การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2562

  1. 1. สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้
  2. 2. ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 20- 168 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งแสดงถึงคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพอากาศดี (พื้นที่สีเขียว) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่มีพื้นที่ใด เป็น 1 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน คุณภาพอากาศปานกลางจำนวน 4 พื้นที่ มีพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) จำนวน 5 พื้นที่ และพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) จำนวน 2 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่ ต.เวียง อ.เมือง และ ต.เวียงผาคำ อ.แม่สาย จ. เชียงราย  – มีค่าเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในพื้นที่ทั้ง 9 จังหวัด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน   โดยเฉพาะพื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมากต่อเนื่องเป็นวันที่สองติดต่อกันในสัปดาห์นี้

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก – มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีส้ม                (คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) จำนวน 8 พื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อวาน     พื้นที่สีเหลือง(คุณภาพอากาศปานกลาง) จำนวน 4 พื้นที่ และพื้นที่สีแดง เป็น 2 จุด ซึ่งสถานการณ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อวาน (คุณภาพอากาศมีผลต่อสุขภาพ) ได้แก่ พื้นที่ ต.เวียง อ.เมือง และ ต.เวียงผาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย  พื้นที่สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน แบละพื้นที่สีฟ้า (คุณภาพอากาศดีมาก) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(1 พ.ค. และ 2 พ.ค. 62)

30 เม.ย. 1 พ.ค. 2 พ.ค.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 102 111 128 เพิ่มขึ้น 15.3 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 109 114 125 เพิ่มขึ้น 9.6 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 62 57 62 เพิ่มขึ้น 8.8 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 54 55 58 เพิ่มขึ้น 5.5 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 47 48 43 ลดลง 10.4 %
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 55 40 40 ไม่เปลี่ยนแปลง
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 34 38 38 ไม่เปลี่ยนแปลง
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 39 46 56 เพิ่มขึ้น 21.7 %
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 38 54 79  เพิ่มขึ้น 46.3 %
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 38 44 44 ไม่เปลี่ยนแปลง
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 47 46 51 เพิ่มขึ้น 10.9 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 54 38 35 ลดลง 7.9 %
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 42 67 74  เพิ่มขึ้น 10.4 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 40 N/A 74 N/A
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 29 41 N/A N/A
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 66 63 77 เพิ่มขึ้น 22.2 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 35 24 20 ลดลง 16.7 %
                                  เฉลี่ย 52.4 55.4 62.8 เพิ่มขึ้น 13.3 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

2.  สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้

– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 515 จุด โดยเพิ่มขึ้นจากวันที่ 30 เมษายน 2562 จำนวน 360 จุด หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 232.3 %

– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 124 จุด

– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้

1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 106 จุด

2) ป่าสงวนแห่งชาติ 302 จุด

3) เขตสปก. 35 จุด

4) พื้นที่เกษตร 50 จุด

5) ชุมชน และอื่น ๆ 19 จุด

6) พื้นที่ริมทางหลวง 3 จุด

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(29 เม.ย. และ 1 พ.ค. 62)

29 เม.ย. 30 เม.ย. 1 พ.ค.
1 จ.เชียงราย 35 68 124 เพิ่มขึ้น 82.4  %
2 จ.เชียงใหม่ 15 21 87 เพิ่มขึ้น 314.3 %
3 จ.ลำปาง 10 15 50 เพิ่มขึ้น 233.3 %
4 จ.ลำพูน 0 8 39 เพิ่มขึ้น 387.5 %
5 จ.แม่ฮ่องสอน 12 6 12 เพิ่มขึ้น 100.0 %
6 จ.น่าน 12 11 68 เพิ่มขึ้น 518.2 %
7 จ.แพร่ 7 17 74 เพิ่มขึ้น 335.3 %
8 จ.พะเยา 12 3 48 เพิ่มขึ้น 1500.0 %
9 จ.ตาก 4 6 13 เพิ่มขึ้น 116.7 %
                 รวม 107 155 515 เพิ่มขึ้น 232.3 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

3.  สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ           (องค์การมหาชน) (GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 พบว่า มีกลุ่มหมอกควันปกคลุมและจุดความร้อนนอกประเทศไทยบริเวณฝั่งตะวันตก        ของภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งฝั่งเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ มีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้น นอกจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทยแล้ว จังหวัดดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน ได้อีกด้วย

4.   การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดลำปาง

 – บก.ควบคุม กกล.รส.จว.ล.ป. โดย ร้อย.รส.ที่ 1 (มทบ.32)พื้นที่ อ.ห้างฉัตร จว.ล.ป. สถานีควบคุมไฟป่าฯ ได้จัดเจ้าหน้าที่สนับสนุน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลเข้าดำเนินการดับไฟจุดที่เกิด Hotspot จำนวน 3 จุด ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเข้าดับไฟ เนื่องจากอยู่ในป่าลึก เขาสูงชัน เขตติดต่อกับจังหวัดลำพูน

– ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันปัญหาหมอกควันไฟป่า อ.สบปราบ รายงานสถานการณ์ไฟป่ากรณีเกิดจุดความร้อน (Hotspot) จากการตรวจสอบของดาวเทียม Suomi NPP (VIIRS) โดยฝ่ายความมั่นคง ศูนย์ War Room อำเภอสบปราบได้แจ้งให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ บริเวณ ต.สบปราบ อ.สบปราบ ผลปรากฏว่าเป็นพื้นที่ รกร้าง ซึ่งไฟไหม้ดับมอดแล้ว

– จังหวัดลำปางได้กำหนดข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหลังจากพ้นกำหนดห้ามเผา
จังหวัดลำปาง ประจำปี พ.ศ.  2562 เพื่อเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทุกพื้นที่หลังสิ้นสุดกำหนดวันห้ามเผา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยให้ดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกัน                                และบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ โดย นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

จังหวัดตาก

– นายบรรจง ขุนเพชร นายอำเภอสามเงา ได้มอบให้ฝ่ายความมั่นคง อำเภอสามเงา นำสมาชิก           อส.ร้อย อส.อ.สามเงาที่ 8 ออกลาดตระเวนและสังเกตุการณ์ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่เกษตรกรถึงข้อควรปฏิบัติในการเผาหลังจากประกาศห้ามเผาเด็ดขาด 72 วัน เพื่อป้องกันปัญหาวิกฤติหมอกควันในพื้นที่ตำบลสามเงา และตำบลย่านรี ตามแผนบริหารจัดการระเบียบการเผาฯอำเภอสามเงา เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

– ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจ         กรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ปภ เขต 9 พิษณุโลก

จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วน ประชาชน ร่วมฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศและลดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีค่าเกินมาตรฐาน และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันฉีดพ่นละอองน้ำในทุกครัวเรือนและชุมชน

จังหวัดแพร่

– ทหารกองพันทหารม้าที่ 12 กองพลทหารม้าที่ 1 ค่ายพระยาไชยบูรณ์ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ร่วมกับ ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าอำเภอเด่นชัย เจ้าหน้าที่ป่าไม้ หน่วย พร. 12 อำเภอเด่นชัย อาสารักษาดินแดนอำเภอเด่นชัย กลุ่มเครือข่ายควบคุมไฟป่า ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 ตำบลห้วยไร่ และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ออกลาดตระเวนตรวจไฟป่า และดับไฟป่า ตามจุด Hotspots เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน ในพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ พบพื้นที่ได้รับความเสียหายประมาณ 25 ไร่ โดยผลการปฏิบัติสามารถควบคุมและดับไฟในพื้นที่ได้

– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหา           ฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดลำพูน

จังหวัดลำพูน ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าจังหวัดลำพูน ช่วงหลังประกาศห้ามเผาเด็ดขาด โดยขอความร่วมมือทุกพื้นที่งดเว้นการเผาในช่วงการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่วันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2562 และไม่มีการขยายระยะเวลาประกาศห้ามเผาเด็ดขาดต่อออกไป เนื่องจากภาคเกษตรกรในบางพื้นที่มีความจำเป็นในการเตรียมการเพาะปลูก ตลอดจนสภาพอากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น ทั้งนี้ อนุญาติให้มีการเผาได้เฉพาะพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ หรือมีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทำกิน โดยต้องแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาล เพื่อกำหนดพื้นที่ ช่วงเวลา และการควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามออกไปยังพื้นที่อื่น ๆ และต้องอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่เท่านั้น

จังหวัดน่าน

– องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ อาทิ เส้นทางการจราจร พื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินค่ามาตรฐานและสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่

– สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และประชาชน             จิตอาสา ในพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการจัดสถานที่ปลอดภัยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากควันไฟป่า และดำเนินการประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ในการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน พร้อมกับแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้กับประชาชน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 – เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลุ่มน้ำปายฝั่งซ้าย ปฏิบัติงานร่วมชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันตำบลเมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ตรวจลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ บริเวณรอยต่อ อ.ปาย กับ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ไม่พบไฟป่าในพื้นที่แต่ประการใด เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

– เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าปางตองฯ จ.แม่ฮ่องสอน นำรถบรรทุกน้ำทำสเปรย์น้ำเพื่อลดปริมาณ             ฝุ่นละอองในอากาศและเพิ่มความชุ่ม ชื้นในอากาศ บริเวณสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทสจ.มส.)

– เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าปางมะผ้า ออกลาดตระเวนหาไฟป่าและผู้ลักลอบเผาป่าตามจุดเสี่ยง              ที่จะเกิดไฟไหม้ป่า เหตุการทั่วไปปกติ ไม่พบไฟไหม้ป่า หรือผู้ลักลอบเผาป่าแต่อย่างใด

จังหวัดเชียงใหม่

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานเปิดงาน จิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ ร่วมมือร่วมใจฟื้นฟูสภาพป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว (ดอยหลวงเชียงดาวโมเดล) ณ บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าสบห้วยผาตั้ง-นาเลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ตำบลเชียงดาว  อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหมม่ นายอำเภอเชียงดาว หน่วยพระราชทานจิตอาสาประชาชนจิตอาสา หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ กว่า 500 คน เข้าร่วมกิจกรรม

นายธัญญาฯ กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมจิตอาสาในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนจะได้มาร่วมกันทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคม เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมนำแนวพระราชปณิธานจิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม อีกทั้งยังเป็นการรณรงค์และส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมกันกระทำความดีให้กับประเทศชาติตามพระราโชบาย และยังเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้แก่ประชาชนทุกคนในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของจัดกิจกรรม ก็เพื่อดูแลปกป้องผืนป่าดอยหลวงเชียงดาวจากปัญหาไฟป่า ซึ่งที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้ความสำคัญและสนใจถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกันมากขึ้น โดยให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการความร่วมมือร่วมกัน และขยายความร่วมมือออกไปให้กว้างขวางเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ดอยหลวงเชียงดาว โดยหลังการเปิดตัวโครงการในวันนี้ไปแล้ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวจะได้ร่วมกับทุกภาคส่วนช่วยกับขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันอย่างเกื้อกูลกัน ซึ่งจะร่วมกันฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับมาคงความสมบูรณ์สืบต่อไป”