บีโอไอ ตั้งเป้าปี 2030 ไทยแหล่งผลิตรถอีวี 30%

รถอีวี

บีโอไอ ตั้งเป้าปี 2030 ไทยแหล่งผลิตรถอีวี 30% ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ ชี้ นักลงทุนต่างชาติมองประเทศไทยเป็น ”คอนฟลิกซ์เซฟโซน” ด้าน “เรเว่ ออโต้โมทีฟ” คาดยอดขายรถอีวีในตลาดปีนี้โต 400% ครึ่งปีขายไปได้แล้ว 32,000 คัน

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยในงานสัมมนา “Thailand Focus 2023” หัวข้อเรื่อง “ไทยจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการย้ายฐานห่วงโซ่อุปทานและการกลับเข้ามาลงทุนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” ว่า

อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยแข็งแกร่งมีส่วนแบ่งในจีดีพีถึง 6% และได้ถูกจัดอยู่ในอันดับ 10 ของโลก นอกจากนี้ไทยยังเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของโลก เนื่องจากเรามีซัพพลายเชนที่ครบวงจรจากการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้มานานถึง 50 ปี โดยขณะนี้มีบริษัทชิ้นส่วนรถยนต์และส่วนประกอบอื่น ๆ อยู่มากกว่า 2,000 บริษัท

นโยบายตอนนี้กำลังส่งเสริมการผลิตรถยนต์ EV ให้ขึ้นมาเป็นภาคการผลิตรถยนต์ที่สำคัญ โดยเป็นองค์ประกอบในการส่งออกรถยนต์ของประเทศ 10% และมีอัตราการเติบโต 5% ต่อปี

ประเทศไทยหวังว่าจะสามารถเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ EV ระดับโลกได้ในไม่ช้า โดยมีแผนจะผลิตรถยนต์ EV ได้ราว 30% ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตในประเทศไทยภายในปี 2030

Advertisment

ตอนนี้การลงทุนด้านอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาสู่ประเทศไทย โดยมีเงินลงทุนโดยตรงเข้ามาถึง 3 แสนล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งแหล่งเงินทุน 3 แรกก็คือ จีน, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น  ขณะที่โครงการพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนถึง 2.6 หมื่นล้านบาท

ส่วนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าก็เข้ามาของการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่โครงการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ไปจนถึงสถานีชาร์จไฟ โครงการรถยนต์อีวี ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปแล้วถึง 17 โครงการ ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่เข้ามา อย่างเช่น บีวายดี, เกรทวอลล์ มอเตอร์ และยังมีอีกหลายบริษัทใหญ่ที่กำลังขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุน เช่น ฉางอันมอเตอร์

สำหรับแบตเตอรี่ ได้ส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่ 71 โครงการ และสถานีชาร์จไฟ EV 10 โครงการ ก็จะเพิ่มสถานีชาร์จเป็น 11,000 หน่วย จาก 4,000 หน่วยที่มีอยู่

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็มีความท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์  และด้านราคา อย่างไรก็ตามเชื่อว่านักลงทุนจำนวนไม่น้อยกำลังมองหาที่ลงทุนซึ่งมีเสถียรภาพ มีความมั่นคงยืนยาว และมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล

Advertisment

ซึ่งคิดว่าในทศวรรษหน้า ประเทศไทยจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ เพราะมีตลาดขนาดใหญ่ มีเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง และไทยมีสนธิสัญญาการค้าเสรีกับหลายประเทศ และกำลังเจรจากับหลายประเทศ

รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาล เป็นประเทศส่วนน้อยที่จะสามารถซัพพลายคลีนเอ็นเนอร์จีให้กับบริษัท แต่ประเทศไทยจะสามารถช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถประสบความสำเร็จในเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์หรือน้อยลงได้

รวมทั้งเป็นประเทศที่มีความปลอดภัย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับแทบทุกประเทศ ในสายตานักลงทุนต่าง ๆ ประเทศไทยเป็น ”คอนฟลิกซ์เซฟโซน” หรือแหล่งลงทุนที่ไม่ได้ขัดแย้งกับภูมิภาคใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจของนักลงทุน สำหรับนักลงทุน

นางสาวประธานพร พรประภา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เรเว่ ออโต้โมทีฟ จำกัด กล่าวว่า ยุคหลังโควิดพบว่าประชาชนมีความต้องการใช้รถยนต์เป็นของตัวเองมากขึ้น

โดยในปี 2565 ยอดขายรถยนต์ EV ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 14% และคิดว่าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 30% สำหรับในประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมียอดรถยนต์ EV ขายได้ 22,000 คัน และครึ่งปีนี้ก็ขายไปได้แล้ว 32,000 คัน และคาดว่าในปีนี้ยอดขายรถยนต์อีวีน่าจะเติบโตได้ถึง 400%

คนไทยกำลังพร้อมที่จะรับเอารถยนต์ EV เข้ามาใช้ โรงงานที่เข้ามาตั้งพวกอะไหล่ และชิ้นส่วนต่าง ๆ จะทำให้อุตสาหกรรมนี้ครบวงจรมากขึ้น เพราะตอนที่บริษัทตั้งใหม่ ๆ นั้นยังไม่มีแบรนด์รถยนต์ EV มากนักในประเทศไทย หากมีรายใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น ก็จะดีในแง่ของการกระตุ้นให้คนหันมาสนใจได้มากขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว บีวายดีส่งมอบรถยนต์ไปแล้ว 18,000 คัน ซึ่งต่อไปทางบริษัทก็จะก็นำเอารถเพื่อการพาณิชย์เข้ามามากขึ้น และจะนำเอาโมเดลรถยนต์ส่วนบุคคลใหม่เข้ามาในสิ้นปีนี้

การอุดหนุนของรัฐบาลเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของตลาดรถอีวีทั่วโลก และการอุดหนุนของรัฐบาลไทยก็น่าจะทำให้รถยนต์ EV เดินหน้าได้ คิดว่ารถไฟฟ้าและการหนุนจากรัฐบาลจะเป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่าการที่มีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามามากขึ้น จะทำให้เกิดความคึกคักในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าของไทยมากขึ้น