“วิรไท” ยันมีกระสุนดูแลเศรษฐกิจ ดันตั้งทีมเฉพาะกิจปรับโครงสร้าง​หนี้ลูกค้า​เชิงรุก

Veerathai Santiprabhob, Photographer: Huiying Ore/Bloomberg via Getty Images

ธปท.ลั่นพร้อมใช้นโยบายการเงินผ่านดอกเบี้ย-มาตรการอื่นเพิ่มเติมประคองเศรษฐกิจ หากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า-งบประมาณล่าช้า-ภัยแล้งเลวร้ายกว่าที่ประเมินไว้ พร้อมประสานคลัง-สมาคมธนาคารไทย ตั้งทีมพิเศษดูแลลูกค้าลุยปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก

ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้วาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายใต้สถานกาณ์ปัจจุบัน ธปท.เชื่อว่าการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) ยังมีเพียงพอและมีความสามารถที่จะใช้ได้เพิ่มเติม หากสถานการณ์มีความรุนแรงมากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยธปท.ก็พร้อมจะดำเนินโยบายการเงิน ทั้งดอกเบี้ยนโยบาย และเครื่องมืออื่นๆ เพิ่มเติม

ทั้งนี้ จะเห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว แต่เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติเอกฉันท์ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโยบาย (RP) ลง 0.25% จาก 1.25% มาอยู่ที่ 1% เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรน่า การล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 และภัยแล้ง ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ กนง.เห็นสมควรว่าใช้ Policy Space ที่มีอยู่ในการช่วยประคองเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้นโยบายการคลัง แม้ว่าจะทำได้ตรงจุดมากกว่า แต่ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจากมีความล่าช้าเรื่องงบประมาณ จึงทำได้เพียงมาตรการทางด้านภาษีเท่านั้น

ทั้งนี้ จะเห็นว่าธปท.ถือเป็นธนาคารกลางแรกของโลกที่มีการลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่ถึงจุดพีคหรือเสถียรก็ตาม แต่ธปท.จะต้องการดำเนินนโยบายแบบตั้งรับ (Take Action) โดยมองสถานการณ์ออกเป็นสมมติฐานหลากหลายรูปแบบ เพราะหากไม่ตั้งรับให้ดี เมื่อเกิดสถานการณ์ที่แย่และกว้างมากขึ้นจะแก้ไขได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ ธปท.เร่งประสานงานกับกระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย และธนาคารพาณิชย์ เพื่อเร่งช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยให้สมาคมธนาคารไทยจัดตั้งทีมดูแลพิเศษในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก และดูแลลูกจ้างในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การผ่อนปรนเรื่องการผ่อนชำระขั้นต่ำลัตรเครดิต หรือปรับเป็นสินเชื่อระยะยาว และคิดอัตราดอกเบี้ยลดลง เป็นต้น เนื่องจากธปท.ไม่อยากให้ผู้ประกอบการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งหากกระทบต่อการจ้างงาน และหากไม่ได้รับการดูแลจะเกิดผลข้างเคียงใหญ่ ธปท.จึงอยากให้ช่วยกันดูแลเพื่อผ่านสถานการณ์นี้ไปได้

“ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโตตามศักยภาพ 3.5-4% ทำให้ธปท.ไม่อยากลดดอกเบี้ยมากเกินไป เพื่อรักษา Policy Space และไม่ให้เกิดผลข้างเคียง เพราะหากเรามีพื้นที่น้อย จะมีกันชนน้อย และวันนี้กันชนที่มีบางลงในภาวะที่เราเจอความเสี่ยงลูกใหญ่หลายลูกมาพร้อมกัน ซี่งเป็นเหตุผลหลักให้กนง.มีมติเอกฉันท์ ซึ่งภาวะแบบนี้ต้องเร่งดำเนินการและส่งสัญญาณชัดเจนผ่านการลดดอกเบี้ย 0.25% และเร่งประสานความร่วมมือกับคลัง สมาคมธนาคารไทย ในการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และเร่งดำเนินการให้มีผลชัดเจน”