“พลังงานไฮโดรเจน” ถูกกว่าน้ำมัน 60% ไทยเริ่มศึกษาแต่ เยอรมัน กำลังจะเลิกใช้

พลังงานไฮโดรเจน

ส่องพลังงานสะอาดถูกกว่าราคาน้ำมัน 40 – 60% เปิดข้อดีข้อเสีย เหตุใดประเทศเยอรมันกำลังจะเลิกใช้ในปั้ม ขณะที่ไทยเริ่มต้นศึกษา

วันที่ 14 เมษายน 2567 เป้าหมายใหญ่ของโลก คือการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการมุ่งสู่พลังงานสะอาด พลังงานที่กำลังจะเข้ามาแทนที่และกำลังมีบทบาทสำคัญคือ “พลังงานไฮโดรเจน” เนื่องจากมีค่าความร้อนต่อน้ำหนักสูงกว่าน้ำมันเบนซินถึง 3 เท่า ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฝุ่นละอองออกมา และยังเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด

ประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวใน โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ด้วยการร่วมกับบริษัท แอควา พาวเวอร์ จำกัด ประเทศซาอุดีอาระเบีย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งต้องยอมรับว่าต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง จึงได้เริ่มทดลองใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และกำลังจะตามมาด้วยการใช้ไฮโดรเจนร่วมกับเชื้อเพลิงหลักในโรงไฟฟ้า

ในปลายปี 2565 ปตท. โครงการนำร่องของไทยจึงเกิดความร่วมมือระหว่าง ปตท. OR บีไอจี โตโยต้า ทำการทดลองเปิดสถานีทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electrical Vehicle : FCEV) แห่งแรกที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

โดยนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไรของโตโยต้าจำนวน 2 คัน มาทดสอบการใช้งานในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี (U-Tapao Limousines) สำหรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารในพื้นที่พัทยา-ชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเก็บข้อมูลเชิงเทคนิค ที่ได้จากการใช้งานจริงเพื่อเป็นข้อมูลรองรับการขยายผลใช้งานในอนาคต จึงเริ่มศึกษาและทดสอบการใช้งานไฮโดรเจนในภาคขนส่ง (Fuel Cell Electrical Vehicle (FCEV) Demonstration Project) สำหรับรถบรรทุก ซึ่งจะนำมาด้วยการตั้งสถานีเติมกรีนไฮโดรเจน ใน EEC

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ยอมรับว่า ปัญหาการใช้ไฮโดรเจนอยู่ที่ต้นทุนที่สูง และยังมีรถยนต์ที่สามารถเติมไฮโดรเจนได้จำนวนน้อยมาก แต่ก็เชื่อว่าในอีก 5-10 ปี ไฮโดรเจนจะขึ้นแท่นเป็นพลังงานแห่งอนาคต และในที่สุดต้นทุนการผลิตถูกลง

นอกจากนี้ยังมี ปตท.สผ. ที่กำลังศึกษาและพัฒนาโครงการผลิตกรีนไฮโดรเจนขนาดใหญ่ในประเทศโอมาน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการสาธิตการจัดหาและใช้ประโยชน์พลังงานไฮโดรเจนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม Smart Park และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเ้ป็นต้น

“เยอรมนี” คือหนึ่งในประเทศที่วางเป้าหมายชัดเจนในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 80% ในปี 2573 โดยเริ่มลดบทบาทและปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงเกือบทั้งหมด จนเหลือเพียง 3 แห่งสุดท้ายในปัจจุบัน และยังมีแผนจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดในอนาคต และเริ่มนำพลังงานไฮโดรเจนมาใช้ในภาคขนส่งเชิงพาณิชย์

โดยมีการติดตั้งหัวจ่ายไฮโดรเจนภายในสถานีบริการน้ำมัน แต่ก็พบว่าไฮโดรเจนยังคงได้รับความนิยมน้อย เนื่องจากมีรถยนต์เพียง 2 ย่ห้อเท่านั้นที่สามารถเติมไฮโดรเจนได้ คือ โตโยต้าและฮุนได ขณะที่ราคาจำหน่ายไฮโดรเจนก็ยังมีราคาที่สูงเมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันทั่วไป แม้จะได้รับการอุดหนุนบางส่วนก็ตาม

จากการทดลองทำตลาดเพียงไม่กี่ปี มีโอกาสสูงที่สถานีบริการน้ำมัน จะยกเลิกหัวจ่ายไฮโดรเจน ซึ่งนั่นก็แปลว่าเยอรมันอาจกำลังศึกษาพลังงานในรูปแบบอื่นที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า และยกเลิกไฮโดรเจนในการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ยังไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะมีต้นทุนที่สูง จัดเก็บและขนส่งยาก มีคุณสมบัติติดไฟง่าย จึงต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องยนต์สูง

แต่หากนำข้อดีมาเปรียบกับข้อจำกัดแล้ว พลังงานไฮโดรเจน นั้นเป็นพลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษขณะใช้งาน ประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดกว่าน้ำมัน 40 – 60% มีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตจากน้ำเปล่าเป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม เอกชนยังคงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับไฮโดรเจนเกิดขึ้นในไทย