หรือปริมาณเงินที่ไม่ได้ตามที่ตกลงไว้ ก็ถือว่าเข้าข่าย Default Risk หรือถ้าบริษัทที่ออกตราสาร (แล้วเราไปซื้อเอาไว้) เกิดล้มเลิกกิจการไป นั่นก็เห็นกันอยู่ว่าเข้าข่ายที่จะไม่ได้เงินคืนตามที่ตกลงกันไว้

จริง ๆ แล้วนิยามของความเสี่ยงด้านเครดิต คือความเสี่ยงที่เกิดจากการสูญเสียมูลค่าของสิ่งที่ลงทุนไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ดังนี้

1.ความเสี่ยงจากการล้มเลิกกิจการ (Default) ตราสารที่มีการค้ำประกัน (Collateral) ย่อมมีความเสี่ยงน้อยลง ยิ่งสินทรัพย์ที่มีการค้ำประกันมีค่าสูงกว่าเงินกู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมี Default Risk น้อยลงเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เค้าจะใช้ Property (ที่ดิน) เป็น Collateral

2.ความเสี่ยงจากการถูกลดการจัดอันดับ Credit Rating (Degrade Crediting Rate) จากนักจัดอันดับการลงทุน ซึ่งก็ทำให้มูลค่าของสิ่งที่ลงทุนไปลดลงได้เช่นกัน Credit Rating Agency ที่เห็นกันชัด ๆ ก็คือ S&P’s ซึ่งจะให้เกรด ยกตัวอย่างเช่น AAA เป็นเกรดที่สูงสุด แล้ว AAa ก็เป็นอันดับรองลงมาเป็นลำดับ จำง่าย ๆ ว่าถ้าบริษัทได้ AA มาแสดงว่าบริษัทมีความเป็นไปได้ที่จะล้มเลิกกิจการ ในทุก ๆ 2,000 ปี

3.Concentration Risk เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการกระจุกตัวของการที่เลือกลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป ขอแนะนำว่าดูในแง่ Diversification จะดีกว่า เพราะดูเหมือนจะคุ้นเคยกับคำฮิตติดหูในบ้านเราว่า การกระจายความเสี่ยง (ใส่ไข่ในตะกร้าหลาย ๆ ใบ ดีกว่าใส่ไข่ในตะกร้าเดียว) ยิ่ง Diversity การลงทุนมากเท่าไหร่ Concentration Risk ก็ยิ่งมีน้อยเท่านั้น

Advertisment

ความเสี่ยงที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยง ทางการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งบริษัทประกันจะต้องเล็งเห็นความสำคัญของมันเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งแทบจะบอกได้ว่าบริษัทประกันเป็นกลุ่มที่ซื้อตราสารหนี้ส่วนใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ไทยก็ว่าได้ เรียกว่ามีพันธบัตรออกมาขายเท่าไหร่ บริษัทประกันจะกวาดซื้อจนเกือบหมด และนั่นอาจจะเป็นเพราะความจำเป็นในการจัดการความเสี่ยงจากการลงทุนของบริษัทประกันนั่นเอง

แนวทางปฏิบัติที่ดีในการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยงที่ดีคือ การทำความเข้าใจสถานะความเสี่ยงด้านเครดิตในภาพรวมให้ครบถ้วน โดยการประเมินความเสี่ยงทั้งระดับบุคคลหรือนิติบุคคล ระดับลูกค้า และระดับของพอร์ตโฟลิโอต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธนาคารต่าง ๆ ล้วนแต่พยายามส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมต่อสถานะความเสี่ยงที่ตนมี แต่ข้อมูลที่สำคัญปริมาณมหาศาลก็ยังกระจัดกระจายระหว่างหน่วยย่อยต่าง ๆ อยู่ ซึ่งเมื่อธนาคารไม่สามารถรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อการประเมินความเสี่ยงในภาพรวมได้ ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อาจทราบว่าทุนสำรองที่มีอยู่นั้นเพียงพอกับระดับความเสี่ยงหรือไม่ และยังไม่สามารถทราบได้อีกด้วยว่าได้มีการเตรียมการที่สอดคล้องต่อสภาพความเสี่ยงแล้วหรือยัง

กุญแจสำคัญสู่การลดปริมาณหนี้เสียและรักษาระดับเงินทุนสำรองที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของสถาบันการเงินใด ๆ นั้น จึงอยู่ที่การมีระบบประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิตที่ครอบคลุม โดยอาศัยการทำงานเชิงปริมาณวิเคราะห์ ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเช่นนี้จึงจะสามารถช่วยให้ธนาคารสามารถดำเนินงานการวิเคราะห์พอร์ตโฟลิโอต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Advertisment

แม้ว่าจะอาศัยการวิเคราะห์อย่างง่ายก็ตาม และยังมีประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดแนวทางรับมือและบริหารความเสี่ยงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในอนาคต ตามความจำเป็นและสถานการณ์ได้อีกด้วย โดยระบบการทำงานดังกล่าว ควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญต่อไปนี้

– มีการจัดการแบบจำลองการวิเคราะห์ที่ดียิ่งขึ้น ครบถ้วนตลอดกระบวนการพัฒนาและใช้งานแบบจำลอง

– มีการให้คะแนนและตรวจสอบแบบเรียลไทม์

– มีขีดความสามารถในการทดสอบการทำงานภายใต้สถานการณ์กดดันหรือ Stress Test ที่มีประสิทธิภาพ

– มีเครื่องมือและขีดความสามารถในการทำงานด้านการนำเสนอข้อมูลในเชิงภาพ และข้อมูลทางยุทธศาสตร์สำหรับธุรกิจ ซึ่งสามารถส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจ และผู้รับผิดชอบการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที