7 วันเมษายน เสียชีวิตจากโควิด 658 ราย 81% ไม่ได้วัคซีนบูสเตอร์โดส

ผู้เสียชีวิตโควิด ตาย
FILE PHOTO: REUTERS/Athit Perawongmetha

สัปดาห์แรกเดือนเมษายน เสียชีวิตจากโควิดแล้ว 658 ราย พบเป็นที่มีอายุเกิน 60 ปี กว่า 520 ราย ไม่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์โดส 532 ราย  

วันที่ 7 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตามข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) พบว่า รวมผู้ติดเชื้อ 7 วันในเดือนเมษายน พบว่ามีผู้ติดเชื้อสะสสมรวมแล้วทั้งสิ้น 154,669 ราย

อีกทั้งจากการพบผู้ติดเชื้อสะสมในรอบ 7 วัน จำนวนมากกว่า 1.5 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 ราย ส่งผลให้ประเทศไทยติดอันดับ 10 ของโลกที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของเว็บไซต์ World Ometers

เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากขึ้นในการแถลงข่าวของศูนย์ ศบค. ตลอดช่วงที่ผ่านมา ได้แสดงความกังวลถึงจำนวนผู้เสียชีวิต เนื่องจากพบว่าเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 รวมถึงเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์จำนวนมาก

Advertisment

หากย้อนดูจำนวนผู้เสียชีวิตย้อนหลัง 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-7 เมษายน 2565 พบว่า

วันที่ 1 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 92 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 86 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 68 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 18 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 87 ราย

วันที่ 2 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 96 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 95 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 80 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 15 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 1 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 94 ราย

วันที่ 3 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 97 ราย

Advertisment
  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 95 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 82 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 13 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 2 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 91 ราย

วันที่ 4 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 97 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 94 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 72 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 22 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 3 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 87 ราย

วันที่ 5 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 91 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 85 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 67 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 18 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 85 ราย

วันที่ 6 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 94 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 90 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 78 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 12 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 4 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 85 ราย

วันที่ 7 เมษายน 2565 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 92 ราย

  • ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคเรื้อรัง หรือกลุ่ม 608 จำนวน 90 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 73 ราย
    • เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 17 ราย
  • เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 1 ราย
  • ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 84 ราย

ทั้งนี้ หากรวมผู้เสียชีวิตทั้ง 7 วัน จะพบว่ามีผู้เสียชีวิต 658 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 520 ราย เป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 115 ราย เป็นผู้ป่วยไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 23 ราย และเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์จำนวน 532 ราย

สามารถคิดเป็นอัตราผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 79%, อัตราผู้เสียชีวิตที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 17%, อัตราผู้เสียชีวิตที่ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 3% และอัตราผู้เสียชีวิต ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 3 หรือบูสเตอร์ 81%