จ่ายเงินประกันสังคมเท่าไร ม.33, 39, 40 พฤษภาคม 2567 เช็กที่นี่

จ่ายเงินประกันสังคม เดือนพฤษภาคม 2567 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมกี่บาท ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ลงทะเบียนและเช็กสิทธิด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์

ประกันสังคม คืออะไร

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม แบ่งออกได้เป็น 3 มาตราด้วยกัน ซึ่งได้แก่ มาตรา 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 โดยรายละเอียดและสิทธิประโยชน์ มีดังนี้

ผู้ประกันตน มาตรา 33

พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ และเต็มเวลา ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

จ่ายเงินประกันสังคม ม.33

Advertisment
  • ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน
  • เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับการคุ้มครองใดบ้าง

1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีตาย
5. คลอดบุตร
6. กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน
7. กรณีชราภาพ

ผู้ประกันตน มาตรา 39

บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

จ่ายเงินประกันสังคม ม.39

ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาทต่อเดือน
เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท

Advertisment

ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับการคุ้มครองใดบ้าง

1. เจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ
2. คลอดบุตร
3. ทุพพลภาพ
4. เสียชีวิต
5. สงเคราะห์บุตร
6. ชราภาพ

ผู้ประกันตนมาตรา 40

ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ฟรีแลนซ์ ที่มีอายุ 15-65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

จ่ายเงินประกันสังคม ม.40

สามารถแบ่งทางเลือกออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ในอัตรา 70 บาทต่อเดือน ถ้าจ่ายครบ 12 เดือน เท่ากับว่าในปี 2566 ได้จ่ายเงินสมทบไปทั้งหมด 840 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน ถ้าจ่ายครบ 12 เดือน เท่ากับว่าในปี 2567 ได้จ่ายเงินสมทบไปทั้งหมด 1,200 บาท

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร ในอัตรา 300 บาทต่อเดือน ถ้าจ่ายครบ 12 เดือน เท่ากับว่าในปี 2567 ได้จ่ายเงินสมทบไปทั้งหมด 3,600 บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะได้รับการคุ้มครองใดบ้าง

1. เงินทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
2. เงินทดแทน กรณีทุพพลภาพ
3. เงินค่าทำศพ กรณีเสียชีวิต
4. บำเหน็จชราภาพ
5. สงเคราะห์บุตร

สามารถเช็กสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยตนเอง

เช็กสิทธิประกันสังคมได้ทาง สำนักงานประกันสังคมเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยเมื่อเข้าสู่เว็บไซต์ และเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วสามารถเช็กสิทธิ และดำเนินการต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้ด้วยตนเอง