อลิอันซ์ อยุธยา ความผูกพันคือความสุขพนักงาน

อลิอันซ์

ขณะที่โลกเข้าสู่ endemic หรือการที่โควิด-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น ถือเป็นความจำเป็นที่หลายองค์กรต้องหันกลับมาทบทวนการดูแลพนักงาน ทั้งการใช้เทคโนโลยี ความยืดหยุ่นในการทำงานทั้งสถานที่ และเวลา หรือแม้แต่ทักษะวิธีการพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งความผูกพันในองค์กร

สำหรับบริษัทในกลุ่มอลิอันซ์ รวมถึง “อลิอันซ์ อยุธยา” มองเห็นเทรนด์มาสักพัก จึงเตรียมการเปลี่ยนผ่าน (transform) สู่การทำงานในยุคใหม่พร้อมกันทั่วโลก ภายใต้หลักการ WOW-New Ways of Working ซึ่งเริ่มใช้จริงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

จันทนา ชินวรรโณ
จันทนา ชินวรรโณ

“จันทนา ชินวรรโณ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่ากลยุทธ์หลักของกลุ่มอลิอันซ์ที่เป็นรากฐานของการทำงานของสำนักงานทั่วโลก คือการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง (True Customer Centricity)

ดังนั้น สำหรับสายงานบริหารบุคคล ลูกค้าภายในขององค์กรคือ “พนักงาน” ซึ่งถูกดูแลโดยใช้หลักการเดียวกัน คือเน้นให้พนักงานมีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็น เพื่อนำมาออกแบบเป็นนโยบาย หรือกิจกรรมที่ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ จนทำให้พนักงานมีความสุข

“มาตรวัดที่สำคัญในการเช็กว่าบริษัทดูแลพนักงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน คือคะแนนความผูกพัน ซึ่งมาจากการทำสำรวจที่เรียกว่า Allianz Engagement Survey (AES) ที่ใช้ในบริษัทภายใต้กลุ่มอลิอันซ์กว่า 70 ประเทศทั่วโลก

Advertisment

สำหรับประเทศไทย แม้ 2 ปีผ่านมาจะเจอกับความท้าทายจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จนส่งผลต่อทั้งวิถีชีวิต รวมทั้งวิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่อลิอันซ์ อยุธยายังคงรักษาคะแนนได้อย่างดีเยี่ยมในทุก ๆ แกน”

อลิอันซ์

โดย Allianz Engagement Survey มี 3 แกน ที่ครอบคลุมกับการดูแลพนักงาน และอลิอันซ์ อยุธยาทำคะแนนได้ดังนี้

หนึ่ง IMIX (Inclusive Meritocracy Index) โอกาสความก้าวหน้าในสายงานที่มีมาตรฐาน คำนึงถึงผลการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยได้คะแนนสูงถึง 91% (สูงกว่ามาตรฐานกลุ่มอลิอันซ์ 12 pp)

Advertisment

สอง EEI (Employee Engagement Index) ความผูกพันระหว่างพนักงานที่มีต่อองค์กร โดยได้คะแนนสูงที่ 88% (สูงกว่ามาตรฐานกลุ่มอลิอันซ์ 12 pp)

สาม WWI (Work Well Index) ความสมดุลของชีวิต มีเวลาเพียงพอให้กับงาน และชีวิตส่วนตัวอย่างเหมาะสม คำนึงถึงสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งในแกนนี้มีคะแนนสูงถึง 86% (สูงกว่ามาตรฐานกลุ่มอลิอันซ์ 15 pp)

“นอกจากคะแนนการสำรวจ AES ที่อลิอันซ์ อยุธยาทำได้ดีแล้ว เรายังได้รับรางวัลด้านองค์กร และการบริหารทรัพยากรบุคคลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลสุดยอดองค์กรที่คนอยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย (HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2022) จาก HR Asia 2 ปีซ้อน

และล่าสุดรางวัลสำนักงานที่มีการปรับปรุงได้โมเดิร์นสวยงามที่สุด จาก Archello สื่อด้านสถาปัตยกรรมชื่อดังจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้วยโจทย์การออกแบบเพื่อสร้างพื้นที่ทำงานสำหรับโลกยุคใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนง่าย ยืดหยุ่น ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับทุกคน”

“จันทนา” กล่าวด้วยว่าความท้าทายในการบริหารคนขององค์กรต่าง ๆ จากนี้ไปจะเป็นเรื่องของการดึงดูดพนักงานท่ามกลางรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดว่าจะทำยังไงให้พนักงานที่อยู่ต่างที่สามารถทำงานร่วมกันได้ ทั้งยังมีความผูกพันกับองค์กร และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงความท้าทายในเรื่องการหาคน เพราะ candidate pool เริ่มจำกัด

“สิ่งที่อลิอันซ์ อยุธยาทำเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว คือเราพยายามมีกิจกรรมที่จะสร้างความผูกพันหลายรูปแบบ และออกแบบให้เหมาะสม โดยต้องเข้าใจว่าพนักงานต้องการอะไร ภายใต้หลักการ WOW-New Ways of Working ซึ่งเริ่มนำมาใช้จริงตั้งแต่ปีที่ผ่านมา”

อลิอันซ์

สำหรับ “WOW-New Ways of Working” ประกอบด้วย

หนึ่ง Flexi Work Arrangement ปรับพื้นที่ออฟฟิศให้เป็นลักษณะ flexi seat ซึ่งพนักงานสามารถทำงานจากตรงไหนก็ได้ โดยเน้นใช้พื้นที่ส่วนกลางในการสร้างความร่วมมือของทีม

สอง การฝึกอบรม และพัฒนาทักษะความสามารถที่ออกแบบได้เอง โดยพนักงานสามารถเข้าไปเลือกหัวข้อที่สนใจเอง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่รวบรวมบทเรียนจากผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมให้สามารถรวมกลุ่มกันเองได้ เช่นโครงการ Design your own Play

สาม ชีวิตการทำงานที่สมดุลภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ทั้งจากการทำงานแบบยืดหยุ่น สวัสดิการ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ สันทนาการ เพื่อให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและเรื่องส่วนตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่กับการออกแบบพื้นที่การใช้สอย

รวมทั้งเทคโนโลยีให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น ห้องประชุมที่ทันสมัย โซนนั่งทำงานแบบส่วนตัว (focus zone) คลินิกดูแลสุขภาพพนักงาน รวมทั้งสายด่วนจิตแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษาในด้านความเครียดต่าง ๆ

“สำหรับความท้าทายในเรื่องการหาคน เรามีมุมมอง และทิศทางในอนาคตว่าจะไม่เข้าไปแข่งใน talent war (สงครามแย่งคนเก่ง) เพราะเป็นการแข่งขันที่ไม่มีวันจบ ดังนั้น สิ่งที่เราพยายามเปลี่ยน และออกจากตรงนี้คือจะสร้าง young talent ขึ้นมาเอง โดยจัดให้มีโปรแกรมพัฒนาคนที่ไม่มีประสบการณ์ และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเข้าถึงนักศึกษา”

นับว่ากลยุทธ์การทำงานแบบยึดพนักงานเป็นศูนย์กลาง ไม่เพียงสร้างความสุขให้กับพนักงาน แต่ยังส่งผลต่อลูกค้า เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการมีส่วนร่วมเช่นนี้ จะเอื้อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต