ไม่เสียทีเกาะติด ดาวเคราะห์น้อยริวงู ญี่ปุ่นพบกรดอะมิโน ต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิต

ตัวอย่างที่เก็บมาจากดาวเคราะห์น้อยริงู

ผลวิเคราะห์เศษทรายและฝุ่นที่ญี่ปุ่นเก็บจาก ดาวเคราะห์น้อยริวงู ออกมาแล้ว พบกรดอะมิโนถึง 20 ชนิด เป็นหลักฐานสำคัญที่ศึกษาต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิต

วันที่ 7 มิถุนายน 2565 สำนักข่าว เอ็นเอชเค รายงานว่า ทีมศึกษา ดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu asteroid) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากกว่า 300 ล้านกิโลเมตร ตรวจพบกรดอะมิโนมากกว่า 20 ชนิด ในตัวอย่างที่เก็บมาจากพื้นผิวดาว

 

กระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น แถลงว่า การค้นพบนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเข้าใจถึงต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตมากขึ้น เนื่องจากกรดอะมิโนเป็นสารประกอบส่วนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตั้งแต่จุลินทรีย์จนถึงมนุษย์

Advertisment

ญี่ปุ่นส่งยานสำรวจ “ฮายาบุสะ 2 ของญี่ปุ่น  (Hayabusa2) น้ำหนัก 600 กิโลกรัม จากศูนย์อวกาศทาเนกาชิมะทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2014 (พ.ศ. 2557) ติดตามดาวเคราะห์น้อย ริวงู โดยเดินทางไกลมากกว่า 3,200 ล้านกิโลเมตร

ยาน Hayabusa2

ระหว่างนั้น ยานลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยริวงูหลายครั้งเพื่อเก็บตัวอย่างหิน และสำรวจสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับวิวัฒนาการของระบบสุริยะและต้นกำเนิดชีวิต

ยานเก็บตัวอย่างเศษทรายและฝุ่นจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวงู มากกว่า 5.4 กรัม ใส่แคปซูล และส่งกลับโลก มาถึงเมื่อเดือนธันวาคม 2020 (พ.ศ. 2564) ตามภารกิจระยะ 6 ปี ของยานสำรวจฮายาบุสะ 2

จากนั้นคณะศึกษา 8 ทีม รวมถึงคณะของสำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ร่วมกันวิเคราะห์สารประกอบจนพบว่า มีกรดอะมิโน ที่เชื่อว่า เป็นสารก่อตัวของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่โลกเริ่มสร้างตัวขึ้น

Advertisment
เศษหินดินทรายและฝุ่นจากดาวเคราะห์น้อยริวงู

ทฤษฎีหนึ่งระบุว่า สารประกอบนี้หายไปช่วงที่โลกเริ่มร้อนจัด แต่กลับมาปรากฏใหม่เมื่อได้รับจากดาวหางจากนอกอวกาศ

กระทรวงวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นแจ้งว่า คณะศึกษาทั้ง 8 ทีมเสร็จสิ้นการวิเคราะห์แล้ว รายละเอียดทางข้อมูลตัวเลขจะเผยแพร่เป็นเอกสารวิชาการและการเผยแพร่อื่น ๆ ต่อไป