ไปรษณีย์ไทย จับมือ ม.ศิลปากร บุก SMEs ชุมชน พลิกโฉมใหม่ เพิ่มช่องทาง-มูลค่าสินค้าแก่ชุมชน

ไปรษณีย์ไทย ร่วมมือ ม. ศิลปากร คณะมัณฑนศิลป์ พัฒนาศักยภาพสินค้าในชุมชนให้มี เพื่อเพิ่มรายได้และมูลค่าให้แก่ชุมชน โดยให้นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ลงพื้นที่วิเคราะห์ความต้องการของชุมชุนแต่ละพื้นที่ ฟังความคิดเห็นจากชุมชน แล้วนำมาพัฒนาสินค้าในชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เริ่มนำร่องแล้ว 6 พื้นที่ชุมชน และมีแผนขยายไปอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ พร้อมลงนามความร่วมมือ

นายมานพ ศรวิบูลย์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ไปรษณีย์ไทยมีนโยบายการทำงานเพื่อชุมชน ใน 14 เขตพื้นที่ทั่วประเทศ ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น หาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในแต่ละชุมชน สอบถามชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือจากไปรษณีย์ไทย ซึ่งไปรษณีย์ไทย ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะมัณฑศิลป์ ลงพื้นที่ชุมชนวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนแต่ละพื้นที่ แล้วนำมาพัฒนาส่งเสริมและยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แข่งขันในเศรษฐกิจได้ โดยใช้ความรู้ความสามารถจากนักศึกษา ในการออกแบบ รูปลักษณ์สินค้า บรรจุภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ ตกแต่งภูมิทัศน์และออกแบบภายใน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากชุมชนที่เห็นด้วยถึง 80% และชุมชนสามารถสร้างรายได้รวมจากเดิมขึ้นถึง 50% อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ทางเว็บไซต์ไปรษณีย์ไทย และมีบริการจัดส่งให้กับชุมชน

โดยโครงการได้เริ่มนำร่องใน 6 พื้นที่ชุมชนทั่วประเทศ ได้แก่
1. กลุ่มชุมชนวิสาหกิจชุมชนชารางแดง เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้รับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชารางแดง ภายใต้แบรนด์ “ชารากุล”
2. ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นการสร้างแบรนด์และตราสินค้า “ภูมิสิริ”
3. กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา สร้างสรรค์รูปแบบเครื่องปั้นดินเผาให้มีความทันสมัย
4. กลุ่มจักสานกระจูดศุภนิมิต อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ตกแต่งภูมิทัศน์รอบๆและออกแบบภายใน
5. กลุ่มไข่เค็ม อสม. อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างแบรนด์และตราสินค้า
6. กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอ จังหวัดสงขลาเป็นการออกแบบและพัมนาเครื่องแต่งการที่ทันสมัยจากผ้าทอ ให้สวมไส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย
ทั้งนี้ไปรษณีไทยมีแผนต่อยอด ไปยังพื้นที่ชุมชนอื่นๆ พิจารณาความพร้อมของชุมชน

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ รู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้นำนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ เข้าไปทำงานจริงในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้โจทย์ปัญหาจากชุมชนเป็นการเรียนรู้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ปัญหาและเสนอผลงานให้แก่ชุมชน มาร่วมพัฒนาสินค้า ศูนย์การเรียนรู้ ให้มีความทันสมัย สะดวกสบาย สร้างมูลค่าของสินค่าเพิ่มขึ้น และสร้างแบรนด์ให้เป็นอัตลักษณ์ให้กับชุมชน ซึ่งใน 6 โครงการนี้ใช้นักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญชั้นปีที่ 4 ลงพื้นที่ประมาณ 100 คน ร่วมระดมในการทำงานเพื่อชุมชนท้องถิ่นให้ยั่งยืนต่อไป

ต่อมา นายมานพ ศรวิบูลย์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันชัย สุทธะนันท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของการดำเนินงาน