“บ.เกษตรลุ่มน้ำ” ผลิต “ไบโอมีเทนอัด” แห่งแรกเมืองไทย

บริษัท เกษตรลุ่มน้ำฯ นครศรีธรรมราช เดินเครื่องผลิต “ไบโอมีเทนอัด” แห่งแรกในเมืองไทย นำก๊าซเหลือใช้มาพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงยานยนต์ หนุนใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2560 ที่ผานมา นายธรรมยศ ศรีช่วย ปลัดกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ดร.กณพ เกตุชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ผู้แทนส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ในสถานประกอบการที่มีระบบก๊าซชีวภาพ ที่บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า โครงการของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนและยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน ซึ่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซและระบบบรรจุก๊าซไบโอมีเทนอัด ให้กับสถานประกอบการที่มีระบบก๊าซชีวภาพอยู่แล้ว นำก๊าซชีวภาพที่เหลือใช้มาปรับปรุงคุณภาพให้เกิดประโยชน์ แต่ยังไม่มีโรงงานเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย

ทั้งนี้บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด เป็นโครงการแรกที่ได้ติดตั้งระบบผลิต CBG ขนาด 3 ตันต่อวัน และได้เริ่มดำเนินการใช้ประโยชน์ CBG ที่ผลิตได้กับรถบรรทุกของบริษัท ก๊าซ CBG ที่ผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีการนำไปทดสอบกับยานยนต์ และทดสอบเพิ่มเติมตามมาตรฐานกำหนดคุณภาพก๊าซ ไบโอมีเทนอัดในต่างประเทศ (สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี) ผลการทดสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดทุกรายการ จึงได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติจากกรมธุรกิจพลังงานแล้ว

แห่งแรก – โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ต.ช้างซ้ายอ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช เริ่มเดินเครื่องผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน


ด้าน ดร.กณพ เกตุชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด กล่าวว่า บริษัทประกอบธุรกิจโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม มีกำลังการผลิต 60 ตันปาล์มต่อชั่วโมง และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ กำลังผลิตติดตั้ง 1 เมกะวัตต์ โดยน้ำเสียและกากตะกอนปาล์ม จะนำเข้าสู่บ่อหมักก๊าซชีวภาพ 4 บ่อ มีกำลังผลิตก๊าซ 17,683 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ก๊าซชีวภาพที่ได้นั้นเมื่อนำไปผลิตไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์แล้ว ยังมีก๊าซที่เหลือใช้ ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนแบบอัด (CBG) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นำไปใช้กับยานยนต์

Advertisment

ปัจจุบันมีกำลังการผลิต วันละ 3,000 กิโลกรัม สามารถนำก๊าซ CBG ที่ผลิตได้ไปใช้ในรถบรรทุกจำนวน 19 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์มไปยังจังหวัดชุมพร ชลบุรี และในอนาคตจะเปิดให้บริการกับรถทั่วไปหลังจากใช้เป็นการภายในเพียงพอแล้ว

นอกจากนั้น โครงการส่งเสริมการผลิตไบโอมีเทนอัด (CBG) ของบริษัท เกษตรลุ่มน้ำ จำกัด ยังเป็นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีของเอกชนไทย-ญี่ปุ่นด้วย โดยได้ร่วมมือกับบริษัท โอซาก้าแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแก๊สขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นแห่งแรกของเมืองไทย” ดร.กณพ กล่า