STARK แจ้งข้อมูลขยายผล Special Audit เพิ่มแล้ว ตามคำสั่ง ก.ล.ต.

STARK

STARK แจ้งข้อมูลขยายผล Special Audit เพิ่มแล้ว ตามคำสั่ง ก.ล.ต. ยันไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากข้อมูลที่ได้เปิดเผยในงบการเงินปี 2565 ย้ำฝ่ายจัดการชุดปัจจุบันได้ดำเนินการปรับปรุงให้กระบวนการทำงาน-ระบบตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ แก้ไขข้อพร่องให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 นายอรรถพล วัชระไพโรจน์ กรรมการ บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทขอสรุปสาระสำคัญของผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษตามขอบเขตที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ขยายผลเพิ่มเติม (Extended-Scope Special Audit) ระยะที่สอง ตามรายงานข้อเท็จจริงของผู้สอบบัญชีเพิ่มเติมดังนี้

1.บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK)

1.1.การตรวจสอุบรายการรับ-จ่ายเงินที่ผิดปกติ : ผู้สอบบัญชีตรวจพบรายการรับ-จ่ายเงินที่ผิดปกติดังนี้

– ผู้สอบบัญชีตรวจพบว่าบริษัทมีจ่ายเงินให้กับบริษัทย่อยรายบริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (PDITL) และได้ลงบันทึกทางบัญชีเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้าค่าหุ้น แต่ PDITL ไม่ได้มีการออกหุ้นใหม่ จึงมีการคืนเงินค่าหุ้นและบันทึกการยกเลิกการชำระค่าหุ้นนั้น

อย่างไรก็ตามผู้สอบบัญชีพบว่ารายการรับและจ่ายในธุรกรรมดังกล่าว มีผลต่างจำนวน 520 ล้านบาท และได้บันทึกเป็นยอดคงค้างไว้ภายใต้รายการบัญชีลูกหนี้อื่น-บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

Advertisment

– บริษัทจ่ายเงินค่าที่ปรึกษากฎหมายให้แก่ผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารเรียกเก็บเงินที่ออกโดยสำนักงานกฎหมาย ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล

1.2.การตราจสอบการใช้จ่ายเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ ตามที่บริษัทได้ออกหุ้นกู้ทั้งหมด 6 ชุด และได้รับเงินจากหุ้นกู้ดังกล่าวรวมจำนวน 10,698.40 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ชำระสินเชื่อและเงินกู้ยืมจากธนาคาร รวมถึงชำระคืนตั๋วแลกเงินและหุ้นกู้ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับกลุ่มกิจการ

บริษัทได้นำเงินส่วนใหญ่ที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้ดังกล่าวให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ได้แก่ PDITL และบริษัท ไทย เคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (TCI) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ชำระสินเชื่อและเงินกู้ยืมจากธนาคาร และผู้สอบบัญชีตรวจพบความผิดปกติหลายรายการและยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการใช้เงินที่ได้รับจาก STARK ของทั้งสองกิจการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน
ตามปกติของแต่ละบริษัทหรือไม่นั้น

บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้สอบ
บัญชี เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว และจะแจ้งความคืบหน้าของการตรวจสอบในส่วนนี้ในภายหลัง

Advertisment

1.3.การใช้เงินเพิ่มทุนที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ผู้สอบบัญชีได้ตรวจพบว่า บริษัทซึ่งดำเนินการภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดเดิม ได้นำเงินจากการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อไปชำระ Letter of credit สำหรับเจ้าหนี้การค้าเพื่อซื้อวัตถุดิบจำนวน 4,071 ล้านบาท และชำระคืนหุ้นกู้ ชุดที่ 3 (STARK23206A) พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 1,509 ล้านบาทในปี 2566 ตามที่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินประจำปี 2565 ของบริษัท

2.บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (PDITL)

2.1.การตรวจรายการขาย ลูกหนี้และการรับชำระหนี้ : ผู้สอบบัญชีตรวจพบรายการขาย ลูกหนี้และการรับชำระหนี้ที่ผิดปกติ ดังนี้

– บริษัทมีรายงานขายที่มีเอกสารประกอบการขายไม่ครบถ้วน รายงานขายที่ได้รับชำระหนี้จากบริษัทที่เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งไม่ได้เป็นลูกหนี้ตามใบแจ้งหนี้และไม่มีเอกสารประกอบการขาย รายการขายให้แก่บริษัทย่อยแต่ PDITL ได้รับชำระเงินจากบุคคลธรรมดา ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจพบรายงานการขายที่ผิดปกติในลักษณะข้างต้นรวมประมาณ 221 รายการ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ
8,144 ล้านบาทในปี 2565 และประมาณ 4,273 ล้านบาทในปี 2564

– บริษัทมีรายงานขายที่ไม่สามารถตรวจรายชื่อผู้โอนเงินหรือชำระเงิน เนื่องจากข้อมูลในรายการเดินบัญชีธนาคารไม่แสดงข้อมูลดังกล่าว จำนวนประมาณ 76 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทได้ขอข้อมูลดังกล่าวไปยังธนาคารที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับจากธนาคาร บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสม
ในการสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้สอบบัญชี เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว และจะแจ้งความคืบหน้าของการตรวจสอบในส่วนนี้ในภายหลัง

– บริษัทมีรายงานขายที่ไม่มีการลงลายมือชื่อผู้รับสินค้าคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 24 ล้านบาท จึงยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ และมีความผิดปกติในการรายการรับ-จ่ายเงินที่เกี่ยวข้องหรือไม่

2.2.การตวจรายการเจ้าหนี้ซื้อวัตถุดิบ (ทองแดง และอลูมิเนียม) ที่ผิดปกติ ผู้สอบบัญชีตรจพบความผิดปกติจากการซื้อวัตถุดิบที่ไม่มีสัญญาหรือเอกสารประกอบการทำการซื้อ-ขายวัตถุดิบ ในลักษณะดังต่อไปนี้

– รายการซื้อวัตถุดิบซึ่ง PDITL ได้บันทึกรายการซื้อ และรายการเจ้าหนี้ แต่บันทึก
รายการชำระเงินค่าวัตถุดิบดังกล่าว เป็นการจ่ายเงินให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งบริษัทดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ทำการซื้อขายวัตถุดิบกับ PDITL

– รายการซื้อวัตถุดิบซึ่ง PDITL ได้บันทึกรายการซื้อ และรายการเจ้าหนี้ซึ่งมีสถานะ
เป็นนิติบุคคล แต่ PDITL ได้ชำระหนี้และบันทึกรายการชำระหนี้โดยการโอนเงินให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ได้เป็นผู้ทำการซื้อขายวัตถุดิบกับ PDITL จำนวนประมาณ 279 ล้านบาท

2.3.การตรวจรายการเดินบัญชีเงินฝากของบริษัท

– ผู้สอบบัญชีตรวจพบรายการที่ PDITL บันทึกรายการรับเงินจากลูกหนี้การค้าจากบริษัทย่อยที่เวียดนามจำนวนประมาณ 869 ล้านบาท โดยมีเอกสารประกอบการขายและส่งสินค้าครบถ้วน ตรงกับรายละเอียดที่ในใบแจ้งหนี้และรายการปันทึกบัญชี โดยที่ไม่มีการจ่ายเงินจากบริษัทย่อยที่เวียดนาม และ PDITL ได้รับโอนเงินจำนวนดังกล่าวจากบริษัท ก.ไก่ (นามสมมุติ) ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันและไม่เคยมีธุรกรรมระหว่างกัน ดังนี้ จึงถือเป็นรายการทางเงินที่ผิดปกติ
– PDITL มีการรับโอนเงินจากบริษัทและบุคคลที่เกี่ยวซ้องกับ PDIT. หลายรายการจำนวนรวมประมาณ 691 ล้านบาท และมีการโอนงินคืนบริษัทและบุคคลดังกล่าวในจำนวนเดียวกันในวันถัดมา ซึ่งรายการลักษณะนี้ ถือเป็นรายการที่มีความผิดปกต

– PDITL มีการโนเงินให้และโอนเงินคืนกับบุคคลธรรมดา สำหรับรายการซื้อ-ขายที่ไม่มีเอกสารประกอบการทำธุรกรรม จำนวนประมาณ 279 ล้นบาท

– PDITL มีการรับโอนเงินจากบัญชีของบุคคลธรรมดา โดย PDITL รับรู้รายการดังกล่าวเป็นการชำระเงินในนามลูกหนี้รายยื่น จำนวนประมาณ 266 ล้นบาท

นอกเหนือจากสรุปข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญข้างต้น ผู้สอบบัญชียังตรวจพบรายการที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน เช่น การโอนเงินสำหรับการซื้อวัตุดิบที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง การชำระค่าสินค้าที่ซื้อจากบริษัทย่อยในเวียดนามโดยการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้รับเงิน (Beneficiary) ไม่ใช่บริษัทย่อยในเวียดนาม รายการโอนเงินที่มีการบันทึกบัญชีไม่สอดคล้องกับรายการที่เกิดขึ้นจริง การรับโอนเงินแต่บันทึกรายการไม่สอดคล้องกันผู้โอนเงิน การรับคืนเงินกู้ยืมที่ไม่มีการบันทีกรายการเงินให้กู้ยืม การรับโอนเงินและโอนเงินออกในจำนวนเดียวกันโดยที่ไม่มีเอกสารประกอบการทำธุรกรรม อีกด้วย

3.บริษัท ไทย เคเปิ้ล อินเตอร์เบชั่นแนล จำกัด (TCI)

ผู้สอบบัญชีตรวจพบรายการที่ผิดปกติที่มีสาระสำคัญ ดังนี้

– ได้ออกเอกสารการขายไม่มีหลักฐานการจัดส่งสินคำาให้แก่ลูกค้าและมีรายการรับชำระเงินจากผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของบริษัท ซึ่งรายการที่ผิดปกติดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 1,947 ล้านบาท ในปี 2565 และประมาณ 1,840 ล้านบาท ในปี 2564 เนื่องจากบริษัทไม่ได้มีการเก็บหลักฐานการส่งสินค้าของทุกรายการขายตามงบทดรอง จึงไม่สามารถตรวจสอบการเกิดขึ้นจริงของยอดขายได้

– TCI มีรายการจ่ายเงินเพื่อชำระเป็นคำสินค้า โดยที่ไม่มีหลักฐานการรับมอบสินค้าคงเหลือแต่ผู้สอบบัญชีตรวจพบจากเส้นทางการเงินที่ TCI ใช้ในการชำระหนี้ว่า TCI ได้โอนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บริษัทรายย่อยอื่น หรือบุคคลธรรมดาที่ไมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าดังกล่าว ซึ่งในปี 2565 รายการในลักษณะนี้ก่อให้เกิดดวามเสียหายจำนวนประมาณ 2,224 ล้านบาท

– TCI ได้บันทึกเพิ่มรายการสินค้าคงเหลือ โดยที่ไม่มีหลักฐานการรับมอบสินค้าคงเหลือ ไม่มี
เอกสารประกอบการซื้อสินค้า ซึ่งรายการในลักษณะนี้ก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนประมาณ 479 ล้านบาท และ 1,393 ล้านบาท ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

4.บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด (ADS)

ตามที่ผู้สอบบัญชีได้ทำการตรวจสอบรายการทางการเงินที่สำคัญของ ADS ซึ่งรวมถึงรายการจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาบริการที่ ADS เข้าทำกับลูกค้า รายละเอียดบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน (Timesheet) และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผู้สอบบัญชีจึงได้รับข้อมูลเพื่จทำการตรวจสอบรายการประมาณ 25% และไม่สามารถสรุปผลการตรวจสอบรายการจ่ายค่าตอบแทนพนักงานของ ADS ได้

ผู้สอบบัญชีจึงสรุปความเสียหายในเบื้องต้นจากการรับรู้รายได้ค้างรับที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงได้ว่า ADS ได้รับความเสียหายจากการรับรู้รายได้ค้างรับสูงกว่าความเป็นจริงมากกว่า 600 ล้านบาท ในปี 2564 และมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท ในปี 2565 และมีลูกหนี้การค้าที่สูงกว่าความเป็นจริงมากกว่า 800 ล้านบาท ในปี 2585 นั้น

ในส่วนนี้บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางที่หมาะสมในการสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้สอบบัญชี เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว และจะแจ้งความคืบหน้าของการตรวจสอบในส่วนนี้ในภายหลัง

ทั้งนี้บริษัทได้รับการยืนยันจากผู้สอบบัญชีว่าผลของการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษตามขอบเขตที่สำนักงาน ก.ล.ต.ให้ขยายผลเพิ่มเติมระยะที่สองนี้ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากข้อมูลที่ได้เปิดเผยไว้ในงบการเงินประจำปี 2565 ของบริษัท

จึงไม่มีการปรับปรุงข้อมูลในงบการงินประจำปี 2565 ที่บริษัทได้เปิดเผยไว้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และบริษัทขอยืนยันอีกครั้งว่าภายใต้การดำเนินการของฝ่ายจัดการชุดปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงให้กระบวนการทำงาน และระบบตรวจสอบภายในมีระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขข้อพร่องและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอย่างในอดีต เพื่อให้การบริหารบริษัทให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี