ETDA ปี’65 เดินหน้า 4 ภารกิจ ยกระดับชีวิตคนไทยด้วยดิจิทัล

ETDA

ETDA เดินหน้าพัฒนางาน 4 ด้าน ปี 2565 ยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยี-ธุรกรรมออนไลน์

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงาน “ETDA สู่ปีที่ 11 ก้าวสำคัญยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” โดย นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA เปิดเผยว่าก้าวต่อไปในปี 2565 เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 11

ได้ปรับโฉมภาพลักษณ์องค์กร พัฒนาโลโก้ใหม่ให้สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจที่มุ่งยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมออนไลน์ พร้อมเดินหน้าสานต่องานในปี 2564 ที่จะยกระดับงานให้เข้มข้นขึ้น เพื่อผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลนำชีวิตทุกคนเติบโตก้าวไปข้างหน้าและดีขึ้นกว่าที่เคยเป็น โดยเฉพาะใน 4 งาน ได้แก่

1. กำกับและดูแลธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Service) เดินหน้าผลักดันให้เกิดการบังคับใช้ (ร่าง) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. … ลดความทับซ้อนการกำกับดูแล ด้วยการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน regulator และเดินหน้าเตรียมความพร้อมสร้างกรอบในการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลที่ใช้งานได้จริง

2. สร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม ด้วยการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) โดยสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ Digital ID ผ่าน Campaign “MeID” สู่การผลักดันเกิดการใช้งานจริงด้วยนวัตกรรมที่ผ่านการทดสอบจาก ETDA Sandbox รวมถึงผลักดันให้หน่วยงาน Regulator ขับเคลื่อนงานด้าน Digital ID ในทิศทางเดียวกันผ่าน Digital ID framework

Advertisment

3. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรม ผ่านสนามทดสอบ ETDA Sandbox ที่ปรับบทบาทสู่การเป็น Co-sandbox ร่วมมือทดสอบนวัตกรรมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อยอดการทดสอบนวัตกรรมที่ครอบคลุมนวัตกรรมในกลุ่ม Health Tech และ AI ผลักดันการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยใบหน้า (Face Verification System : FVS)

และ 4. ขยายความร่วมมือสร้างโอกาสเพื่อร่วมแก้ Pain point ของสังคมสู่โลกดิจิทัลที่นมั่นใจ ผ่านการสร้างบริการดิจิทัลให้เกิดขึ้นในภาครัฐ อาทิ สนับสนุนให้เกิดการใช้งาน Digital Signature ในกระทรวง ขยายระบบ e-Saraban ไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน สนับสนุน SMEs ให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ เพิ่มการใช้งานนวัตกรรม e-Office พัฒนากระบวนการทำธุรกิจ

รวมถึงการยกระดับคนในชุมชนอย่างเต็มรูปแบบด้วยคู่มือหลักสูตรต่าง ๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ สร้างความตระหนักรู้ ผลักดันให้เกิดการนำหลักสูตร และคู่มือ Digital Citizen เพื่อสร้างฐานพลเมืองดิจิทัลคุณภาพ สู่การเป็นเทรนเนอร์ส่งต่อความรู้ และยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค และขยายเครือข่ายความร่วมมือเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนผ่านหน่วยงานสถิติในแต่ละจังหวัด เป็นต้น

“อยากเห็นการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของการทำธุรกรรมออนไลน์ ด้านประชาชนก็ใช้อย่างมีความรับผิดชอบ และเต็มประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้ทำให้ตัวเองมีความสุข ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ส่วนภาคเอกชนอยากเห็นเข้าไปมีส่วนแบ่งรายได้จากการทำเศรษฐกิจดิจิทัล ช่วยแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ส่วนภาครัฐ เราคงต้องก้าวเข้าไปมีบทบาทในโลกไซเบอร์มากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนอะไร มีตัวตนในอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร ในเมทาเวิร์สได้อย่างไร จะทำบทบาทอย่างเต็มรูปแบบได้อย่างไร”

Advertisment