กองทุนพัฒนาสื่อฯ จัดงาน “เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์” ครั้งที่ 3

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงาน “เสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum 2022” ครั้งที่ 3 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ณ ห้อง Le Lotus 1 โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อการนำเสนอและรับข่าวสาร ซึ่งสื่อมีอิทธิพลในการสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวาง ต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างสรรค์อย่างถูกต้องและปลอดภัย

งานเสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum 2022 ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร (ภาคเช้า)

ร้อยโท ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานเสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ “Media Innovations Showcase & Forum 2022” ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร

วันนี้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ ที่มีโอกาสได้มาแนะนำกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้กับทุก ๆ ท่าน โดยเฉพาะหน่วยงานหนึ่งที่ผมได้รับมอบหมายให้เป็นประธาน นั่นก็คือคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะนี้มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ผมขออนุญาตแนะนำบทบาทและหน้าที่ของเราครับ

คณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 21 (13)  แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ.2558 ตามวัตถุประสงค์สำคัญในการจัดตั้งของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่กำหนดให้มีการส่งเสริม ให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สำหรับคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ ก่อตั้งขึ้นมาได้ประมาณ 2 ปี ขับเคลื่อนมาเป็นลำดับ โดยมีเป้าหมายหรืออำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  2. ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  3. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และรายงานต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อทราบ

และในส่วนของแนวทางในการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ เราก็ได้ดำเนินงานตามแนวทาง 9 ข้อ ดังนี้

  1. การพัฒนาคนให้คิดสร้างสรรค์ มีทักษะการเล่าเรื่องผ่านสื่อ การผลิตสื่อ เพื่อสร้างนวัตกรรมตั้งแต่ระดับเยาวชนไปจนถึงผู้ผลิตสื่ออาชีพ
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ความรู้เท่าทันสื่อ และการคิดเชิงวิพากษ์
  3. เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้ามาย และปัญหาที่ควรแก้ไข มีความเข้าใจชุมชม สังคม และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
  4. สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ
  5. สร้างโอกาส องค์ความรู้ และการเรียนรู้จากกรณีศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  6. ยกย่องและให้รางวัลแก่ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  7. ส่งเสริมการเผยแพร่ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสาธารณประโยชน์
  8. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนการเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนด้านนวัตกรรมสื่อจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  9. ติดตามและประเมินผลการสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยมี ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต  ประธานอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

และผู้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ประจำปี 2564 เข้าร่วมการเสวนาและนำเสนอผลงาน

– โครงการพัฒนานวัตกรทางการสื่อสาร โดย บริษัท เทลสกอร์ จำกัด

– โครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (The Rumor Villages) โดย ผศ.ภณิดา แก้วกูร

– โครงการจ้างผลิตบอร์ดเกมบันไดงูเพื่อลดการบูลลี่ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย ทีมมูอัลลิม

– โครงการ iTop โดย บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด

– โครงการ เก๋าชนะ โดย บริษัท ทูลมอโร จำกัด

– โครงการจ้างผลิตสื่อเพื่อสื่อสารเรื่องนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย บริษัท เฟรนด์ แอนด์ มานะ จำกัด

– โครงการ Landlab โดย นางสาวกุสุมาวดี กรองทอง

งานเสวนานวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ Media Innovations Showcase & Forum 2022 ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร (ภาคบ่าย)

การนำเสนอผลงานวิจัย

  • โครงการจ้างถอดองค์ความรู้นวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

: โดย ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม

  • โครงการจ้างวิจัยประเมินผลการสร้างนวัตกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ : โดย ดร.วิโรจน์ สุทธิสีมา

 

การเสวนาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์” โดย

  • ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ประธานคณะอนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  • ผศ.ภณิดา แก้วกูร ผู้ดำเนินโครงการพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (The Rumor Villages)
  • คุณสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ดำเนินโครงการเก๋าชนะ
  • คุณกุสุมาวดี กรองทอง ผู้ดำเนินโครงการ Landlab
  • ทีมมูอัลลิม ผู้ดำเนินโครงการจ้างผลิตบอร์ดเกมบันไดงูเพื่อลดการบูลลี่ในโรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้

#กองทุนสื่อ #อนุกรรมการนวัตกรรมสื่อ

#สื่อสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

#กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์