การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 15 เมษยน 2562

๑.   สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันจันทร์ที่ 15 เมษายน 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้

– ค่า PM2.5 มีค่าอยู่ระหว่าง 35 – 115 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยพบค่าสูงสุดที่ ต. เวียงพางคำ อ. แม่สาย จ. เชียงราย และค่าต่ำสุดที่    ต. นาจักร อ. เมือง จ. แพร่

– มีค่าลดลง 15 พื้นที่ เพิ่มขึ้น 1 พื้นที่ และไม่มีข้อมูล 1       พื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดี – มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีส้ม 9 พื้นที่ (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) สีแดง 4 พื้นที่ (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) สีเหลือง 2 พื้นที่ (คุณภาพอากาศปานกลาง) และสีเขียว 1 พื้นที่ (คุณภาพอากาศดี)

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(14 และ 15 เม.ย. 62)

13 เม.ย. 14 เม.ย. 15 เม.ย.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 109 102 80 ลดลง 21.6 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 202 183 115 ลดลง 37.2 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 99 86 65 ลดลง 24.4 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 91 81 60 ลดลง 25.9 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 72 58 N/A
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 114 87 61 ลดลง 29.9 %
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 93 75 53 ลดลง 29.3 %
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 74 54 45 ลดลง 16.7 %
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 121 92 101 เพิ่มขึ้น 9.8 %
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 83 67 57 ลดลง 14.9 %
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 92 70 57 ลดลง 18.6 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 114 110 91 ลดลง 17.3 %
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 125 72 67 ลดลง 6.9 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 207 120 99 ลดลง 17.5 %
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 59 49 35 ลดลง 28.6 %
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 146 90 74 ลดลง 17.8 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 50 45 41 ลดลง 8.9 %
                                  เฉลี่ย 108.9 84.7 68.8 ลดลง 18.8 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒. สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 14 เมษายน 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้

– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 219 จุด โดยเพิ่มขึ้นจากวันที่ 13 เมษายน 2562 จำนวน 108 จุด หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 97.3%

– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 145 จุด

– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้ 1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 112 จุด, 2) เขต สปก. 2 จุด, 3) ป่าสงวนแห่งชาติ 100 จุด, 4) พื้นที่ริมทางหลวง 1 จุด, 5) พื้นที่เกษตร 2 จุด, 6) ชุมชนและอื่นๆ 2 จุด

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(13 และ 14 เม.ย. 62)

12 เม.ย. 13 เม.ย. 14 เม.ย.
1 จ.เชียงราย 54 32 145 เพิ่มขึ้น 353.1 %
2 จ.เชียงใหม่ 7 10 7 ลดลง 30.0 %
3 จ.ลำปาง 15 11 10 ลดลง 9.1 %
4 จ.ลำพูน 0 0 2     เพิ่มขึ้น*
5 จ.แม่ฮ่องสอน 25 21 4 ลดลง 81.0 %
6 จ.น่าน 11 16 13 ลดลง 18.8 %
7 จ.แพร่ 5 3 3 เท่าเดิม
8 จ.พะเยา 12 10 29 เพิ่มขึ้น 190.0 %
9 จ.ตาก 1 8 6 ลดลง 25.0 %
                 รวม 130 111 219 เพิ่มขึ้น 97.3 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

เพิ่มขึ้น* หมายถึง มีค่าเพิ่มขึ้น แต่คำนวณ % การเพิ่มขึ้นไม่ได้เนื่องจากฐานเป็นศูนย์

๓. สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (      GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 14 เมษายน 2562 พบว่า มีกลุ่มหมอกควันปกคลุมบริเวณฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดตาก และเชียงราย  และมีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้นนอกจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทยแล้ว จังหวัดตากอาจได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนได้อีกด้วย

๔. การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่

       ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเพิ่มความชุมชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ โดยศูนย์ ปภ.เขต 8 กำแพงเพชร นำรถฉีดพ่นน้ำควบคุมระยะไกล ทำการพ่นน้ำสร้างความชุ่มชื้นในอากาศ บริเวณลานอเนกประสงค์ ประตูท่าแพ และบริเวณอ่างเก็บน้ำอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จังหวัดเชียงราย

– เกิดไฟป่าลุกไหม้บนดอยจระเข้ ซึ่งเป็นภูเขารอยต่อระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยไฟได้ลุกไหม้อย่างหนักบนภูเขาสูงในฝั่งตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย ก่อนที่จะลามข้ามเขตยอดเขาไปทางตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน ทำให้ภูเขาทั้งลูกแดงฉานไปด้วยเปลวไฟ ซึ่งอำเภอแม่จันเป็นชุมชนหนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน โรงพยาบาลแม่จัน วัด โรงเรียน ที่อยู่ในเขตหมู่บ้านแม่เฟือง หมู่ 5 หมู่บ้านป่าตึง    บ้านผาตั้ง หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่บ้านป่ากุ่ม หมู่ 8 ตำบลป่าตึง ผู้ที่อาศัยบริเวณดังกล่าวต่างเฝ้าระวังสถานการณ์บนดอยจระเข้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของถนนพหลโยธิน ใกล้สามแยกแม่จัน – แม่อาย และฝั่งทิศใต้ของถนนสายแม่จัน – แม่อาย เขตตำบลป่าตึง ซึ่งอยู่ในเขตที่ไฟอาจจะลามไปถึงได้ ทั้งนี้พลตรี บัญชา ดุริยพันธุ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 ได้เข้ามาดูแลปฏิบัติการดับไฟดังกล่าวด้วยตนเอง โดยมอบหมายให้หน่วยทหาร โดยพลตรี สัชฌาการ คุณยศยิ่ง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 และกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จังหวัดเชียงราย พันเอก ชาตรี สงวนธรรม ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 2 กองกำลังผาเมือง นำกำลังพล และเฮลิคอปเตอร์ เอ็มไอ 17 เข้าสนับสนุนการดับไฟป่า รวมทั้งสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 ได้จัดเตรียมเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าสนับสนุน ส่วนทางอำเภอแม่จัน ได้เตรียมอ่างเก็บน้ำถ้ำเสือ หมู่ 8 ป่าตึง ที่มีความลึกประมาณ 3-5 เมตรรองรับแล้ว ขณะเดียวกัน มีการตั้งศูนย์สื่อสารที่หมู่ 5 ต.ป่าตึง เพื่อประสานงานทุกฝ่าย โดยเจ้าหน้าที่ ทั้งชุดปฏิบัติการดับไฟป่า อาสาสมัคร ฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ จำนวนกว่า 1,000 คน เริ่มเข้าดับไฟป่า และตั้งแนวป้องกันด้วยรถดับเพลิงตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ ล่าสุด หน่วยทหารพราน ที่เข้าสนับสนุนทำการลาดตระเวนตรวจจุดเกิดไฟไหม้ พบว่าไฟได้ลุกลามอย่างรวดเร็ว ในพื้นที่ป่า และพื้นที่ทางการเกษตร เขตหมู่บ้านแม่เฟือง หมู่ 5 หมู่บ้านป่าตึง บ้านผาตั้ง หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่บ้านป่ากุ่ม หมู่ 8 ต.ป่าตึง มีพื้นที่เสียหายประมาณ 1000 ไร่

– เจ้าหน้าที่สถานีไฟป่าภูชี้ฟ้า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ร่วมกับเครือข่ายการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันบ้านร่มฟ้าไทย จัดทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟข้ามมาจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่พื้นที่บ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 24 ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ได้นำรถน้ำควบคุมไฟข้างทางบริเวณฟาร์มทดลองเลี้ยงแกะและสัตว์ปีกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 18 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ใช้เวลาควบคุมประมาณ 15 นาที จึงสามารถควบคุมไฟไว้ได้

– นายสกล แก้วปวงคำ นายอำเภอเวียงชัย ได้นำสมาชิกอาสมัครรักษาดินแดนอำเภอเวียงชัย ร่วมกับเทศบาลตำบลเวียงชัย พร้อมผู้นำชุมชน และประชาชนจิตอาสาจากหมู่บ้านหนองหลวง หมู่ที่ 16 ตำบลเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ร่วมกันทำแนวป้องกันไฟ และจัดชุดออกลาดตระเวนเฝ้าระวังเหตุไฟป่าในพื้นที่

 จังหวัดลำพูน

สถานีควบคุมไฟป่าแม่ปิง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ชุด ชป.ดับไฟป่า ร.7 พัน 2 ชป.ที่ 12 ลาดตระเวนตรวจหาไฟพื้นที่รับผิดชอบ พบไฟ 1 จุด บริเวณป่าชุมชนบ้านก้อจอก ม.3    ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน มีพื้นที่เสียหาย 12 ไร่ และหน่วยดับไฟป่าเคลื่อนที่โปงทุ่ง ลาดตระเวนตรวจหาไฟในพื้นที่รับผิดชอบ เหตุการณ์ปกติ ไม่พบการเกิดไฟไหม้ป่าแต่อย่างใด

จังหวัดพะเยา

– จังหวัดพะเยา เกิดจุดความรัอน รวม 43 จุด สถานการณ์ไฟป่าก็ยังเกิดขึ้น โดยในแต่ละพื้นที่มีเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายช่วยกันทำการดับไฟ พบว่าบางพื้นที่ไฟป่าได้ลุกไหม้บนยอดภูเขาที่สูงชันทำให้ยากแก่การเข้าไปทำการดับ ทั้งนี้ได้ทำแนวกันไฟป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 14 เมษายน เกิดเหตุไฟไหม้ป่าชุมชน หมู่ที่ 6 ตำบลจำป่าหวาย นายสุวิทย์ สุริยะวงค์ นายอำเภอเมืองพะเยา           ได้มอบหมายให้นายยุรนันท์ จอมมิ่ง ปลัดอำเภอเมืองพะเยา พร้อมด้วยกำนัน ผญบ. ผู้ช่วยฯ แพทย์ ผรส. ตำบล จำป่าหวายและเจ้าหน้าที่งานป้องกันฯ ของ อบต.จำป่าหวาย ช่วยกันดับไฟป่าบริเวณป่าชุมชนในพื้นที่ของหมู่ที่ 6 ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา และสามารถดับไฟป่าได้ ในเบื้องต้นพบพื้นที่ป่าชุมชนถูกไฟไหม้เสียหายจำนวน 10 ไร่

– จังหวัดพะเยาประกาศขยายระยะเวลาช่วงวิกฤตหมอกควันออกไป จากเดิมวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 15 เมษายน เป็นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2562 เพื่อให้การควบคุมและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันของจังหวัดพะเยามีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่องในการควบคุมพื้นที่

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

นางสาวชนเขต บุญญขันธ์ ประธานหอการค้า จ.แม่ฮ่องสอน และสมาชิก YEC จ. แม่ฮ่องสอน มอบเครื่องเป่าลม หน้ากากผจญเพลิง หน้ากากอนามัย น้ำดื่ม เจลเพิ่มพลังงานและบะหมี่สำเร็จรูป ให้นายพงศ์พีระ ชูชื่น นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ณ สำนักงานหอการค้า จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อส่งมอบให้ศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับตำบลใช้ในการปฏิบัติการดับไฟป่า ด้านนายพงษ์พีระ ชูชื่น นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน      ได้กล่าวขอบคุณหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ได้มอบสิ่งของต่างๆ ในการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัตงานดับไฟป่า และสำหรับสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันใน จ.แม่ฮ่องสอน จุดความร้อนลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม          จ.แม่ฮ่องสอน ยังคงใช้มาตรการเข้มข้นให้ชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจระดับตำบล และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ร่วมบูรณาการดับไฟป่าและควบคุมลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง

 จังหวัดแพร่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

 จังหวัดลำปาง

– ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดลำปาง ได้รับรายงานจากศูนย์ฯ อำเภอแม่เมาะ ประจำวันที่ 14 เมษายน 2562 ว่าพบจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน 3 จุด โดยชุดลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงไฟป่าบ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านดง ชุดที่ 1 ได้ลาดตระเวนและเข้าดับไฟป่าบริเวณถนนสายบ้านกลาง หมู่ที่ 5 – บ้านจำปุย หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านดง ซึ่งไฟลามมาจากห้วยปวง ม.4 ต.บ้านดง และชุดลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงไฟป่าบ้านกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านดง ชุดที่ 2   ได้ลาดตระเวนและเข้าดับไฟป่าบริเวณตามแนวเขตหมู่บ้าน โดยสามารถระงับไฟไว้ได้ทันจนดับหมดเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ศูนย์ฯ อำเภอแม่เมาะ ได้แจ้งให้ศูนย์เฝ้าระวังไฟป่าและหมอกควันองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง  จัดรถยนต์บรรทุกน้ำออกปฏิบัติงานดับไฟป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์ฝึกรบพิเศษประตูผา เพื่อเข้าไปดับไฟป่าบริเวณทางโค้งก่อนถึงค่ายประตูผาขาขึ้น บ้านจำปุย หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ขณะเดียวกันชุดปฏิบัติการลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยงไฟป่าบ้านแม่ส้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านดง ผู้ใหญ่บ้านพร้อมราษฎรจิตอาสาได้ออกลาดตระเวนตรวจสอบพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่พบเหตุไฟป่าแต่อย่างใด

– จังหวัดลำปางบูรณาการหน่วยงานร่วมฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื้น และลดฝุ่นละอองในอากาศพื้นที่ตำบลพระบาท โดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้สั่งการให้อำเภอเมืองลำปาง ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปางประสานงานศูนย์ป้องกันและบรรเทา     สาธารณภัยเขต 10 ลำปาง มทบ.32 เทศบาลเมืองเขลางค์นคร เทศบาลนครลำปาง ร่วมกับท่าอากาศยานลำปาง นำรถบรรทุกน้ำ ยานยนต์ฉีดพ่นละอองน้ำ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละออง บริเวณท่าอากาศยานลำปาง ในพื้นที่ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง

 จังหวัดน่าน

หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปกครองในพื้นที่จังหวัดน่าน ได้ดำเนินการฉีดน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศอันเนื่องมาจากไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอปัว และอำเภอทุ่งช้าง

จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน  เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ ปภ.เขต 9 พิษณุโลก