
ภิสัก อึ้งถาวร Head, Markets Research and Advisory ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวหลัง การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 3/2566
- กนง.ยังประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ที่ 3.6% และ 3.8% ในปี 66 และ 67
- อัตราเงินเฟ้อทยอยปรับลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายและคาดว่าอยู่ที่ 2.5% และ 2.4% ในปี 66 และ 67 ในส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2% ในปี 66 และ 67
- มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านสูง
มุมมองตลาด
- หวั่น EV ไทย…ซ้ำรอยจีน
- “ทรู-ดีแทค” ถล่มโปร “คืนค่าเครื่อง” ย้ำรวมกันได้มากกว่า
- เปิด “ผังน้ำ” ประกบผังเมือง เขย่าราคาที่ดินทั่วประเทศ
ถึงแม้ว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็น 2% แต่ FED ก็ยังมีแนวโน้มในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเช่นกัน ซึ่งจะยังคงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับ 3%
- โดยเรายังคงมองค่าเงินบาทอ่อนค่าในช่วง Q2 และน่าจะเคลื่อนไหวในช่วง 34.50-35.50 บาทต่อดอลลาร์ ใน Q2 และ Q3
วรภร ธรศุภภากร Head, Structured Product Distribution and Head, Private Wealth Strategy ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
มุมมองการลงทุน
เน้นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่คุ้มครองเงินต้นทั้งสกุลเงินบาทและสกุลต่างประเทศ ลงทุนตราสารหนี้ Investment Grade BBB+ขึ้นไป เพิ่มสัดส่วนในพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนอันดับความน่าเชื่อถือ A- ขึ้นไป
เลือกถือครองหุ้นกู้คุณภาพ ลดสัดส่วนหุ้นกู้บางกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยการขายคืน/เปลี่ยนมือหุ้นกู้ที่ถืออยู่ เพื่อปรับพอร์ตและสัดส่วนการลงทุน รวมถึงกระจายการฝากเงินและการลงทุนในสถาบันการเงินต่างๆแบบไม่กระจุกตัว
ผลิตภัณฑ์และการลงทุนที่แนะนำ
ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่คุ้มครองเงินต้น เช่น Maxi Digital Bullish สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โอกาสผลตอบแทน 3.33% – 6.33% ต่อปี
พันธบัตร และหุ้นกู้ตลาดรอง ระดับ Investment Grade 2%-4%ต่อปี
Equity Linked Note อ้างอิงหุ้นใน SET 50 เช่น BCP, CPALL, TIDLOR, TU ตามระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุน