กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฉบับที่ 3 ภาคใต้ฝนตกหนักมาก เสี่ยงท่วมฉับพลัน

ฝนตกหนัก-ทะเลคลื่นสูง ลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 3 “ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้” 4-6 พ.ย.นี้อิทธิพลจากร่องมรสุมมีกำลังแรงขึ้น อ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย แต่ช่วง 6 – 10 พ.ย. อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เมื่อเวลา 17.00 น. นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกามีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

ในช่วงวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2565 จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.

ประกาสเตือนฉบับที่ 3 ฝนตกหนักภาคใต้

สำหรับคาดหมายอากาศทั่วไป 7 วันข้างหน้า หรือระหว่างวันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน 2565

ในวันที่ 4 – 5 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ประกอบกับลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกเล็กน้อย

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65 สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 สำหรับประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

คาดหมายอากาศรายภาควันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน 2565

ภาคเหนือ

ในวันที่ 4 – 5 พ.ย. 65 อากาศเย็น โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าอุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 18 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 20 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65 ส่วนมากทางตอนกลางและตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4 – 6 พ.ย. 65 ส่วนมากทางตอนล่างของภาคตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 5 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา