ส่องวิถี Online Food Delivery ธุรกิจฮิตยุค COVID-19

เป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การเติบโตเพิ่มสูงมากสำหรับบริการ Online Food Delivery

ยืนยันได้จากการเปิดรับพาร์ทเนอร์คนขับอย่างต่อเนื่อง โดย “ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอปพลิเคชั่น GET ระบุว่า ได้เปิดระบบการรับสมัคร “คนขับเก็ท”และ ‘เก็ทรันเนอร์’ (เดินส่งปั่นจักรยานส่ง) เพื่อช่วยเป็นอีกหนึ่งทางในการสร้างรายได้ให้กับคนกรุงเทพฯ https://www.formpl.us/form/1045046036

เช่นเดียวกัน LINE MAN ที่เปิดรับสมัครพนักงานขับ LINE MAN เพิ่มขึ้นผ่านเว็บไซต์ https://www.lalamove.com/thailand/bangkok/th/drive

ขณะเดียวกัน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)  ได้สำรวจพฤติกรรมทางออนไลน์ เรื่อง “การใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย” ระหว่างวันที่ 5 – 15 มีนาคม 2563 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สนับสนุนข้อมูลในการแผนและนโยบายด้านอีคอมเมิร์ซและธุรกรรมออนไลน์ต่อไป ได้พบว่า ผู้ใช้งานกลุ่ม Gen Y (อายุ 19-38 ปี) มีการใช้บริการ Online Food Delivery มากที่สุดถึง 51.09%  รองลงมาคือกลุ่ม Gen X (อายุ 39-54 ปี)

ส่วนเหตุผลที่ใช้บริการ 80.37% ไม่อยากจะเดินทางไปนั่งกินที่ร้านเองมาก  57.63%  ไม่อยากเสียเวลาไปนั่งต่อคิวถึง  และ 47.04% ส่วนลดใน Application

ทั้งยังพบว่า  ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ของคนไทยด้วย โดยกลุ่มที่เลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ เพราะกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากที่สุดคือ Gen Y 40.2% รองลงมาคือ Gen Z 30.0% Baby Boomer 28.6% และสุดท้ายคือ Gen X 26.9% ตามลำดับ โดยมีตัวเลขเฉลี่ยทั้งหมด 33.96%

ขณะที่ Platform หรือ Application ที่เป็นตัวกลางในช่วยเราสั่งอาหารมากสุดถึง 88.47% โดย Application ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab Food, Line Man, Foodpanda, Get Food และอื่น ๆ อีกมากมายต่างก็มี Promotion ที่น่าสนใจแตกต่างกันออกไป

รองลงมาเป็น Platform ของร้านอาหารโดยตรง 62.93%  รวมถึงการเลือกสั่งผ่าน Inbox หรือ Direct Message ของร้านใน Social Media ช่องทางทางต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram ถึง 13.08%

ส่วน “Fast Food” เช่น ไก่ทอด เบอร์เกอร์ พิซซ่า เป็นอาหารยอดนิยมของทุกช่วงวัย สั่งมากกว่า 61.06% รองลงมาคือ อาหารตามสั่ง 47.04% และ ก๋วยเตี๋ยว/อาหารประเภทเส้น 40.50%

ขณะที่ “มื้อกลางวัน”  สั่งมากที่สุด 42.06% รองลงมาคือ มื้อเย็น  39.88% และ มื้อบ่าย 14.02% โดย 87.85% สั่งมารับประทานที่บ้าน อีก 46.11% สั่งมาที่ทำงาน

ส่วนกลุ่มที่จ่ายหนักสุดคือ “Gen X”  อายุ 39-54 ปี ใช้จ่ายที่  501 – 1,000 บาท รองลงมาคือ กลุ่ม Baby Boomer ส่วนใหญ่ใช้จ่าย 301 – 500 บาท ขณะที่กลุ่ม Gen Y และ Gen Z ใช้จ่ายไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่อยู่ที่ 101 – 300 บาท