เปิดค่าแรงต่างด้าวในไทย ขั้นต่ำ 25,000-50,000 บาทต่อเดือน

ทำงาน
Photo: Airam Dato On/unsplash

หลาย ๆ บริษัทในประเทศไทยจ้างแรงงานต่างด้าวระดับฝีมือหรือชำนาญการ เหตุผลหลัก ๆ คือ การขาดแคลนแรงงานไทยที่มีทักษะจำเป็น หรืองแรงงานต่างชาติย้ายมารับตำแหน่งงานของบริษัทในเครือที่อยู่ในประเทศไทย

หลักเกณฑ์ที่ประเทศไทยพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้คนต่างด้าว มีดังนี้

  • ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจและสังคม
  • โอกาสในการประกอบอาชีพของคนไทย และความต้องการแรงงานต่างด้าวที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ (ตัวอย่างเช่น คนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน)
  • ประโยชน์จากการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในตำแหน่งงานนั้น เช่น การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนหรือใช้จ่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก การจ้างงานคนไทยจำนวนมาก หรือการพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน

อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องรักษาอัตราส่วนพนักงานคนไทย 4 คนต่อต่างชาติ 1 คน และคนต่างด้าวต้องไม่ทำงานตามพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 จำนวน 39 อาชีพ (เรียกดูข้อมูล)

เงินเดือนขั้นต่ำแรงงานต่างด้าวระดับฝีมือ

บริษัทในไทยที่ต้องการจ้างแรงงานต่างชาติระดับฝีมือหรือชำนาญการ สิ่งที่ผู้จ้างต้องรู้คือเงินเดือนขั้นต่ำที่สอดคล้องกับกฎการเข้าประเทศของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดังนี้

  • ประเทศในทวีปยุโรป (ยกเว้นรัสเซีย), ออสเตรเลีย, แคนาดา, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เงินเดือนขั้นต่ 50,000 บาท/เดือน
  • ประเทศเกาหลีใต้, สิงคโปร์, ไต้หวัน และฮ่องกง เงินเดือนขั้นต่ 45,000 บาท/เดือน
  • ประเทศในทวีปเอเซีย (ยกเว้นญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สิงคโปร์,ไต้หวัน, ฮ่องกง, กัมพูชา, พม่า, ลาว และเวียดนาม) เงินเดือนขั้นต่ำ 35,000 บาท/เดือน
  • ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เงินเดือนขั้นต่ำ 35,000 บาท/เดือน
  • ประเทศในทวีปยุโรปตะวันออก เงินเดือนขั้นต่ำ 35,000 บาท/เดือน
  • ประเทศในทวีปอเมริกากลาง เงินเดือนขั้นต่ำ 35,000 บาท/เดือน
  • ประเทศในทวีปแอฟริกา (ยกเว้นประเทศแอฟริกาใต้ 35,000 บาท/เดือน)
  • ประเทศกัมพูชา, พม่า, ลาว และเวียดนาม เงินเดือนขั้นต่ำ 25,000 บาท/เดือน

ใบอนุญาตทำงาน

อายุของใบอนุญาตทำงาน พิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอ ทั้งนี้ไม่เกิน 2 ปี/ครั้ง

Advertisment

คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต้องมีวีซ่า NON – IMMIGRANT – B โดยคนต่างด้าวต้องให้นายจ้าง/สถานประกอบการจัดเตรียมและส่งสัญญาจ้างพร้อมเอกสารการดำเนินงานธุรกิจของสถานประกอบการนำไปยื่นต่อสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ พิจารณาออกวีซ่า NON – IMMIGRANT – B โดยเมื่อคนต่างด้าวได้รับวีซ่านั้นแล้ว จึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1

หากสถานทูตไทยในประเทศนั้นพิจารณาเอกสารการดำเนินธุรกิจและสถานะทางการเงินของนายจ้าง/สถานประกอบการแล้วเห็นว่ายังไม่เพียงพอต่อการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน ทำให้ต้องการหนังสือจากกระทรวงแรงงานต่อไปอีก

จึงให้นายจ้าง/สถานประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามแบบคำขอ “ตท.3” เมื่อนายจ้าง/สถานประกอบการได้รับหนังสือแจ้งการพิจารณาอนุญาตทำงานแล้ว ต้องจัดส่งหนังสือดังกล่าวพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คนต่างด้าวนำไปยื่นขอวีซ่า NON – IMMIGRANT – B ณ สถานทูตไทยในประเทศนั้น

หลังจากนั้นคนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรภายใน 30 วันนับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาต เพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานพร้อมเอกสารตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งผล ทั้งนี้ กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบคำขอ “ตท.1” โดยไม่ต้องดำเนินการขอวีซ่า NON – IMMIGRANT – B

Advertisment