6 จังหวัดใต้ชง ครม.สัญจร “กระบี่” ดัน 83 โครงการ ฟื้นเศรษฐกิจอันดามัน

การเดินสายประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรเริ่มขึ้นอีกครั้ง ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดกระบี่ หลังจากห่างหายไป เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา

โดยมีพื้นที่เป้าหมายเพื่อติดตามการดำเนินงานพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวรองรับการเปิดประเทศอย่างปลอดภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของฝั่งทะเลอันดามัน

ส่งผลให้ภาครัฐ และภาคเอกชนใน 6 จังหวัดภาคใต้เร่งจัดประชุม เพื่อเตรียมการนำเสนอโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการผลักดันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง สตูล) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จ.ตรัง และ จ.กระบี่ ทางคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จ.กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล)

ได้จัดประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล เพื่อจัดเตรียมโครงการต่าง ๆ นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เบื้องต้นแต่ละจังหวัดเสนอมาแบ่งได้ 8 ด้าน รวม 83 โครงการ ซึ่งที่ประชุมจะต้องมีการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองกันอีกหลายครั้งก่อนนำเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป

“ภูเก็ต” ดันเจ้าภาพ “ซีเกมส์”

สำหรับข้อเสนอเบื้องต้น ด้าน “การขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่” มี 2 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) 3 จังหวัดฝั่งอันดามัน (ตรัง กระบี่ ภูเก็ต) เสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 (พ.ศ. 2568 หรือ ค.ศ. 2025) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และ 2)

จ.ภูเก็ตมีแผนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ (Speciatized Expo) ในปี พ.ศ. 2571 (ค.ศ. 2028) เพื่อส่งเสริมการเป็นเมืองจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก

“ด้านโครงสร้างพื้นฐาน” มี 32 ข้อเสนอได้แก่ 1) จ.กระบี่เสนอโครงการพัฒนาศักยภาพการรักษาความปลอดภัยในเมืองท่องเที่ยวหลักด้วยระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม งบประมาณ 250 ล้านบาท

2) จ.กระบี่เสนอพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท งบประมาณ 100 ล้านบาท 3) จ.กระบี่เสนอจัดตั้งศูนย์วิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ งบประมาณ 90 ล้านบาท

4) จ.กระบี่เสนอปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร-ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จ.กระบี่ งบประมาณ 35 ล้านบาท 5) จ.กระบี่เสนอปรับปรุงผิวการจราจร ถนนกระบี่-ถนนวัชระ งบประมาณ 50 ล้านบาท

6) จ.กระบี่เสนอให้ศึกษาระบบเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางบก ทางน้ำ ระบบราง และอากาศ เพื่อเชื่อมรถไฟฟ้ารางเบา จ.ภูเก็ต

7) จ.กระบี่เสนอโครงการศึกษา Krabi Sandbox Maritime Hub 8)จ.กระบี่เสนอโครงการศึกษาแพขนานยนต์เกาะลันตา 9) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการทางเลี่ยงเมืองกระบี่ ระยะทาง 29 กม.

10) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 4156 เขาพนม-ทุ่งใหญ่ ระยะทาง 40.475 กม. จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร 11) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือท่าเลน

12) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการศึกษาออกแบบและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงท่าเทียบแพขนานยนต์ข้ามฟากเกาะลันตา

13) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ (cruise) 14) จ.กระบี่เร่งรัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬา

15) จ.ตรังเสนอโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านเขาหลัก 16) จ.กระบี่เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง 17) จ.พังงาเร่งรัดโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติพังงา

18) จ.พังงาเสนอโครงการทางเลี่ยงเมืองโคกลอย, ท้ายเหมือง, บางม่วง 19) จ.พังงาเสนอโครงการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพประเภทเกาะ

20) จ.พังงาเสนอโครงการท่าเรือสำราญเกาะคอเขา 21) จ.พังงาเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟสายสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น 22) ภูเก็ตเร่งรัดโครงการทางหลวงแนวใหม่สายเมืองใหม่-เกาะแก้ว

23) จ.ภูเก็ตเร่งรัดโครงการรถไฟรางเบา ระยะทาง 42 กม. มูลค่า 3.45 หมื่นล้านบาท 24) จ.ภูเก็ตเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคแก้ปัญหาภัยแล้งในพังงา-ภูเก็ต

25) จ.ภูเก็ตเร่งรัดโครงการขยายถนน 4 ช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 4027 สายท่าเรือ-เมืองใหม่ รวมปรับปรุงทางแยกสนามบิน 26) จ.ภูเก็ตเร่งรัดโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง งบประมาณ 14 ล้านบาท

27) จ.ระนองเสนอโครงการปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง 28) จ.สตูลเร่งรัดโครงการศึกษาออกแบบความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างสะพาน Andaman Gateway มูลค่า 60 ล้านบาท

29) จ.สตูลเสนอโครงการก่อสร้างสถานีจ่ายน้ำนาทอน (แห่งใหม่) จ.สตูล 30) จ.สตูลเสนอโครงการก่อสร้าง ขุดลอก และบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลที่ร่องน้ำตำมะลัง งบประมาณ 150 ล้านบาท

31) จ.สตูลเสนอโครงการพัฒนาชุมชน สู่เศรษฐกิจ และสังคมแห่งอนาคต งบประมาณ 174 ล้านบาท 32) จ.สตูลเสนอโครงการท่าอากาศยานสตูล งบประมาณ 4,133 ล้านบาท

“ด้านการค้า การลงทุน” มี 2 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จ.กระบี่เสนอพัฒนาอุตสาหกรรมโอเลเคมิคอล หรือการผลิตสารสกัดธรรมชาติจากปาล์มน้ำมัน 2) จ.ตรังเสนอโครงการมหกรรมสินค้าและบริการเด่น Andaman Expo

พังงาดันเขาหลักเชิร์ฟทาวน์

“ด้านการท่องเที่ยว” มี 19 ข้อเสนอ ได้แก่ 1) จ.กระบี่เสนอโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอันดามัน จ.กระบี่ งบประมาณ 50 ล้านบาท 2) จ.กระบี่เสนอปรับปรุงระเบียบการบริหารจัดการและขอใช้พื้นที่

โดยภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมโครงการเมืองสปาในกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน 3) จ.กระบี่เสนอการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อน 4) จ.ตรังเสนอโครงการพัฒนาสนามกีฬาเทศบาลนครตรังสู่มาตรฐานสากล

5) จ.ตรังเสนอโครงการออกแบบวางผังพื้นที่การออกแบบสถาปัตยกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง งบประมาณ 21 ล้านบาท 6) จ.พังงาเสนอโครงการศูนย์รวมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมทางทะเลแห่งอันดามัน

งบประมาณ 232 ล้านบาท 7) จ.พังงาเสนอพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลาดน้ำคลองพังงา และ The Park Khao Lak งบประมาณ 120 ล้านบาท

8) จ.พังงาเสนอปรับปรุงจวนข้าหลวงเก่างบประมาณ 15 ล้านบาท 9) จ.พังงาเสนอโครงการเขาหลักเชิร์ฟทาวน์งบประมาณ 20 ล้านบาท

10) จ.พังงาเสนอโครงการพัฒนาบ่อน้ำพุร้อน อ.กะปง 11) จ.พังงาเสนอโครงการพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่อุทยานพระนารายณ์ งบประมาณ 72 ล้านบาท

12) จ.ภูเก็ตเสนอให้ปรับระบบสัมปทานของการท่าอากาศยานภูเก็ตในการบริหาร การจัดการขนส่งมวลชนในสนามบินภูเก็ตให้เป็นมาตรฐาน 13) จ.ภูเก็ตเสนอพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต

14) จ.ภูเก็ตเสนอสร้างศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามวัฒนธรรมอันดามัน และพิพิธภัณฑ์อิสลามนานาชาติ งบประมาณ 254 ล้านบาท

15) จ.ระนองเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน งบประมาณ 400 ล้านบาท16) จ.ระนองเสนออนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองเก่า

17) จ.สตูลเสนอโครงการก่อสร้างหอประชุมนานาชาติ จ.สตูล งบประมาณ 80 ล้านบาท 18) จ.สตูลเสนอโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ งบประมาณ 29 ล้านบาท

19) จ.สตูลเสนอโครงการจ้างออกแบบโครงการอาคารพิพิธภัณฑ์สตูล-ยูเนสโก โกลบอล จีโอพาร์คงบประมาณ 70 ล้านบาท

“ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต” มี 14 ข้อเสนอ ประกอบด้วย 1.จ.กระบี่เสนอโครงการศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 2.จ.กระบี่เสนอโครงการสาธารณสุขเพื่อรองรับการท่องเที่ยว (พังงา ภูเก็ต กระบี่) งบประมาณ 411 ล้านบาท

3.จ.ตรังเสนอการพัฒนาเมืองให้เป็น MICE City 4.จ.ตรังเสนอพัฒนาสนามกีฬา 5.จ.พังงาเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์และการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดพังงา งบประมาณ247 ล้านบาท

6.จ.พังงาเสนอโครงการศึกษาความเหมาะสม Phangnga Universal Healthcare ในการยกระดับมาตรฐาน รพ.ในจังหวัด 7.จ.พังงาเสนอโครงการพังงา Smart City เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวการเดินทาง ท่าเทียบเรืออัจฉริยะ การเกษตรเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัล

8.จ.พังงาเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลท้ายเมือง 9.จ.ภูเก็ตเสนอโครงการ Phuket Health Sandbox 10.จ.ภูเก็ตเสนอของบฯเพื่อการศึกษาเขตเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวอันดามัน

11.จ.ระนองเสนอการพัฒนาขยายพื้นที่ให้การรักษาพยาบาลโรงพยาบาลระนอง 12.จ.สตูลเสนอโครงการพัฒนาระบบสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เกาะหลีเป๊ะ งบประมาณ 28 ล้านบาท

13.จ.สตูลเสนอโครงการก่อสร้างศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลาม ก่อสร้างศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลาม จ.สตูล งบประมาณ 70 ล้านบาท

14.จ.สตูลเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพสนามกีฬา เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศ งบประมาณ 111 ล้านบาท

กระบี่ชงอันดามัน Go Green

สำหรับ “ด้านเกษตร” มี 7 ข้อเสนอ ประกอบด้วย 1.จ.กระบี่เสนอส่งเสริมการเลี้ยงแพะและแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรตามมาตรฐานอาหารฮาลาล งบประมาณ 591 ล้านบาท

เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร รวมถึงขับเคลื่อน model “กระบี่เมืองแพะ” แบบครบวงจร 2.จ.กระบี่เสนอโครงการส่งเสริมการผลิตแพะในสวนยางพาราและในปาล์มน้ำมัน

3.จ.กระบี่เสนอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงแพะ เพื่อฝึกอบรมเกษตรกร 4.โครงการพัฒนาการประมงในอ่าวพังงาอย่างยั่งยืน (2566-2570) งบประมาณ 879 ล้านบาท 5.จ.ตรังโครงการสร้างโรงงานผลิตน้ำยางข้น งบประมาณ 96 ล้านบาท

6.จ.พังงาเสนอโครงการพังงาเมืองเกษตรยั่งยืน เป็นโครงการที่จัดทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ งบประมาณ 28 ล้านบาท และ 7.จ.พังงาเสนอโครงการพังงาเมืองสมุนไพร งบประมาณ 22 ล้านบาท

“ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” มี 6 ข้อเสนอ ประกอบด้วย 1.จ.กระบี่เสนอโครงการ Andaman Go Green โดยให้ 6 จังหวัดใช้ BCG Model เป็นกลไกหลักในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฐานราก สังคม และสิ่งแวดล้อม คงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

2.จ.ตรังเสนอโครงการปรับปรุงสถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำตรัง โดยจะต้องมีการปรับปรุงอาคารอนุบาล

และจัดแสดง ปรับปรุงอาคารเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงถนนและทางเท้า

3.จ.พังงาเสนอปรับปรุงภูมิทัศน์คลองพังงา งบประมาณ 912 ล้านบาท 4.จ.พังงาเร่งรัดโครงการฟื้นฟูชายหาดคึกคัก แบบบูรณาการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง งบประมาณ 199 ล้านบาท

5.จ.พังงาเร่งรัดศึกษาออกแบบการแก้ปัญหาแนวกันคลื่นปากร่องน้ำเค็มเกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า งบประมาณ 10 ล้านบาท 6.จ.ระนองเสนอการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองจังหวัดระนอง เนื้อที่ประมาณ 2,720 ไร่

และด้านอื่น ๆ มีทั้งหมด 1 ข้อ ได้แก่ 1.สนับสนุนการแก้ไขกฎหมายที่ทันสมัยและเหมาะสมให้กับโรงแรมขนาดเล็ก โดยขอให้ผ่อนผันการบังคับใช้ พ.ร.บ.โรงแรมอย่างน้อยอีก 3 ปี

เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และเร่งรัดการพิจารณาลดขั้นตอนขอใบอนุญาตประเภทโฮมสเตย์ และโรงแรมโดยเร่งด่วน และการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เพื่อให้โรงแรมแต่ละชนิดได้เข้าสู่กฎหมายได้อย่างถูกต้อง

 

สภาอุตฯใต้ดึง กฟผ.ช่วยรับซื้อไฟ หนุนโรงงานปาล์ม-ยางทำ BCG Model

นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ก่อนการประชุม ครม.สัญจรภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2564 ภาครัฐ

และภาคเอกชนในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด ได้มีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อจัดเตรียมข้อเสนอของแต่ละจังหวัด นำเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา ปัจจุบันเสนอมาทั้งหมด 83 โครงการ แบ่งเป็นโครงการใหม่ และเร่งรัดโครงการเดิม ซึ่งจะต้องกลั่นกรองกันอีกหลายรอบ คงไม่สามารถนำเสนอได้ทั้งหมด

สำหรับโครงการหลักที่สภาอุตสาหกรรมภาคใต้อยากผลักดัน มี 1.เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (bio-circular-green economy : BCG model)

อยากเน้นให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้ามารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะโรงงานปาล์ม และยางพารา ซึ่งมีน้ำเสียเหลือทิ้งสามารถนำกลับไปผลิตไบโอแก๊ส การจัดการของเสียเหล่านี้จะลดลง

การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเป็นระบบมากขึ้น 2.การผลักดันโครงการเขตอุตสาหกรรมพิเศษกลุ่มอันดามัน ให้สอดคล้องกับนโยบาย BCG อย่างครบวงจร

2.ท่าเรือขนส่งสินค้าฝั่งอันดามันเพื่อส่งออกสินค้าเกษตรไปยังกลุ่มเอเชียกลาง และยุโรป 3.สนับสนุนกิจการที่ต้องการลงทุนในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร และผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร

รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้าจาก biogas biomass ที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร 4.ส่งเสริมการดำเนินงานเกษตรอัจฉริยะ (เกษตรแม่นยำ เกษตรแปลงใหญ่ การเกษตรที่มีมูลค่าสูง, การปลูกปาล์มเพื่อความยั่งยืน

โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมตามมาตรฐาน RSPO, การจัดการแปลง) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

5.แก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานที่สามารถยกระดับมูลค่าสินค้าเกษตร และ 6.สนับสนุนงบประมาณจัดการเรียนรู้พัฒนาบุคลากร ทักษะการปฏิบัติงาน