บาททรงตัว ไร้ปัจจัยใหม่

เงินบาท

ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัว โดยยังไม่มีปัจัยใหม่เพิ่มเติม

วันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (9/5) ที่ระดับ 36.96/97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8/5) ที่ระดับ 36.96/97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัว โดยยังไม่มีปัจัยใหม่เพิ่มเติม ขณะที่เมื่อคืน Dollar Index ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 105.50 ตามการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ นอกจากนี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้แรกนับตั้งแต่ปี 2016 ของธนาคารกลางสวีเดน เป็นปัจจัยหนุนดอลลาร์สหรัฐเพิ่มเติมอีกด้วย

อย่างไรก็ดีในคืนนี้ตลาดจับตาดูตัวเลขขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา โดยตลาดคาดการณ์ว่าตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 212,000 ราย และนักลงทุนยังคงจับตาดูผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา และตัวเลขดุลการค้าของประเทศจีนในวันนี้อีกด้วย โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในกรอบจำกัดระหว่าง 36.87-36.97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 36.93/94 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (9/5) ที่ระดับ 1.0749/53 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8/5) ที่ระดับ 1.0750/54 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ตลาดยังคงให้ความสำคัญและจับตาดูสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยตลาดคาดการณ์ว่า ECB จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ในระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด ระหว่าง 1.0724-1.0751 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0728/29 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

Advertisment

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินปอนด์ เปิดตลาดเช้าวันนี้ (9/5) ที่ระดับ 1.2489/90 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8/5) ที่ระดับ 1.2490/94 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ โดยในวันนี้ตลาดจับตาดูผลการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เพื่อหาสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างใกล้ชิด

โดยตลาดคาดการณ์ว่า BOE จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ และส่วนใหญ่ให้น้ำหนักว่า BOE จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ในระหว่างวันค่าเงินปอนด์เคลื่อนไหวอ่อนค่าลง จากการรอรับผลการประชุมของ BOE โดยเคลื่อนไหวระหว่าง 1.2501-1.2467 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ และปิดตลาดที่ระดับ 1.2476/80 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน เปิดตลาดเช้าวันนี้ (9/5) ที่ระดับ 155.63/64 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากรดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8/5) ที่ 155.34/37 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เปิดเผยรายงานสรุปความคิดเห็น (Summary of Opinions) ของกรรมการ BOJ ซึ่งระบุว่า ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนเมษายนคณะกรรมการ BOJ ได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก หากเงินเยนยังคงอ่อนค่าลงจนทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

นอกจากนี้กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้รายงานถึงการลดลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนเมษายน จากระดับ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 1.14 ล้านล้านดอลลาร์ โดยการปรับตัวลงสืบเนื่องจากการลดลงของมูลค่าหลักทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศที่ญี่ปุ่นถือครองอยู่ ซึ่งไม่ใช่จากการที่รัฐบาลนำเงินทุนสำรองไปใช้ในการแทรกแซงค่าเงินเยน

Advertisment

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานญี่ปุ่น ซึ่งลดลงในเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่ 24 ติดต่อกัน โดยลดลง 2.5% เมื่อเทียบรายปี ในระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 155.88-155.15 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 155.87/89 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวน เปิดตลาดเช้าวันนี้ (9/5) ที่ระดับ 7.2250/60 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (8/5) ที่ 7.2255/66 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยในวันนี้สำนักงานศุลกากรเปิดเผยตัวเลขดุลการค้าของจีน ซึ่งเกินดุลอยู่ที่ระดับ 72.35 พันล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 81.40 พันล้านดอลลาร์ แต่ฟื้นตัวจาก 58.55 พันล้านดอลลาร์ของเมื่อเดือนมีนาคม โดยด้านการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน สูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 1% และฟื้นตัวจากการร่วงลงที่ระดับ 7.3% ในเดือนมีนาคม

ส่วนด้านการนำเข้าเพิ่มขึ้น 8.4 ในเดือนเมษายน สูงกว่าที่คาดการณ์ที่ 5.4% และยังฟื้นตัวจากการร่วงลง 1.9% ในเดือนมีนาคม ในระหว่างวันค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 7.2267-7.2238 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 7.2259/65 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ

ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (9/5) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน พ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (10/5)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -9.1/9.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ 6.0/5.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ