“มาเลเซีย” ยืนยันพร้อมให้ที่พักพิง “โรฮีนจา” หนีความรุนแรงยะไข่ ล่าสุดดับแล้วกว่า1,000คน

In this photograph taken on September 7, 2017, a smoldering house that was consumed by fire is seen in Gawdu Tharya village near Maungdaw in Rakhine state in northern Myanmar. The wooden structure on fire was seen by journalists during a Myanmar government sponsored trip for media to the region. In the last two weeks alone 164,000 mostly Rohingya civilians have fled to Bangladesh, overwhelming refugee camps that were already bursting at the seams and scores more have died trying to flee the fighting in Myanmar's Rakhine state, where witnesses say entire villages have been burned since Rohingya militants launched a series of coordinated attacks on August 25, prompting a military-led crackdown. / AFP PHOTO / STR

ซุลคิฟลี อาบู บัคการ์ ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งมาเลเซีย เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาว่า มาเลเซียพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและให้ที่พักพิงชั่วคราวกับชาวโรฮีนจาที่อพยพออกนอกประเทศมาทางเรือ ซึ่งผู้อพยพกลุ่มนี้คาดว่าจะมีเพิ่มมากขึ้นหลังความรุนแรงในพม่าปะทุขึ้นครั้งล่าสุด เหตุการณ์ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 1,000 คน

การเปิดเผยดังกล่าวมีขึ้นหลังก่อนหน้านี้ 1 วันนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่ายืนยันว่ารัฐบาลพม่าพยายามอย่างที่สุดที่จะปกป้องประชาชนทุกคนในรัฐยะไข่ โดยไม่ได้ระบุถึงชาวโรฮีนจาอย่างชัดเจน

“เราต้องดูแลประชาชนของเรา เราต้องดูแลทุกๆ คนที่อยู่ในประเทศของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นพลเมืองพม่าหรือไม่” ซูจี ระบุกับสำนักข่าวเอเชี่ยนนิวส์อินเตอร์เนชั่นแนล การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา นางซูจีอ้างว่ากลุ่มก่อการร้ายว่าเป็นสาเหตุของข้อมูลผิดๆ จำนวนมากเกี่ยวกับรัฐยะไข่ ขณะที่นางซูจีเอง ถูกกดดันจากหลายประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมให้ออกมาปกป้องชาวโรฮีนจา ขณะที่นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการล้างเผ่าพันธุ์ในพม่าขึ้นซึ่งจะกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค

ทั้งนี้หลังกองทัพพม่าบุกเข้าโจมตีกลุ่มที่รัฐบาลอ้างว่าเป็นกลุ่มกบฏโรฮีนจาในรัฐยะไข่ล่าสุดจำนวนชาวโรฮีนจาที่ข้ามชายแดนไปยังบังคลาเทศเพิ่มขึ้นเป็น 164,000 รายแล้ว ขณะที่มาเลเซียเป็นที่พักพิงของผู้อพยพชาวโรฮีนจาแล้วกว่า 100,000 ราย

 

ที่มา : มติชนออนไลน์