อัยการชี้ “ปู” ขอลี้ภัยยาก คนละแบบกับ “ทักษิณ” เหตุขึ้นศาลทุกนัด เป็นธรรมแล้ว

เมื่อวันที่ 27สิงหาคม นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการสำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด กล่าวถึงเรื่องการขอลี้ภัยไปต่างประเทศของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาในคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือ หน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาทว่า ไม่น่าจะสามารถกระทำได้ เนื่องจากมองว่ายังไม่มีเหตุที่จะลี้ภัย ในต่างประเทศจะไม่มีการมองในเรื่องของการหนีคำพิพากษาของศาล เป็นเรื่องลี้ภัยต่างจากกรณีของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ถือโอกาสหลบหนีออกนอกประเทศเเละขอลี้ภัยในระหว่างที่กำลังมีปัญหาบ้าน เมืองไม่ปกติจากการรัฐประหาร ถึงเเม้จะมีการไต่สวนพยานในศาลไปบ้างเเล้วเเต่ยังไม่จบกระบวนการเเต่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะต่างกันเเละผ่านเหตุการณ์รัฐประหารมากว่า 3 ปีเเล้ว

“ของคุณทักษิณจะเป็นคนละเเบบกันตอนนั้นของคุณทักษิณไม่ต้องไปศาลก็ได้เเละยังสู้ ไม่จบกระบวนการเท่าไหร่เเต่คุณยิ่งลักษณ์ไปศาลมาตลอด” กล่าวและว่า ว่า จะเห็นได้ว่ากรณีของน.ส.ยิ่งลักษณ์จะไม่เหมือนรายอื่นๆเช่นกรณีของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 และอดีตหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่ยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองต่อรัฐบาลออสเตรเลียที่มีเหตุถูกคุกคามเเล้วจึง หนีไปเเล้วมีสำนวนไปเเสดง เเต่กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ยังไม่รู้ว่าศาลตัดสินอย่างไร เเล้วก็ผ่านการพิจารณาคดีมาโดยตลอด

เมื่อถามย้ำว่า คดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้นมีมูลเหตุมาจาก นโยบายทางการเมืองเหตุใดถึงไม่น่าจะขอลี้ภัยได้ นายปรเมศวร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นคดีไปเเล้วเเละ น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ต่อสู้มาตลอดจนถึงเเถลงการปิดคดี จนจบเเล้ว เเละกระบวนการอยู่ในชั้นศาลที่มองว่าเป็นธรรมเเล้ว จึงไม่น่าที่จะยื่นขอลี้ภัยได้ เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะใช้วิธีการเลือกที่จะไปประเทศที่ไม่มีการขอผู้ร้ายข้าม เเดน เช่น ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มอนเตเนโกร

เมื่อถามต่อว่า ระหว่างช่วงที่เดินทางไปยังประเทศที่ไม่มีการขอผู้ร้ายข้ามเเดน เเต่จะต้องผ่านประเทศที่ไทยขอผู้ร้ายข้ามเเดนได้ตรงนี้จะสามารถดำเนินการได้ ทันทีหรือไม่ นายปรเมศวร์ กล่าวว่า เชื่อว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปจะไม่ได้พำนักอยู่นาน ถึงเเม้จะไปในประเทศที่ไทยมีสนธิสัญญา จะไม่สามารถยื่นคำร้องได้ทัน อย่าง นายทักษิณเองก็จะอยู่ประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเป็นหลัก เวลาจะเดินทางไปญี่ปุ่นหรืออังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่มีสนธิสัญญา จะเป็นการลักษณะโฉบไป คือไปเเล้วกลับ จะต่างจากนายราเกซ สักเสนา นักโทษ คดีทุจริต บีบีซี ที่ไปพำนักอยู่ในเเคนาดา ไม่ขยับหนีจึงถูกล็อคตัว เเต่เชื่อว่ากรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์อีกไม่นานคงถูกเพิกถอนหนังสือเดินทาง

เมื่อ ถามว่าจากนี้ไปเราสามารถที่จะทำเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามเเดนได้หรือไม่ นายปรเมศวร์ กล่าวว่ายังไม่สามารถทำได้ งกรณีนี้จะต่างกันกับการทำเรื่องขอส่งผู้ร้ายมาดำเนินคดีซึ่งจะง่ายกว่า เพราะส่งหมายจับของศาลพร้อมหลักฐานไปประกอบก็สามารถทำได้ เเต่กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์พอมาอยู่ในกระบวนการของศาล จะเอาตรงไหนไปยื่นในคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดน เนื่องจากเราจะต้องรออ่านคำพิพากษาก่อนถ้าศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยเอาคำพิพากษาไปยื่นประกอบคำร้องจึงจะมีเหตุที่เอาตัวมาลงโทษได้ ก็ต้องรอศาลพิพากษาในตอนนี้เฉพาะหมายจับของศาลกรณีที่หลบหนีไม่มาฟังคำ พิพากษาอย่างเดียวตนมองว่ายังไม่เพียงพอ ส่วนปัญหาอีกปัญหาหนึ่งคือก็ยังไม่ทราบถิ่นที่อยู่ของจำเลยซึ่งยังไม่มีข้อ ยืนยันมา คล้ายกับกรณีของ นายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง ที่คาดว่าจะใช้วิธีการเดียวกับนายทักษิณ คือไม่รู้พำนักอยู่ที่ไหนเป็นเวลานาน ซึ่งเเม้จะเเปลคำร้องเสร็จเเล้วก็ไม่สามารถส่งได้เพราะไม่รู้ที่พำนัก

“กรณี ของยิ่งลักษณ์ถึงเเปลคำร้องเสร็จก็เเค่ข้อหาหลบหนีการไปฟังผลคำพิพากษาจึง ยังไม่ใช่เรื่องที่ต้องส่งผู้ร้ายข้ามเเดน ใครเขาก็ไม่ส่งให้ ต้องรอผลคำพิพากษาก่อนอย่างเณรคำที่เราเอาตัวมาได้เพราะมีข้อหาที่จะดำเนิน คดีไม่ใช่หลบหนีการควบคุมเจ้าหน้าที่มีเนื้อหาคดีอยู่ ”

เมื่อถามว่า หากวันที่ 27 กันยายน ที่เป็นการอ่านคำพิพากษาลับหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เเล้วศาลยกฟ้อง ตัวจำเลยหากกลับมายังจะถูกคุมขังหรือไม่ นายปรเมศวร์ กล่าวว่าหากยกฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ย่อมสามารถเดินทางกลับมาได้โดยไม่ต้องถูกคุมขัง หมายจับที่ให้จับตัวมาฟังคำพิพากษาก็จะยกเลิก เเต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่าหากยกฟ้องเเล้วอัยการยื่นอุทธรณ์ ก็เป็นไปได้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะไม่กลับมาเพราะกลับมาก็จะต้องดูว่าศาลยกเลิกหมายจับหรือไม่ เพราะยังมีกระบวนการของการขังระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถทำได้ เพราะขณะนี้ไม่มีตัว เเต่ถ้าตัวกลับมาเเล้วศาลก็อาจจะออกหมายเรียกมารับทราบเรื่องการอุทธรณ์เเละ มาควบคุมตัวได้

“ปกติคดีอาญาถ้ายกฟ้องเเล้วศาลให้ขังระวังอุทธรณ์ จำเลยต้องประกันตัวไป เเต่ถ้ายกฟ้องเเล้วไม่มีตัวศาลก็จังระหว่างอุทธรณ์ไม่ได้ ซึ่งตัวจำเลยก็อาจกลับเข้ามา เเต่ถ้ากลับเข้ามาศาลก็อาจจะไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามคำสั่งเดิม เพราะตัวยังอยู่ในอำนาจศาล เเต่คิดว่าเขาคงไม่มา คงต้องดูก่อนว่าอัยการจะอุทธรณ์ไหม ถ้าอุทธรณ์คงไปเลยไม่กลับมา เเต่ถ้าไม่อุทธรณ์คงจะกลับมา”

เมื่อถามต่ออีกว่าหากยกฟ้องเเล้วไม่ กลับมาเกิดอัยการอุทธรณ์ สิทธิในการอุทธรณ์คดีฝ่ายจำเลยจะถูกตัดสิทธิตาม กฎหมายลูกประกอบรัฐธรรมนูญที่ระบุต้องมีตัวจำเลยหรือไม่

รองอธิบดี อัยการสำนักงานชี้ขาดคดี กล่าวว่า ตามป.วิอาญาที่มีการเเก้ไขใหม่ ว่าถ้าตัวจำเลยจะยื่นอุทธรณ์จะต้องมาปรากฎตัวต่อศาล เเต่ไม่ได้เขียนในกรณีที่โจทก์เป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์เเล้วห้ามมิให้จำเลยยื่น เเก้อุทธรณ์โจทก์ได้ กฎหมายเขียนเเต่เพียงว่าหากจำเลยยื่นอุทธรณ์ต้องมาเเสดงตัว หากผลออกมายกฟ้องเเล้วอัยการยื่นอุทธรณ์ทางทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ย่อมสามารถยื่นเเก้อุทธรณ์โจทก์ได้โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์จำเลยไม่ต้องมาเเสดงตัว

 

ที่มา มติชนออนไลน์​