ปภ. เผย 23 จังหวัด น้ำท่วม-เร่งระบาย อีก 4 จังหวัด คลี่คลายแล้ว

ภาพจากเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

วันที่ 27 กันยายน 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” รวม 27 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด อีก 23 จังหวัด อยู่ระหว่างเร่งระบายน้ำ 

27 ก.ย.64 เวลา 11.25 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ในช่วงวันที่ 23 – 27 ก.ย. 64 เกิดอุทกภัยใน 27 จังหวัด ได้แก่

เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม

รวม 120 อำเภอ 417 ตำบล 1,933 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 58,977 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และบุรีรัมย์) ยังคงมีสถานการณ์ 23 จังหวัด

ปัจจุบันภาพรวมสถานการณ์ในพื้นที่ระดับน้ำทรงตัว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป

ภาพจากเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
ภาพจากเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
ภาพจากเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

เมื่อเวลา 09.45 น. ปภ.รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 27กันยายน 2564 ดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ภาคเหนือ

  • ตาก (อ.แม่สอด พบพระ อุ้มผาง แม่ระมาด)
  • เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่ ชนแดน วังโป่ง)
  • นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์)
  • อุทัยธานี (อ.ลานสัก บ้านไร่ ห้วยคต)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จ.ชัยภูมิ (อ.ภักดีชุมพล หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์)
  • นครราชสีมา (อ.วังน้ำเขียว ครบุรี)

ภาคกลาง

  • สระแก้ว (อ.ตาพระยา)
  • จันทบุรี (อ.ขลุง เมือง มะขาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน)
  • ตราด (อ.เขาสมิง บ่อไร่)

ภาคใต้

  • พังงา (อ.ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง กะปง)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ

  • สุโขทัย (อ.ศรีสำโรง คีรีมาศ เมือง)
  • กำแพงเพชร (อ.ขาณุวรลักษบุรี โกสัมพีนคร เมือง ปางศิลาทอง)
  • พิจิตร (อ.บึงนาราง โพธิ์ประทับช้าง โพทะเล สามง่าม)
  • ตาก (อ.สามเงา วังเจ้า)
  • พิษณุโลก (อ.บางระกำ วังทอง)
  • เพชรบูรณ์ (อ.เมือง วิเชียรบุรี หล่มสัก หนองไผ่)
  • นครสวรรค์ (อ.ลาดยาว หนองบัว แม่วงก์ เมือง ชุมตาบง แม่เปิน ตาคลี พยุหะคีรี ไพศาลี ชุมแสง ท่าตะโก บรรพตพิสัย โกรกพระ ตากฟ้า)
  • อุทัยธานี (อ.ทัพทัน สว่างอารมณ์ เมือง ลานสัก บ้านไร่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เลย (อ.ภูกระดึง ด่านซ้าย)
  • ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ)
  • นครราชสีมา (อ.ด่านขุนทด สูงเนิน โนนไทย พระทองคำ เมือง โนนสูง พิมาย ชุมพวง ลำทะเมนชัย เมืองยาง ปักธงชัย โชคชัย)
  • ชัยภูมิ (อ.หนองบัวระเหว จัตุรัส เมือง เนินสง่า บ้านเขว้า ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ คอนสาร ภักดีชุมพล หนองบัวแดง บ้านแท่น เทพสถิต คอนสวรรค์)
  • ขอนแก่น (อ.โคกโพธิ์ไชย มัญจาคีรี ชุมแพ)
  • สุรินทร์ (อ.สําโรงทาบ)
  • ศรีสะเกษ (อ.ห้วยทับทัน กันทรารมย์)
  • อุบลราชธานี (อ.เมือง วารินชําราบ)

ภาคกลาง

  • ชัยนาท (อ.สรรพยา มโนรมย์ วัดสิงห์ เนินขาม หันคา)
  • พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล พระนครศรีอยุธยา)
  • ลพบุรี (อ.สระโบสถ์ ชัยบาดาล ลําสนธิ โคกสําโรง ท่าหลวง บ้านหมี่ โคกเจริญ หนองม่วง เมือง พัฒนานิคม)
  • สิงห์บุรี (อ.อินทร์บุรี เมือง พรหมบุรี)
  • อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ)
  • สุพรรณบุรี (อ.เมือง บางปลาม้า สองพี่น้อง)
  • กาญจนบุรี (อ.บ่อพลอย)
  • นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน)
  • ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ)
  • สระแก้ว (อ.ตาพระยา โคกสูง)
  • จันทบุรี (อ.นายายอาม เขาคิฌกูฎ ขลุง มะขาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ เมือง)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม

ภาคเหนือ

  • ตาก (อ.อุ้มผาง พบพระ)

ภาคกลาง

  • ตราด (อ.เขาสมิง บ่อไร่)

ภาคใต้

  • พังงา (อ.ท้ายเหมือง กะปง ตะกั่วป่า)

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมืองอาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย