พลังงาน ชง ครม. ตั้งบอร์ด กฟผ. ‘ประเสริฐ’ นั่งปธ.สรุปผล ‘ผู้ว่า’ ลุยต่อลงทุน 3 หมื่นล้าน

พลังงาน ชง ครม.ไฟเขียว ‘บอร์ด กฟผ.’ พร้อมตั้ง ‘ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ’ ประธานบอร์ด 13 ก.พ.2567 ลุยสรุปผล ‘ผู้ว่ากฟผ. ‘ก่อนเดินหน้า แผนลงทุน 3 หมื่นล้าน ปี 2567

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงพลังงาน กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 กระทรวงพลังงานจะมีการเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณารายชื่อคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (บอร์ด กฟผ.) พร้อมทั้งรายชื่อบุคคลที่จะรับตำแหน่ง ประธานบอร์ด แทนนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งจะเป็นไปตามข้อสรุปจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)

“อังคารหน้าที่ไม่มีปัญหาอะไรก็จะได้บอร์ดกฟผ. และประธานบอร์ดกฟผ. ด้วย โดยคนร.ส่งชื่อมา 10 คน แล้ว จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นคนเลือกประธานใน 10 คน อันนี้เป็นกติกาเหมือนกันทุกประการ ส่วนรัฐมนตรีจะมีกระบวนการเลือกอย่างไรก็แล้วแต่ ซึ่งเมื่อ ครม.เห็นชอบ การเป็น กรรมการในบอร์ดหรือเป็นประธานบอร์ดต้องลาออกจากการเป็นกรรมการฝนบอร์ดอื่น ”

รายงานข่าวระบุ ว่า บุคคลที่น่าจะได้รับการเลือกเป็น ประธานบอร์ด คือ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งล่าสุดไดเยื่นลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ปตท. แล้ว

สำหรับรายชื่อ บุคคลที่จะมาเป็น ยอร์ด กฟผ. นั้นเพิ่งจะได้ผลสรุปเมื่อสัปดาห์ก่อนซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและให้ต้นสังกัดให้ความเห็นชอบ ซึ่งองค์ประกอบมาจากหลายที่ต้องมีการเงิน การลงทุน กฎหมาย วิศวะ ส่วนใหญ่เป็นอิสระ เป็นต้น

Advertisment

ผู้ว่ากฟผ.มาแน่

แหล่งข่าว ระบุว่า ความคืบหน้าในการสรรหาผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ผู้ว่ากฟผ.) จะต้องดำเนินการต่อเป็นสเตปถัดไป หลังจากในสัปดาห์หน้า ที่ผลจากคนร.เข้าครม.แล้วเรียบร้อย

“ในส่วนของผู้ว่า กฟผ.จะยังคงเป็นนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ ผลการหารือ ซึ่งทางบอร์ดกฟผ.ชุดใหม่จะขอคุยกับนานเทพรัตน์ก่อน ถ้าได้คนเดิมก็จบเลย แต่ถ้าไม่ได้คนเดิมก็ยาว ”

สำหรับหลักการในการหารือ จะประกอบด้วย เรื่องทิศทางในการทำงานว่าจะไปทางเดียวกันหรือไม่ โดยเบื้องต้นมั่นใจว่านโยบายของกระทรวงไม่ได้มีประเด็นปัญหาอะไร ในเรื่องของการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (SO) ออกจาก กฟผ. เพื่อให้มาบริหารที่ดึงคนนอกเข้าร่วมเพื่อความเป็นกลาง รวมไปถึงสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า (internal PPA)

อย่างไรก็ตาม เรื่อง SO ในสมัยนานเทพรัตน์ ในระยะเวลาปีกว่า คิดว่าอาจจะแยกไม่เสร็จ แต่ว่าอย่างน้อยทำให้เกิดความโปร่งใส มีการเอาข้อมูลมาเปิดเผยสู่สาธารณะ

Advertisment

ส่วนประเด็นเรื่องคุณสมบัติผู้ได้รับการสรรหารอบแรกไม่มีปัญหา เพราะระยะเวลาเหลือไมาถึฝ 2 ปี ที่ว่าจะครบกำหนดอายุจะครบ 60 ปีนั้น ตามหลักการจะเริ่มนับกันตั้งแต่ วันที่เขาสมัคร ไม่ใช่วันนี้

สภาพคล่อง กฟผ.

ทั้งนี้ ภารกิจสำคัญของผู้ว่า กฟผ.บริหารจัดการแผนการลงทุนปี 2567 วงเงิน 30,000 ล้านบาท ส่วนสภาพคล่องขณะนี้ตัวเลขที่ออกมาอยู่ที่ประมาณ 60,000 ล้านบาท จากที่เคย รายงาน ครม.ก่อนหน้านี้ว่าเหลือ 90,000 ล้านบาท ไม่นับว่าเป็นปัญหา เพราะเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาทจะมีการลงทุนซึ่งจะทำให้สภาพคล่องหายไปบ้าง และโดยหลักปกติจะรักษากระแสเงินสดไว้ประมาณ 60,000 ล้านบาทเป็นปกติ

สำหรับ งบลงทุน 30,000 ล้านบาทนั้นจะใช้สำหรับ การลงทุนร่วมกับ ปตท. เรื่องการทำคลัง LNG หนองแฟบ จ.ระยอฝ ซึ่งตามมติครม.ก่อนหน้านี้ มีมติให้กฟผ.ร่วมบงทุนสัดสัดส่วน 50% ซึ่งจากนี้ กฟผ.ต้องไปจ่าย ปตท. ประมาณ 15,000 ล้านบาท เพราะที่ผ่านยังไม่ได้จ่าย เพราะติดหลายๆ เรื่องแต่หลังจากได้ตำแหน่งสำคัญการดำเนินงานจะรุดหน้าไปได้

ส่วนการลงทุนอีก 15,000 ล้านบาทจะใช้สำหรับโครงการลงทุนอื่นๆที่ขนาดรองๆ ลงไปอีก เช่น ระบบสายส่ง สร้างโรงไฟฟ้าทดแทน รวมถึงการลงทุนเพิ่มเรื่องโฟลตติ้งโซลาร์ที่ค้างอยู่ก็ต้องไปเร่งดำเนินการฝห้เป็นไปตามแผน

การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ยอดการใช้ไฟฟ้าปี 2566 โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้า 3 การไฟฟ้าถือว่า “สูง” กว่าก่อนโควิดแล้ว ปี 2566 ก็ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย 11 เดือน 1.8-1.9 แสน เฉลี่ย 2 แสนล้านหน่วย ซึ่งสูงกว่าที่ผ่านมา หรือเรียกกว่าเทียบเท่ากับก่อนโควิดทั้งปริมาณการใช้ และค่าไฟฟ้าพีค ซึ่งจะทำให้กฟผมีรายได้จากการขายไฟเข้ามาเสริมในส่วนของสภาพคล่องได้