SJWD ต่อจิ๊กซอว์อาเซียน ตั้งเป้า Market Cap โต 100,000 ล้านปี’70

SJWD วางกลยุทธ์ปี’67 ขยายและเชื่อมโครงข่ายโลจิสติกส์ทางบก น้ำ อากาศ ระดับภูมิภาค รุกเพิ่มศักยภาพธุรกิจ “คลังห้องเย็น-ออโตโมทีฟ” เตรียมถือหุ้น “เอสซีจี อินเตอร์ เวียดนาม”

วันที่ 13 มกราคม 2567 นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในปี 2566 ที่ผ่านมา รายได้เติบโตประมาณ 300.4% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ประมาณ 20,738 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนธุรกิจต่างประเทศเพียง 2,758.1 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.5% เท่านั้น

”ปี 2567 เราต่อจิ๊กซอว์ของเราได้ครบแล้วทั้ง 5 ประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย โดยเราตั้งใจจะสร้างอัตราการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอ (CAGR) ให้ได้ 12% จนถึงปี 2570 จากปัจจุบันที่มีรายได้รวม 23,979 ล้านบาท รวมถึงเป้าหมายระยะยาวที่จะเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) เป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2570

นายบรรณ เกษมทรัพย์
นายบรรณ เกษมทรัพย์

นอกจากนี้ยังเสริมความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 4,600 ล้านบาทในปี 2567 โดยมาจากการบริหารกิจการและเงินกู้

โอกาสอาเซียน

นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ กล่าวว่า เราตั้งเป้าที่จะขยายตลาดอาเซียนและจีนตอนใต้ให้มี Market Cap เทียบหรือใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอื่นนอกเหนือจากโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ห้องเย็น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจสุขภาพและบริการจัดเก็บและบริหารยานยนต์ ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยภาพรวมของตลาดอาเซียนในปี 2567  มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ซึ่งสะท้อนจากภาพรวมเศรษฐกิจทั้ง 5 ประเทศที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 4.5% ในปีนี้

นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา
นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา

“แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากเอลนีโญ หรือภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาสงครามที่ปะทุในหลายภูมิภาคทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันผันผวน รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ขณะที่หลายบริษัทผลกำไรลดลง 30-60% โดยเฉพาะในเวียดนาม จึงคาดว่าปีนี้ก็ยังเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในภูมิภาค“

3 กลยุทธ์ Freight Forwarder

นายชวนินทร์กล่าวว่า ในปีนี้เราจะเน้นย้ำ 3 กลยุทธ์หลักเพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายการขยายธุรกิจตัวแทนนำเข้าและส่งออกสินค้า และการเติบโตในอาเซียน ได้แก่

1.ขยายและเชื่อมโครงข่ายโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในระดับภูมิภาค (Regional Connectivity & Expansion)

2.เพิ่มความแข็งแกร่งและยกระดับธุรกิจ “คลังสินค้าห้องเย็น” และ “ออโตโมทีฟ” (Strengthen & Scale up Cold Chain & Automative)

3.สร้างโอกาสจากธุรกิจใหม่ (New Business Opportunities)

ปิด 3 ดีลต่อจิ๊กซอว์ให้สมบูรณ์

นายชวนินทร์เผยว่า กลยุทธ์แรกที่เราดำเนินการคือ “ Regional Connectivity & Expansion“ ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศเป็น 40% ในปี 2570 โดยนับจากปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน บริษัทได้ขยายการลงทุนในธุรกิจตัวแทนขนส่งสินค้าทางทะเล (Sea Freight) ตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight) และเข้าลงทุนในบริษัทให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนรายใหญ่ในมาเลเซีย

เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ ครอบคลุมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศในภูมิภาคอาเซียนและจีน ผ่าน 2 การลงทุนที่สำคัญ ได้แก่

ปีที่แล้ว เราเข้าถือหุ้น 4.2% ในบริษัท ไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SINO ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศครบวงจรรายใหญ่ โดย SINO มีปริมาณขนส่งสินค้าทุกเส้นทางรวม 46,985 ตู้ในปี 2566 และมีปริมาณขนส่งสินค้าทางทะเลเส้นทางไทย-สหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 ในไทย และอันดับ 6 ของโลก โดยปี 2562-2565 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 17.42%

นอกจากนี้เมื่อต้นปี 2567 เราได้เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเป็น 20.12% ในบริษัท เอเชีย เน็ตเวิร์ค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ ANI ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ 1 ใน 3 ของเอเชียในธุรกิจตัวแทนขายระวางสินค้าแก่สายการบินต่าง ๆ (General Sales Agent หรือ GSA) กว่า 20 สายการบิน ครอบคลุม 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา จีน และฮ่องกง

โดย ANI มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 20-25% ในปี 2566 และมีแผนขยายเครือข่ายให้บริการในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก ANI ประมาณ 185 ล้านบาทในปีนี้

อีกทั้งเรายังเข้าซื้อหุ้น 20.44% ในบริษัท Swift Haulage Berhad หรือ SWIFT (สวิฟต์) ผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ที่มีความเชี่ยวชาญการขนส่งทางรถ และเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถเทรลเลอร์ (รถหัวลาก) รายใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในเส้นทางไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ รวมถึงเชื่อมต่อไปยังอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งคาดว่าจะรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนใน SWIFT ประมาณ 55 ล้านบาทในปีนี้

“ซึ่งจากการลงทุนทั้งหมดนี้ คือการเชื่อมต่อโครงข่าย เพื่อการบริการลูกค้าครบวงจรแบบ End-to-End ในที่เดียวผ่านหน่วยงานของเรา ซึ่งจะแก้ปัญหา Pain Point ของลูกค้า โดยทั้ง 3 บริษัทดังกล่าว มีรายได้รวมกันในปีที่ผ่านมามากกว่า 10,000 ล้านบาท”

ซื้อหุ้น SCG Inter Vietnam เสริมรายได้โต 50%

นายบรรณเปิดเผยว่า เราเตรียมเข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท เอสซีจี อินเตอร์ เวียดนาม จำกัด หรือ SCG Inter Vietnam จากบริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ภายในไตรมาส 2 ปี 2567 อันเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเราในเวียดนาม

เนื่องจาก SCG Inter Vietnam เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แก่ Long Son Petrochemicals (LSP) อันเป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเวียดนามของบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 1 ของปีนี้ ภายใต้สัญญาโลจิสติกส์ 2+2 ปี

“นอกจากนี้เราเตรียมจะส่งออกปูนซีเมนต์จากเวียดนามไปมาเลเซีย บังกลาเทศ ออสเตรเลีย และสหรัฐ ซึ่งวันนี้เป็นการเตรียมความพร้อม โดยคาดว่าไตรมาส 2 ปีนี้จะส่งออกได้อย่างเต็มที่ รายได้จากประเทศเวียดนามอยู่ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท และคาดว่าอัตราการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอเพิ่มขึ้นอีก 40-50% หลังการเข้ามาของ LSP“

เล็งขยายห้องเย็น 5 ทำเล เสริมคลังสินค้า 34,000 ตัน

นายชวนินทร์กล่าวว่า ขณะที่กลยุทธ์ที่ 2 “Strengthen & Scale up Cold Chain & Automative” ใช้จุดแข็งด้านความสามารถการให้บริการคลังสินค้าห้องเย็นอย่างครบวงจรแบบ End-to-End และการให้บริการโลจิสติกส์แก่ผลิตภัณฑ์ยาครอบคลุมทั่วประเทศในการขยายตลาด เพื่อสร้างรายได้เติบโต 10% จากปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันมีคลังสินค้าห้องเย็นที่เปิดบริการแล้ว 6 ทำเล ได้แก่ สมุทรสาคร บางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 17, 19 และ 22 รวมถึงที่สุวินทวงศ์และสระบุรี สามารถรองรับสินค้าได้ 135,000 ตัน โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย 74%

ในอนาคตวางแผนขยายคลังสินค้าห้องเย็นอีก 5 ทำเล เพื่อรองรับสินค้าเพิ่มอีก 34,000 ตัน ได้แก่

  1. DC คลังสินค้าห้องเย็น ย่านรังสิต 2 หลัง รองรับสินค้าได้ 23,000 ตัน
  2. สาขาเชียงใหม่ จัดเก็บสินค้าได้ 1,500 ตัน
  3. สาขาขอนแก่น จัดเก็บสินค้าได้ 1,500 ตัน
  4. คลังห้องเย็นสระบุรีเฟส 2 จัดเก็บสินค้าได้ 8,000 ตัน

นอกจากนี้จะรวมเครือข่าย FUZE POST ที่ให้บริการจัดส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิแบบด่วน เพื่อตอบสนองดีมานด์ตลาด B2B2C

ยอดจดทะเบียนอีวีพุ่ง 6 หมื่นคันหนุน

ขณะที่ธุรกิจบริการจัดเก็บและบริหารยานยนต์ เราวางเป้าหมายรายได้เติบโต 10% ในปีนี้ สอดคล้องกับตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังได้รับความนิยมสะท้อนจากสถิติเดือนมกราคม 2566-มกราคม 2567 ที่มีสถิตินำเข้าและจดทะเบียนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยรวม 63,250 คัน

โดยปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์เชื้อเพลิงน้ำมันรายใหญ่ในไทย ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 30-35% มีพื้นที่ให้บริการรวมกว่า 870,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นการให้บริการในพื้นที่ของบริษัท 400,000 ตารางเมตร และให้บริการแบบออนไซต์ในพื้นที่ของลูกค้าอีกกว่า 472,000 ตารางเมตร

ซึ่งบริษัทจะนำความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้จากการให้บริการแบบ End-to-End Solution แก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่าย รวมทั้งชิ้นส่วนอะไหล่ นอกจากนี้ มีแผนนำโมเดลธุรกิจออโตโมทีฟรุกให้บริการในประเทศเวียดนาม

โฟกัส 3 ธุรกิจใหม่

นายชวนินทร์กล่าวว่า กลยุทธ์สุดท้ายคือ “New Business Opportunities” โดยเราจะโฟกัส 3 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้าแบบ Built-to-Suit ที่ก่อสร้างตามความต้องการของผู้เช่า ภายใต้บริษัท แอลฟา อินดัสเทรียล โซลูชั่น จำกัด ซึ่ง SJWD ร่วมทุนกับ บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ปัจจุบันมีโครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างพัฒนารวม 9 ทำเล คิดเป็นพื้นที่คลังสินค้าให้เช่ารวมกว่า 500,000 ตารางเมตร

โดยดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้วกว่า 120,130 ตารางเมตร หรือคิดเป็น 24% รวมถึงในปี 2567 มีแผนนำคลังสินค้าจัดตั้งกองรีท (REIT) ประมาณ 200,000 ตารางเมตร บริเวณบางนา แหลมฉบัง รังสิต และลำลูกกา มูลค่าประมาณ 3,500-3,800 ล้านบาท

อีกทั้งเราจะขยายธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์แก่อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และยาที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยเตรียมคลังสินค้าใน @SJWD ต่อจิ๊กซอว์อาเซียน ตั้งเป้า Market Cap โต 100,000 ล้านปี’70

SJWD วางกลยุทธ์ปี’67 ขยายและเชื่อมโครงข่ายโลจิสติกส์ทางบก น้ำ อากาศ ระดับภูมิภาครุกเพิ่มศักยภาพธุรกิจ “คลังห้องเย็น-ออโตโมทีฟ” เตรียมถือหุ้น “เอสซีจี อินเตอร์ เวียดนาม” วางเป้าหมาย Net Zero Carbon ปี 2593 ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

วันที่ 13 มกราคม 2567 นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SJWD ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในปี 2566 ที่ผ่านมา รายได้เติบโตประมาณ 300.4% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ประมาณ 20,738 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนธุรกิจต่างประเทศเพียง 2,758.1 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.5% เท่านั้น

”ปี 2567 เราต่อจิ๊กซอว์ของเราได้ครบแล้วทั้ง 5 ประเทศหลักในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย โดยเราตั้งใจจะสร้างอัตราการเติบโตของพอร์ตโฟลิโอ (CAGR) ให้ได้ 12% จนถึงปี 2570 จากปัจจุบันที่มีรายได้รวม 23,979 ล้านบาท รวมถึงเป้าหมายระยะยาวที่จะเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) เป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2570

นอกจากนี้ยังเสริมความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 4,600 ล้านบาทในปี 2567 โดยมาจากการบริหารกิจการและเงินกู้

โอกาสอาเซียน

นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ กล่าวว่า เราตั้งเป้าที่จะขยายตลาดอาเซียนและจีนตอนใต้ให้มี Market Cap เทียบหรือใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอื่นนอกเหนือจากโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้าห้องเย็น ธุรกิจอาหาร ธุรกิจสุขภาพและบริการจัดเก็บและบริหารยานยนต์ ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยภาพรวมของตลาดอาเซียนในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ซึ่งสะท้อนจากภาพรวมเศรษฐกิจทั้ง 5 ประเทศที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 4.5% ในปีนี้

“แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่ทั้งธุรกิจโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากเอลนีโญ หรือภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาสงครามที่ปะทุในหลายภูมิภาคทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันผันผวน รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตรา