ทำความรู้จัก ตลาดการเงิน Money Market

financial market
คอลัมน์ : คุยฟุ้งเรื่องการเงิน
ผู้เขียน : Actuarial Business Solutions [ABS]

ถ้าคุณฟังข่าวการเงินบ่อย ๆ คงจะได้ยินคนพูดถึง Money Market กับ Capital Market ให้ได้ยินพอคุ้นหูกัน แต่ที่แน่ ๆ ตลาดทั้งสองแบบนี้ไม่ได้ขายผักขายปลาอย่างในตลาดสด หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปแน่ ๆ เราลองมาทำความรู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาดการเงินทั่วไปดีกว่า

ตลาดการเงิน หรือ ระบบการเงิน มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจในฐานะเป็นช่องทางการส่งผ่านเงินทุนจากผู้ที่มีเงินทุนเหลือไปยังผู้ต้องการเงินทุนที่จะนําเงินทุนเหล่านั้น ไปประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การผลิต การแลกเปลี่ยนซื้อขาย การจ้างงาน เป็นต้น

ถ้าอยากจะแยกแยะว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวไหนเป็น Money Market หรือ Capital Market เราก็อาจให้คำจำกัดความอย่างคร่าว ๆ เอาไว้ใช้คุยกับคนอื่นได้อย่างไม่อาย

ถ้าระยะการลงทุนของมันไม่เกิน 1 ปี เราก็สามารถเรียกว่า Money Market ซึ่งเป็นตราสารการเงินระยะสั้น แต่ถ้าระยะการลงทุนของมันเกิน 1 ปี เราจะเรียกผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านั้นว่าอยู่ใน Capital Market แค่นี้เราก็พอแยกได้คร่าว ๆ แล้วว่าตราสารทางการเงินแบบไหน เวลาอ่านหรือฟังข่าวก็คงจะพอได้ไอเดียเพิ่มเติมไปบ้างว่าเขาพูดถึงอะไรกัน

ทีนี้ลองมาสำรวจผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรารู้จักกันทั่วไปดูว่าจะอยู่ในตลาดประเภทอะไรกันบ้าง อย่างแรกเลยก็คือ หุ้น สำหรับหุ้นนี้ก็เคยมีคนแย้งอยู่เหมือนกันว่า มันเป็นการลงทุนได้ทั้งสั้น และยาว แล้วแต่ว่าจะหวังผลกำไรระยะสั้น หรือยาว เทรดดิ้งรายวัน หรือรายปี เป็นต้น แต่ถ้าจะดูกันจริง ๆ แล้ว เราต้องมาดูที่ตัวกระดาษที่เป็นสัญญา

ว่าเขาเขียนว่าอะไรกัน หุ้นนี้ปกติจะไม่มีระยะเวลาครบกำหนดสัญญา ประมาณว่าจะอยู่กันจนชั่วฟ้าดินสลาย ตราบจนบริษัทจะล้มหายตายจากไป แม้เจ้าของบริษัทจะตายไป ตัวหุ้นก็ยังอยู่ สรุปแล้วหุ้นจะอยู่ใน Capital Market เท่านั้น และดังนั้นเมื่อมีคนบอกว่า ช่วงนี้ Capital Market มีปัญหา ก็หมายความว่าเขาพูดรวมถึงการลงทุนในหุ้นด้วย

คราวนี้เราลองมาสำรวจดูพวกตราสารหนี้ หรือที่เรียกว่า Debt ดูบ้าง ตราสารหนี้ก็เหมือนกับการกู้ยืมเงินกัน แล้วก็ทำสัญญาลงในกระดาษ ดังนั้นถ้าระยะเวลาครบกำหนดสัญญาไม่เกิน 1 ปี เราก็เรียกว่ามันอยู่ใน Money Market ถ้าระยะเวลาครบกำหนดสัญญาเกิน 1 ปีขึ้นไป เราก็เรียกมันว่าอยู่ใน Capital Market ซึ่งในระยะเวลาหลัง ๆ เราจะเห็นกองทุนรวมมากมายหลายแบบในเมืองไทยที่เป็น Money Market ผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด

โดยทั่วไปผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทนี้จะมากกว่าการนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร ซึ่งจริง ๆ แล้วกองทุนรวมแบบ Money Market เหล่านี้จะนำเงินของเราไปลงทุนต่อในแบงก์ หรือบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขอกู้ยืมเงินในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนั่นเอง

Money Market/Capital Market แบ่งตามระยะเวลาของการลงทุน ถ้าต่ำกว่า 1 ปีก็จะเป็น Money (ซึ่งจะมีแต่แบบ Debt เท่านั้น เพราะ Equity มี Perpetual Maturity จริงหรือไม่) ถ้ามากกว่า 1 ปี ก็เป็น Capital Market (หุ้น เป็น Capital Market อยู่แล้ว)

ลักษณะพิเศษของ Money Market
1.มี Maturity น้อยกว่า 1 ปี
2.มักจะไม่มีการจ่าย Coupon (เนื่องจากมี Maturity น้อยกว่า 1 ปี จะไปให้ Coupon ตอนไหน)
3.Participant เป็นรัฐบาล หรือสถาบันการเงินขนาดใหญ่
4.มี Liquidity สูง, Denomination สูง : หมายความว่า มี Liquidity สูงกว่า Debt ใน Capital ใน Market (เนื่องจากว่า เป็น Short Term Debt) ส่วน Denomination ก็คือ ราคาหน้าตั๋ว (ราคาขั้นต่ำ) เช่น มี Denomination 10,000 ดอลลาร์

5.ใช้ในแง่ Operation เช่น Reserve, ซื้อ Raw Material หรืออะไรที่ทำเพื่อต้องการ Cash มาหมุนชั่วคราว