กรมอุตุฯเตือน ดีเปรสชันจ่อทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน-ภาคใต้ฝนตกหนัก

พายุดีเปรสชันจ่อทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน
ภาพ : กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯคาดการณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เผยตอนบนฝนลดลง ขณะที่ภาคใต้ยังมีฝนตกหนัก 60-80% ของพื้นที่ เหตุร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ส่วนพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยช่วงวันที่ 19 – 20 ต.ค.นี้ ชี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออากาศของไทย

วันที่ 17 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 17 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ว่า ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ตะวันออก และอ่าวไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่า จะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 19 – 20 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ฝนตกต่อเนื่องและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น

พายุดีเปรสชั่น (D)
หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน(D)แล้ว

คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 17 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17 – 19 และ 22 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 21 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17 – 19 และ 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 22 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่ จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ลงไป ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 17 – 19 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20 – 23 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

(ออกประกาศ 17 ตุลาคม 2566)