
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยมลพิษทางอากาศคร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกกว่า 7 ล้านคนต่อปี
ระบุทวีปเอเชียเเละเเอฟริกา มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก
องค์การอนามัยโลก รายงานผลการประเมินเรื่องคุณภาพอากาศ โดยอาศัยข้อมูลดาวเทียมและการสร้างแบบจำลองจากฐานข้อมูลของเมืองต่างๆ กว่า 4,300 แห่งทั่วโลก พบว่า ประชากรโลก 9 ใน 10 คน สูดอากาศที่มีมลพิษเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเสี่ยงต่อการโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด
- เปิดประวัติ “ปลื้ม สุรบถ หลีกภัย” อดีตยูทูบเบอร์ ลูกชายคนเดียวของ “ชวน”
- “ปลื้ม” ตอบแล้ว ปมถูกฟ้องทำสูญเงิน 15 ล้าน ปัดตอบกระทบ “ชวน”
- ไทยพาณิชย์ แจ้งปิดปรับปรุงระบบ “SCB EASY App” ชั่วคราว 10 มิ.ย.นี้
โดย 1 ใน 4 ของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งปอด อาจมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน ทั้งในเอเชียและแอฟริกา
โดยเมืองสำคัญที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดอยู่ใน อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งบางพื้นที่มีระดับพิษในอากาศสูงกว่าเกณฑ์สูงสุดของ WHO ถึง 5 เท่า และส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนยากจนและกลุ่มคนที่มีสุขภาพอ่อนเเอ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมากถึง 7 ล้านคนต่อปี
นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ไม่เพียงแต่อากาศกลางแจ้งในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษเท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน ยังมีประชาชนที่ต้องสูดควันพิษจนส่งผลเสียถึงชีวิตจากเตาทำอาหารในครัวเรือนและควันไฟ โดยในประเทศยากจนยังคงใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงในการให้ความร้อนสำหรับปรุงอาหาร แทนการใช้แก๊ส หรือไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดกว่า ซึ่งเด็กและผู้หญิงคือกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดจากมลภาวะทางอากาศในครัวเรือน ทั้งนี้ มลพิษทางอากาศในครัวเรือนส่งผลให้ผู้เสียชีวิตราว 3.8 ล้านคนในปี 2559