ถกความร่วมมือพลังงาน สหรัฐ-อาเซียน

สถานการณ์ด้านพลังงานโลกมีความผันผวน และอ่อนไหวมาก หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดเรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำในอ่าวโอมาน ประกอบกับความวิตกกังวลจากผลพวงสงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก ล่าสุด “นายฟรานซิส อาร์. แฟนนอน” ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายสำนักทรัพยากรพลังงาน ประจำกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อสานความสัมพันธ์ด้านพลังงานในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 34 “ประชาชาติธุรกิจ” และให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางสร้างความร่วมมือเพื่อความมั่นคงพลังงานในอาเซียนว่า

นโยบายพลังงานสหรัฐ-เอเชีย

ทางการสหรัฐเกี่ยวข้องกับด้านพลังงานมานานตั้งแต่ในปี 2543 โดยมุ่งเน้นไปที่การวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการยกระดับประเทศด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะหลัง พลังงานอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ในทางกลับกันก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากทุกประเทศนั้นต้องการความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันอินโด-แปซิฟิกมีความต้องการด้านพลังงานเพิ่มขึ้นกว่า 60% จากหลายปัจจัย ทั้งการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมถึงการปรับนโยบายของประเทศนั้น ๆ แต่ละประเทศจะมีการเติบโตทางด้านพลังงานที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาในภูมิภาค

แนวทางความรวมมือ

เมื่อปีที่แล้ว รองเลขาธิการกระทรวงพลังงานสหรัฐได้มีการประกาศแนวคิดยุทธศาสตร์ด้านพลังงานอินโด-แปซิฟิก 3 เสาหลัก นั่นคือ เศรษฐกิจดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และทางด้านพลังงาน นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เรียกว่า Asia EDGE-enhancing development and growth through energy

ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ 1.เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับกลุ่มสมาชิก 2.เพื่อสร้างตลาดพลังงานที่โปร่งใส 3.เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าพลังงานที่เสรี, ยุติธรรม และเพื่อเป็นประโยชน์ระหว่างกัน และ 4.เพื่อขยายการเข้าถึง four themes that guide our work in the Asia EDGE program นอกจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐเองแล้ว

ยังมีอีก 7 หน่วยงานของสหรัฐจะมาร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ให้ไปในทางเดียวกัน เพื่อสร้างความร่วมมืออินโด-แปซิฟิกภายใต้กรอบความร่วมมือไทยและอาเซียน และมีการผลักดันในกรอบทวิภาคี ซึ่งล่าสุดได้มีการหารือร่วมกับรัฐบาลไทยในการสนับสนุนด้านพลังงานร่วมกัน และเร็ว ๆ นี้จะมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ พร้อมกับเยี่ยมชมแหล่งผลิตด้านพลังงานระหว่างกันที่รัฐเทกซัส และหารือร่วมกัน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ

“วันนี้สหรัฐอเมริกาจะให้ความสำคัญด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยจะเชิญบริษัทผู้ค้ำน้ำมันในภูมิภาคมาประชุมและพาเยี่ยมชมแหล่งผลิตน้ำมันที่เทกซัสในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้ข้อมูลบริษัทน้ำมันรับทราบถึงสถานการณ์ด้านพลังงาน เพื่อให้บริษัทน้ำมันเข้าถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น รวมถึงทิศทางพลังงานในอนาคตมากขึ้นด้วย”

ประโยชน์จาก Asia EDGE

ความร่วมมือนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องผลประโยชน์อะไร เพราะจะละเมิดข้อตกลงของสหรัฐอเมริกา แต่เราจะทำเป็นยุทธศาสตร์ ถือว่าเป็นการให้โอกาสแต่ละประเทศด้านการลงทุน ซึ่งประเทศนั้นต้องมีสภาพที่เหมาะสมที่จะพร้อมให้สหรัฐเข้าไปลงทุน และที่สำคัญ คือ มีการจัดการถูกต้อง โปร่งใส

เทรนด์ด้านพลังงานในปัจจุบัน

หากมองนโยบายด้านพลังงานของแต่ละประเทศแล้วจะเห็นว่ามีความหลากหลาย แต่สิ่งที่เห็นชัดเจนในระยะหลังคือ แต่ละประเทศพยายามผลักดันพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นลม แสงอาทิตย์ (green energy) โดยเฉพาะบางประเทศ รัฐบาลต้องการด้านพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น มีการนำเข้า liquefied natural gas (LNG) ก๊าซธรรมชาติเหลว ดังนั้น อเมริกาอาจต้องสนับสนุนด้านความรู้เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นมีตลาด ศักยภาพและความสามารถเชื่อถือได้นักลงทุนสหรัฐในอาเซียนแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคืออยากให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุน แต่รัฐบาลอเมริกาไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องไปลงทุนที่ไหนอย่างไร สิ่งที่จะทำคือเราจะสนับสนุนประเทศเหล่านั้นให้มีตลาด มีศักยภาพ เชื่อถือได้