แผ่นเปลือกโลกเคลื่อน ฟอสซิลไดโนเสาร์ใต้ทะเล ขึ้นไปอยู่บนเทือกเขาแอลป์

ฟอสซิลไดโนเสาร์ใต้ทะเล
Marcello Perillo/University of Bonn/Handout via REUTERS

เหมือนพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน เมื่อฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ยักษ์ที่เคยอยู่ใต้ทะเลลึกไปโผล่อยู่บนเทือกเขาสูง นักวิจัยชี้มาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

วันที่ 29 เมษายน 2565 รอยเตอร์ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์พบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ในวงศ์ ichthyosaur – อิกทิโอซอรัส สัตว์เลื้อยคลานทะเล เป็นฟอสซิลซี่โครง ความยาว 21 เมตร และกระดูกสันหลังยาว 15 เมตร ส่วนฟันมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในไดโนเสาร์อิกทิโอซอรัส

ฟันฟอสซิลที่พบมีขนาดความกว้าง 6 เซนติเมตรและสูง 15 เซนติเมตร ทำให้เห็นภาพว่าไดโนเสาร์ตัวนี้เป็นนักล่าที่น่าเกรงกลัวและขนาดตัวมหึมาเพียงใด

ฟอสซิลทั้ง 3 ชิ้นมีอายุเก่าแก่ประมาณ 205 ล้านปีก่อน ใกล้สิ้นสุดยุคไทรแอสซิก สันนิษฐานว่าเป็นอวัยวะของไดโนเสาร์อิกทิโอซอรัสขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งมีถิ่นอาศัยในมหาสมุทรในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์เริ่มเข้าไปอาศัยบนแผ่นดิน

ฟอสซิลไดโนเสาร์ใต้ทะเล
ฟอสซิลฟันที่พบมาจากสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชื่อ ichthyosaur พบบนเทิอกเขาแอลป์ / Rosi Roth/University of Zurich/Handout via REUTERS

มาร์ติน แซนเดอร์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยบอนน์ในเยอรมนีและหัวหน้านักเขียนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Vertebrate Paleontology กล่าวว่าฟันเป็นส่วนที่น่าสนใจมากเพราะอาจจะเป็นฟันขนาดใหญ่ที่สุดของสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่บนโลก

ฟอสซิลไดโนเสาร์ใต้ทะเล เหล่านี้อยู่บนภูเขาคราเคินฮอร์น ใกล้กับเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ปีที่แล้ว พบข้อมูลระบุว่าพบอิกทิโอซอรัสมีความยาว 18 เมตร และมีฟันซี่หนึ่งมีความกว้าง 2 เซนติเมตร ดังนั้น ฟัน ซี่โครงและกระดูกสันหลังของอิกทิโอซอรัสที่พบบนภูเขาคราเคินฮอร์น ใกล้กับเมืองดาวอสในสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้คาดว่าอาจมีความยาวถึง 54 เมตร

ภาพจำลองพื้นที่ที่ตั้งชองเทิอกเขาแอลป์ Swiss High Alps เมื่อ 200 ล้านปีก่อนเคยเป็นมหาสมุทร  / Jeannette Ruegg/Heinz Furrer/University of Zurich/Handout via REUTERS

อิกทิโอซอรัสอาจดูเหมือนมีขนาดไม่ใหญ่โต แต่น่าเกรงขาม อาจคล้ายกับวาฬสเปิร์ม มีพฤติกรรมล่าหมึกยักษ์ ปลาขนาดใหญ่และอิกทิโอซอรัสที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร ส่วนอิกทิโอซอรัสขนาดใหญ่ แต่ไม่มีฟันอาจกินปลาเล็กหรือหมึกโดยดูดหรือกลืนเข้าปาก

อิกไทโอซอรัสขนาดยักษ์เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีลำตัวยาวและกระโหลกที่ค่อนข้างเล็ก

ไฮนซ์ ฟูเรอร์ ภัณฑารักษ์วัยเกษียณที่สถาบันบรรพชีวินวิทยาและพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยซูริก และนักศึกษาภาควิชาภูมิศาสตร์ในเวลานั้น ค้นพบฟอสซิลในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 บริเวณหลุมขุดค้น 3 แห่งบนเทือกเขาแอลป์ทางตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวถึงฟอสซิลดังกล่าว

ฟอสซิลไดโนเสาร์ใต้ทะเล
ไฮนซ์ ฟูเรอร์ ภัณฑารักษ์วัยเกษียณที่สถาบันบรรพชีวินวิทยาและพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยซูริก / Rosi Roth/University of Zurich/Handout via REUTERS

แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่เคลื่อนตัวอย่างต่อเนื่องทำให้เกิด “การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค” ซึ่งอธิบายได้ว่าฟอสซิลที่ก้นมหาสมุทรไปอยู่บนยอดเขาได้อย่างไร

แซนเดอร์อธิบายว่าเทือกเขาแอลป์มีโครงสร้างซับซ้อนมาก ประกอบขึ้นแผ่นหินขนาดใหญ่ที่เดิมเคยเป็นพื้นทะเล เรียกว่า “ชั้นหินทบตัว” จากแผ่นเปลือกโลกแอฟริกันเคลื่อนที่เข้าหากันกับแผ่นเปลือกโลกยุโรปและซ้อนทับกัน

สองนักวิจัย มาร์ติน แซนเดอร์ และ มิชาเอล เฮาท์มานน์ มองชั้นหินที่พบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ / Jelle Heijne/University of Bonn/Handout via REUTERS

ซากฟอสซิลที่พบไม่สมบูรณ์จึงระบุชนิดเจาะจงไม่ได้ แต่คาดว่าอาจจะอยู่ในวงศ์อิกไทโอซอรัสที่มีชื่อว่า Shastasauridae วงศ์นี้รวมถึง Shastasaurus ซึ่งเป็นอิกไทโอซอรัสที่ใหญ่ที่สุดเนื่องจากพบตัวอย่างในแคนาดา มีความสูงถึง 21 เมตรโดยนักวิชาการบางส่วนประเมินความยาวของอิกไทโอซอรัสโดยคำนวณจากความยาวของชิ้นส่วนฟอสซิล

จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครรู้จักอิกไทโอซอรัสมากนักซึ่งอยู่บนโลก ใกล้สิ้นสุดยุคไทรแอสซิก สัตว์เลื้อยคลานยักษ์หายไปในเหตุการณ์สูญสิ้นครั้งใหญ่ ซึ่งจบยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณ 201 ล้านปีก่อน หลังจากนั้น ก็ไม่มีสิ่งมีชีวิตในทะเลตัวใหญ่เท่านี้อีกแล้ว จนกระทั่งพบวาฬบาลีน เมื่อ 3 ล้านปีก่อน เป็นอิกไทโอซอร์ขนาดเล็กกว่ามีชีวิตอยู่จนถึงประมาณ 90 ล้านปีก่อน

ภาพจำลองอิกไทโอซอรัส ตัวยักษ์กินฝูงหมึก / Marcello Perillo/University of Bonn/Handout via REUTERS

แซนเดอร์กล่าวว่ามีสัตว์ขนาดมหึมา 3 กลุ่มที่เคยอาศัยอยู่บนโลก ได้แก่ อิกไทโอซอแห่งยุคไทรแอสซิก ตามด้วยไดโนเสาร์ซอโรพอดคอยาวอยู่บนบก ส่วนวาฬบาลีนยังอยู่จนถึงปัจจุบัน

ส่วนวาฬสีน้ำเงินในปัจจุบัน ซึ่งมีความยาวสูงสุด 30 เมตร ถือเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งแซนเดอร์กล่าวว่าการทำวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับอิกไทโอซอรัสอาจทำให้ได้ข้อสรุปต่อไป