เปิดรายชื่อ บลจ.-กองทุน TESG ที่สำนักงาน ก.ล.ต.อนุมัติให้ขายได้แล้ว

TESG

เปิดรายชื่อกองทุน ThaiESG ที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ล.ต.แล้ว

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ Thailand ESG Fund (TESG) เป็นอีกทางเลือกของการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาว ในกิจการที่เน้นความยั่งยืนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

นโยบายการลงทุนของ ThaiESG

โดยกองทุน TESG มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ที่ผู้ออกเป็นกิจการ หรือภาครัฐไทยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ 80% ของ NAV ประกอบด้วย 5 กลุ่มดังนี้

  1. หุ้นจดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET หรือองค์กรหรือสถาบันอื่นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับว่ามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หรือด้านความยั่งยืน (Environmental, Social and Governance : ESG)
  2. หุ้นจดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่มีการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมทั้งจัดให้ มีการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์โดยผู้ทวนสอบที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
  3. ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือตราสารส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked bond)
  4. พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) พันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked bond)
  5. โทเค็นดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) ที่ออกตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นโทเค็นดิจิทัลสำหรับโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green-project token) หรือ โทเค็นดิจิทัลสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน (sustainability-project token) หรือโทเค็นดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked token) โดยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของโทเค็นดิจิทัล จะเป็นไปตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
  • ลงทุนในประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนในกิจการหรือโครงการที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) หรือด้านความยั่งยืน (ESG)
  • เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของ TESG บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีเงินได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน TESG ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี (ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณที่รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)

โดยที่กองทุนและประกันรองรับการเกษียณ มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้

วงเงินลดหย่อนภาษี รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท/ปี

  • SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • RMF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • PVD/กองทุนสงเคราะห์ครู/กบข.
    • PVD/กองทุนสงเคราะห์ครู ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง
    • กบข. ไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • ประกันบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กอช. ไม่เกิน 30,000 บาท
  • TESG Fund ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อถือมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กรมสรรพากรกำหนด (8 ปี นับวันชนวัน)
  • กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ThaiESG-เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามเงื่อนไข จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ระยะเวลาในการลดหย่อนภาษีของหน่วยลงทุน ThaiESG-ผู้ลงทุนสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ได้ตามจำนวนที่ซื้อทุกปีจนถึง พ.ศ. 2575
  • เมื่อซื้อกองทุน ThaiESG แล้วต้องถือครองลงทุนเป็นเวลา 8 ปีขึ้นไปนับจากวันที่ลงทุน หากถือครบกำหนดตามเกณฑ์กำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุน (Capital Gain) จะไม่เสียภาษี แต่ถ้าขายก่อนเวลาที่กำหนด ต้องคืนภาษีที่ได้รับมาพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร
  • อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อน ต่อบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่ผู้ลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนด้วย
      1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด
      2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
      3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด
      4. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด
      5. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด
      6. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด
      7. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
      8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด
      9. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด
      10. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เคดับบลิวไอ จำกัด
      11. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด
      12. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด
      13. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด
      14. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
      15. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด
      16. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด
  • บลจ.กรุงไทย
    • กองทุนเปิดกรุงไทย ESG A Grade (KTAG)
    • กองทุนเปิดกรุงไทย ESG A Grade 70/30 (KTAG70/30)
    • กองทุนเปิดกรุงไทย ESG50 (KTESG50)
  • บลจ.กรุงศรี
    • กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์เซ็ทไทยเพื่อความยั่งยืน-ไทยเพื่อความยั่งยืนสะสมมูลค่า (KFTHAIESGA)
    • กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์เซ็ทไทยเพื่อความยั่งยืน-ไทยเพื่อความยั่งยืนปันผล (KFTHAIESGD)
  • บลจ.กสิกรไทย
    • กองทุนเปิดเค Target Net Zero หุ้นไทย ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน (K-TNZ-ThaiESG)
  • บลจ.เกียรตินาคินภัทร
    • กองทุนเปิดเคเคพี หุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน (KKP EQ THAI ESG)
    • กองทุนเปิดเคเคพี พันธบัตรรัฐบาลไทยเพื่อความยั่งยืน (KKP GB THAI ESG)
  • บลจ.เคดับบลิวไอ
    • กองทุนเปิด เคดับบลิวไอ ไทยเพื่อความยั่งยืน (KWI ThaiESG)
  • บลจ.ทาลิส
    • กองทุนเปิด MEGA 20 ไทยเพื่อความยั่งยืน (MEGA20THAIESG)
  • บลจ.ทิสโก้
  • บลจ.ไทยพาณิชย์
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยยั่งยืนแอคทีฟ (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนแบบสะสมมูลค่า) (SCBTA (ThaiESGA))
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยยั่งยืนแอคทีฟ (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน) (SCBTA (ThaiESG))
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยยั่งยืนพาสซีฟ (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนแบบสะสมมูลค่า) (SCBTP (ThaiESGA))
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นไทยยั่งยืนพาสซีฟ (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน) (SCBTP (ThaiESG))
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ไทยผสมยั่งยืน (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนแบบสะสมมูลค่า) (SCBTM (ThaiESGA))
    • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ไทยผสมยั่งยืน (ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน) (SCBTM (ThaiESG))
  • บลจ.บัวหลวง
    • กองทุนรวมบัวหลวงทศพลไทยเพื่อความยั่งยืน (B-TOP-THAIESG)
  • บลจ.พรินซิเพิล
    • กองทุนเปิดพรินซิเพิล อิควิตี้ ESG (PRINCIPAL EQESG-ThaiESG)
  • บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย)
    • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด หุ้นไทย ซัสเทนเนเบิล หน่วยลงทุนชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนที่ได้ร้บสิทธิประโยชน์ทางภาษีและไม่จ่ายเงินปันผล (UTSEQ-THAIESG)
  • บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
    • กองทุนเปิด แอล เอช หุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน (LHTHAIESG)
  • บลจ.วรรณ
    • กองทุนเปิด วรรณ หุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน (ONE-THAIESG)
  • บลจ.อีสท์สปริง (ประเทศไทย)
    • กองทุนเปิดอีสท์สปริง SETESG ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนสะสมมูลค่า (ES-SETESG-ThaiESG-A)
    • กองทุนเปิดอีสท์สปริง SETESG ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืนจ่ายเงินปันผล (ES-SETESG-ThaiESG-D)
  • บลจ.เอ็มเอฟซี
    • กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีท็อป 25 หุ้นไทยเพื่อความยั่งยืน (MT25-ThaiESG)
    • กองทุนเปิดเอ็มเอฟซีเฟล็กซิเบิลไทยเพื่อความยั่งยืน (MFLEX-ThaiESG)
  • บลจ.แอสเซท พลัส