Knowledge Book Fair 2024 เต็มอิ่มความรู้คู่ความสนุก ที่มิวเซียมสยาม 16-18 ก.พ.นี้

บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม
บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม

เตรียมตัวให้พร้อม “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” กลับมาแล้ว พบกับความรู้ ความสนุกมากมาย ฟังทอล์ก วอล์กทัวร์ เวิร์กช็อป ชมคอลเล็กชั่นพิเศษ ฟังเพลง และอาหารอร่อยตามรอยเส้นทางเศรษฐี ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.00-21.00 ที่มิวเซียมสยาม เช็กตารางกิจกรรมทั้งหมดที่นี่

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 กลับมาอีกครั้งสำหรับงาน “Knowledge Book Fair 2024 เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม” เทศกาลหนังสือเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สนุกที่สุด และเต็มอิ่มที่สุด โดย “สำนักพิมพ์มติชน” และพันธมิตรชั้นนำ ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.00-21.00 ณ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม

เทศกาลอ่านเต็มอิ่มปีนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสำนักพิมพ์มติชน, เส้นทางเศรษฐี, ศูนย์ข้อมูลมติชน (MIC), สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) : OKMD, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม), ภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์, สมาคมป้ายยาหนังสือ, TK Park อุทยานการเรียนรู้, มูลนิธิ จอมพล ป. และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม,

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง และการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC a member of NSTDA)

ร่วมกันสร้างสรรค์ความสนุกคู่ความรู้ ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของ “ความรู้” ที่สอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน และสิ่งรอบตัว การเรียนรู้จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทั้งยังแตกแขนงไปได้หลากหลายสาระ ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม สารคดี วรรณกรรม สุขภาพ และแรงบันดาลใจ ที่สำคัญคือความรู้ไม่ใช่เรื่องเคร่งเครียดเสมอไป Knowledge Book Fair 2024 จึงเป็นเทศกาลหนังสือเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด สนุกที่สุด และเต็มอิ่มที่สุด

บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม
บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม

ภายในงานได้รวมกลุ่มสำนักพิมพ์และหน่วยงานส่งเสริมด้านการเรียนรู้มากมายพร้อมกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น “Book Fair-Book Talk-Book Walk-Workshop-Special Exhibition-Food-Music”

สนุกกับความรู้หลากสีสันและความบันเทิง เพิ่มเติมความครบรสด้วยบรรดาร้านอาหารรสเด็ด ทั้งคาว หวาน และเครื่องดื่มมากมายให้อิ่มอร่อยตลอดทั้งงาน นอกจากนี้ ยังสามารถนั่งชิล ๆ ดื่มด่ำบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมดนตรีเพราะ ๆ เรียกได้ว่าครบรสเฟสติวัล จะมาเดี่ยว มาเป็นคู่ หรือมาเป็นทีมก็ร่วมสนุกได้

โดยสำนักพิมพ์มติชนมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างพื้นที่ซึ่งทำให้ทุกวัยได้มาสนุกกับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ เยาวชน คนรุ่นใหม่ วัยทำงาน ที่สำคัญคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในสังคม เพื่อต่อยอดและกระตุ้นการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

ในโลกปัจจุบัน หนังสือถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญสำหรับทุกคน และในฐานะของคนทำหนังสือ สำนักพิมพ์มติชนเชื่อว่าหนังสือคือเครื่องมือสื่อกลางในการเรียนรู้ที่ดีที่สุด นอกจากนี้สถานการณ์โลกปัจจุบัน ปัญญาคือแสงสว่างที่จะส่องนำทางในทุกสถานการณ์

บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม
บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม

สัมนักพิมพ์มติชนจึงขออาสาจัดกิจกรรมที่นำเอาความรู้และความสนุกมาปะทะสังสรรค์กัน เกิดเป็นงานบุ๊กแฟร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีในเดือนกุมภาพันธ์นี้

เตรียมพบกับกองทัพความรู้ทั้งด้านประวัติศาสตร์ในมุมมองที่ไม่เคยรู้ โบราณคดีที่ไม่เคยสัมผัส ศิลปวัฒนธรรมใกล้ตัว วรรณกรรมคลาสสิกที่ไม่เคยตาย สมทบด้วยเรื่องราวความรักในหลากมุม จากบรรดสนักเขียน นักแปล นักวิชาการ นักเล่าเรื่อง นักถ่ายภาพ และนักกิจกรรมทั้งหมด 43 คน ดังนี้

ปรามินทร์ เครือทอง, วรกานต์ วงษ์สุวรรณ, เมริษา ยอดมณฑป, ชลจร จันทรนาวี, ธนาพร ตั้งเจริญมั่นคง, สุจิตต์ วงษ์เทศ, เอกภัทร์ เชิดธรรมธร, สิรวิชญ์ บุญประสิทธิการ, เกรียงไกร เกิดศิริ, สมชาย แซ่จิว, อรดี อินทร์คง, พรรณิการ์ วานิช, ศรัญญู เทพสงเคราะห์, สุภัตรา ภูมิประภาส, สมฤทธิ์ ลือชัย, ชาตรี ประกิตนนทการ, พิชัย แก้ววิชิต, กฤษดา วิทยาขจรเดช, นักรบ มูลมานัส, ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, ประดาป พิบูลสงคราม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประเสริฐ ศิริ, ณัฐพล ใจจริง, อัครพงศ์ ค่ำคูณ, ประชา สุวีรานนท์, อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล, วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, ตวงพลอย จิวาลักษณางกูร, ศักดิ์ชัย สายสิงห์, วรงค์ หลูไพบูลย์, ปติสร เพ็ญสุต, สารสิน วีระผล, กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์, สมคิด พุทธศรี, วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, ทรงกลด ณ บางยี่ขัน, ดุจดาว วัฒนปกรณ์, หทัยรัตน์ พหลทัพ, ฐปณีย์ เอียดศรีไชย, นริศ จรัสจรรยาวงศ์, มิ่ง ปัญหา, ปูเป้ (เพจสมาคมป้ายยาหนังสือ)

Knowledge Book Fair 2024

โซนกิจกรรมครบรส

  • Book Fair งานหนังสือที่เต็มไปด้วยความรู้ ความสนุก พบ 16 สำนักพิมพ์ที่มารวมตัวกันจัดใหญ่เพื่อเอาใจนักอ่าน
  • ฟังทอล์ก พูดคุยสารพัดประเด็นที่อัดแน่นความรู้และความสนุกสุดเข้มข้นจากนักเขียน นักวิชาการ และนักแปล
  • วอล์กทัวร์ เพราะความรู้ไม่ได้มีเพียงอยู่ในตัวอักษรและห้องสี่เหลี่ยมเพียงเท่านั้น เตรียมตัวขยับร่างออกท่องไปตามมิวเซียมสยามและพื้นที่ใกล้เคียงพร้อมกับผู้บรรยายที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ในพื้นที่นั้น ๆ
  • เวิร์กช็อป กิจกรรมฮาวทูพร้อมความรู้ประเทืองปัญญาที่เป็นพื้นที่ให้แสดงออกและลงมือทำ เพื่อสรรค์สร้างความรู้ความสนุกด้วยมือของตัวเอง
  • Special Exhibition ชมคอลเล็กชั่นสุดพิเศษจากนิทรรศการที่รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญและหาชมได้ยาก พร้อมให้นักอ่านทุกท่านรับชมตลอด 3 วัน
  • Music: Roberto Uno เพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงจากวงดนตรี Roberto Uno ดื่มด่ำกับบรรยากาศดี ๆ และผ่อนคลายจากการเสพความรู้ภายในงาน
  • Food : อร่อยตามรอย Sentangsedtee รวบรวมร้านค้าเจ้าดังมาออกบูท เป็นเฟสติวัลที่มาพร้อม “ความรู้คู่ความอร่อย” สร้างบรรยากาศสีสันให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่ออีกกต่อไป

สำนักพิมพ์ชั้นนำเข้าร่วม

  1. สำนักพิมพ์มติชน
  2. สำนักพิมพ์สารคดี-เมืองโบราณ
  3. มูลนิธิโครงการตำราฯ
  4. สำนักพิมพ์เคล็ดไทย
  5. สำนักพิมพ์ต้นฉบับ
  6. สำนักพิมพ์ River Books
  7. สำนักพิมพ์บทจร
  8. สำนักพิมพ์ยิปซี
  9. สำนักพิมพ์แซลมอน
  10. สำนักพิมพ์อะโวคาโด้
  11. สำนักพิมพ์แสงดาว
  12. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-SAC
  13. สำนักพิมพ์สมมติ
  14. สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
  15. ร้านสุวิมล
  16. ร้านสุชิต
บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม
บรรยากาศงาน Knowledge Book Fair เทศกาลอ่านเต็มอิ่ม เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มิวเซียมสยาม

4 เล่มไฮไลต์สำนักพิมพ์มติชน

“The Lost Forest : ประวัติศาสตร์ (การทำลาย) สิ่งแวดล้อมไทยและสงครามแย่งชิงทรัพยากร” ผู้เขียน “วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์”

สำหรับเล่มแรก ต้นฉบับนี้เล่าถึงประวัติศาสตร์ของการทำลายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในแง่มุมที่ผู้เขียนสนใจ โดยผสมผสานระหว่างการเล่าเรื่องแบบสารคดีที่ผู้เขียนเคยลงไปสัมผัสปัญหาในพื้นที่มากับข้อมูลจากงานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งบทสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญและคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นใหญ่ เริ่มจากการทำลายธรรมชาติที่เกิดขึ้นมายาวนานนับแต่อดีต การแย่งชิงทรัพยากร ปัญหาจากการเติบโตของระบบอุตสาหกรรม มาจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ที่เป็นความท้าทายสำคัญที่มนุษย์ต้องรับมือในอนาคต

ข้อเสนอมีอยู่ว่า ความเจริญทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และเกิดการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ทั่วถึง ผู้มีอำนาจหรือผู้ที่ได้เปรียบจะมีโอกาสตักตวงและเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าคนตัวเล็กตัวน้อยอย่างไม่เป็นธรรม นำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำของผู้คนที่นับวันยิ่งีช่องว่างมากขึ้น

“ศรีเทพ สถาปัตย์-ปฏิมาเมืองมรดกโลก” ผู้เขียน “ศิวพงศ์ สีเสียดงาม”  

เมืองศรีเทพ โบราณสถานที่อยู่นอกความสนใจของประวัติศาสตร์ไทย ไม่ถูกจัดอยู่ในพัฒนาการอันยาวนานต่อเนื่องของ “ชนชาติไทย” และเป็นเรื่องโบราณที่ไม่อยู่ในความสนใจของคนไทยทั่วไป จนกระทั่งการได้รับสถานะ “มรดกโลก”

เมืองศรีเทพเป็นเมืองโบราณ เก่าแก่ระดับที่หายไปจากความทรงจำของผู้คนในสมัยหลังจากนั้นไม่นาน แม้แต่ชื่อยังเป็นชื่อที่ถูกตั้งในสมัยหลังตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ

เนื่องด้วยหลักฐานส่วนใหญ่ของศรีเทพอยู่ในรูปของประติมากรรมและสถาปัตยกรรม การทำความเข้าใจเมืองศรีเทพจึงต้องอาศัยการศึกษาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อค้นหาความเป็นมาของศรีเทพที่ซ่อนอยู่ในงานศิลปกรรมเหล่านี้

หลักฐานด้านประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในเมืองศรีเทพ พบทั้งสร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์หลายนิกายและพุทธศาสนา ทำให้เห็นพลวัตของศรีเทพที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดสมัย ทั้งการรับวัฒนธรรมจากทวารวดี หรือกลุ่มบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมไปถึงจากวัฒนธรรมโบราณในกัมพูชา ซึ่งส่งผลต่ออุดมการณ์และความเชื่อในการปกครองของเมืองศรีเทพในอดีต รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คนด้วย

อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของศิลปกรรมในเมืองศรีเทพไม่ใช่เพียงแค่ได้เห็นความสัมพันธ์ของเมืองศรีเทพกับบ้านเมืองโบราณอื่น ๆ แต่คือความรุ่งเรืองในฐานะเมืองใหญ่และมีสังคมที่ซับซ้อน เพราะทั้งประติมากรรมและสถาปัตยกรรมที่ค้นพบล้วนพบรูปแบบเฉพาะที่พัฒนาขึ้นเองในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการและเทคโนโลยีของเมืองศรีเทพ ที่สามารถสร้างรูปแบบศิลปกรรมของตัวเองได้ด้วย

“Self Love, First กอดใจไว้ก่อน” ผู้เขียน “เมริษา ยอดมณฑป”

เมริษา ยอดมณฑป หรือ ครูเม จากเพจ “ตามใจนักจิตวิทยา” ขอเป็นเพื่อนร่วมทางพาทุกคนกลับมาสำรวจหัวใจ รู้จักตัวตน ตามหาความรัก อ้อมกอด และพื้นที่ปลอดภัยที่อาจจะเผลอทำหล่นหายไประหว่างเส้นทางการเติบโต

ความรักไม่ได้อยู่ในโลกรอบตัวเพียงเท่านั้น ลึกลงไปในมุมเล็ก ๆ ของหัวใจ ความรักที่ใกล้ตัวที่สุดและสำคัญไม่แพ้ความรักจากใคร ๆ คือความรักที่เกิดขึ้นภายในตัวเราเอง

“ก่อนจะมอบความรักให้ใคร อย่าลืมมอบความรักให้ตัวเราเอง”

“อโยธยา ก่อนสุโขทัย ต้นกำเนิดอยุธยา” ผู้เขียน “รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล” คำนำเสนอโดย “สุจิตต์ วงษ์เทศ”

ปัญหาของกรอบประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เพิ่งสร้าง กำหนดให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก เป็นเพดานความทรงจำครอบงำสังคมไทย ทำให้ข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีนอกแบบจากประวัติศาสตร์ชาติไทยกำลังถูกลบทำลาย

กรณีของรัฐในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างกรุงศรีอยุธยาซึ่งในพงศาวดารบันทึกไว้ว่ามีการสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 ก็เช่นเดียวกัน จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ชนชั้นนำสยามในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เชื่อกันว่า ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาภายหลังการหมดสิ้นอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นที่ตั้งของบ้านเมืองขนาดใหญ่อันมีนามว่า “อโยธยา”

ซึ่งเมืองอโยธยาเป็นการรวมกลุ่มของอำนาจของชาวสยามกับชาวขอมละโว้ ชาวสยามใช้ภาษาตระกูลไต – ไทเป็นภาษาราชา ภายหลังศาสนาพุทธแบบเถรวาทเข้ามา จึงเรียกตนเองและมีผู้อื่นเรียกว่า คนไทย และหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีชี้ชัดว่าเก่ากว่าสุโขทัย

Knowledge Book Fair 2024

ครบรส เต็มอิ่ม กับร้านดัง

ขึ้นชื่อว่าอ่านเต็มอิ่ม Knowledge Book Fair 2024 ได้รวบรวมร้านค้าอร่อยเจ้าดังที่มาออกบูทในโซน Food เป็นแรงเสริมกิจกรรมที่มาพร้อมกับความรู้คู่ความอร่อย สร้างบรรยากาศสีสันให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

ไม่ว่าจะเป็น กระเพราจิตสดชื่น, มิดไนท์โกโก้, สเต็ก จากร้าน God of Grill, ไต๋ไต๋ แกงกระหรี่ญี่ปุ่น, ไส้กรอกลุงจิม, ข้าวเหนียวมะม่วงเจ๊เตียง, พิซซ่าร้าน ETORY, กาแฟดริป, G.J. Lecker, Mexi Grill BBQ & Steck, อมยิ้มทาโก๊ะยากิ & บิงซู, ร้านเคบับเอ็กศเพรส, ร้านอากู๋หมี่คลุกโบราณ, ร้านมะพร้าวน้ำปั่น, เกี๊ยวทอดโง่ ๆ, ลื้อมันรัน, ไข่หวานบ้านซูชิ, ลูกชิ้นปิ้งน้ำจิ้มผีบอก, สเต็กพระนคร, Daddy brownies, Slow’s Coffee, อวาแกน เป็นต้น

ตารางกิจกรรม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง