Stripe ยักษ์เพย์เม้นท์เกตเวย์มะกัน รุกขยายธุรกิจในไทย

Stripe เปิดตัวในไทย หวังผนึกธุรกิจทุกกลุ่มสร้างช่องทางชำระเงินครบวงจร เติบโต GDP ดิจิทัล

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 นายธีร์ ฉายากุล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท Stripe ประเทศไทย ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน กล่าวว่า

ประเทศไทยมีเศรษฐกิจดิจิทัลที่โตเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเปิดรับอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีการชำระเงินทางดิจิทัล ซึ่งช่วยให้หลายธุรกิจฝ่าฟันวิกฤตโควิด-19 ได้ และเป็นพื้นฐานขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจต่อไป

อย่างไรก็ดีการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตก็ยังมีความยุ่งยากและขาดประสิทธิภาพ Stripe ต้องการกำจัดอุปสรรคนี้โดยการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเพื่อช่วยให้ ธุรกิจที่มีความมุ่งมั่น เพิ่มรายได้ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และได้ใช้ระบบอัตโนมัติกับงานที่สร้างมูลค่าต่ำของ ธุรกิจ พร้อมช่วยในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยการบริหารจัดการที่สะดวกสบายผ่านแดชบอร์ดเดียว ยิง Stripe

“สำหรับประเทศไทย ช่องทางพร้อมเพย์เป็นช่องทางที่สะดวกมากและได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน แต่ การจัดการหลังบ้าน ทำรีพอร์ต หรือการรีฟันด์ ที่ธุรกิจที่ใช้พร้อมเพย์ทุกวันนี้ยังต้องทำรายงานด้วยมืออยู่ แต่ลองนึกดูว่าถ้าวันหนึ่งธุรกิจขยายตัวและต้องรับธุรกรรมจำนวนมาก คงจะนั่งทำด้วยมือไม่ไหว”

ในการนี้ Stripe ได้นำเสนอบริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ซับซ้อนให้ธุรกิจไทยทุกขนาด โดยช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการประมวลผลการชำระเงิน เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถมุ่งพัฒนาธุรกิจหลักของตนได้เต็มที่เมื่อขยายสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ธุรกิจไทยที่ใช้ บริการของ Stripe สามารถรับการชำระเงินผ่าน พร้อมเพย์ และเครือข่ายบัตรเครดิตรายใหญ่เช่นวีซ่า และ มาสเตอร์การ์ด ซึ่งปัจจุบันมี 6 รูปแบบ

1. ระบบ Billing ที่ครอบคลุม การออกใบเสร็จเรียกเก็บค่าสินค้าและบริการ และการชำระเงินตามรอบ

2.ระบบ Checkout สำหรับหน้าการ ชำระเงินแบบสำเร็จรูป

3. ระบบ Payment Links สำหรับการออกลิงก์เพื่อชำระเงินสำหรับอีคอมเมิร์ซ ระบบ Invoicing สำหรับการออกใบแจ้งหนี้เพื่อการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ และการกระทบยอดธุรกรรม

4. ระบบ Invoicing สำหรับการออกใบแจ้งหนี้เพื่อการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ และการกระทบยอดธุรกรรมแบบอัตโนมัติ
5. ระบบ Radar สำหรับตรวจจับและป้องกันการทุจริต
6. ระบบ Connect สำหรับแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ และมาร์เก็ตเพลส และอื่นๆ

โดยมีการ Soft Launch เมื่อสองเดือนที่ผ่านมาและมีลูกค้าธุรกิจไทยกว่าพันรายได้ใช้บริการ ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจและทุกขนาดทั้งเอสเอ็มอี สตาร์ตอัพ และเอ็นเตอร์ไพรส์

นายธีร์ ระบุว่า ค่าบริการจากธุรกิจจะคิด 3.6% ต่อธุรกิจ และบวกเพิ่ม 10 บาท มองเป้าหมายไว้ว่า การทำตลาดบริการด้านการชำระเงินนี้ จะเติบโตเมื่อลูกค้าหรือพาร์ตเนอร์เติบโต

“ยิ่งลูกค้าของเราสามารถขยายขนาดธุรกิจได้มาก ก็จะยิ่งมีธุรกรรมมาก ดังนั้นมันจะส่งผลต่อรายได้เราทีหลัง”

อย่างไรก็ตาม นายธีร์ ยังไม่ได้ระบุว่าเป้าหมายกำไรของ Stripe ประเทศไทยจะเกิดขึ้นเมื่อใด เนื่องจากในระยะแรกนี้จะต้องมุ่งเน้นการ “พูดคุย” กับลูกค้าธุรกิจไทยเพื่อหาปัญหาด้านการชำระเงินและนำเอากรณีศึกษาจากลูกค้า Stripe ทั่วโลกมาช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจให้ลูกค้าไทย

การเข้าถึงลูกค้าไทยจะชูจุดเด่นสามประการคือ

1.การช่วยขยายธุรกิจให้ลูกค้า จากฐานลูกค้า Stripe ทั่วโลก และสกุลเงินทั้งหมดจะสามารถเชื่อมต่อธุรกิจไทยเข้ากับ API ระดับโกบอลได้

2. ช่วยคิด/ออกแบบ โมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น การออกแบบระบบ Subscribtion ให้ง่ายขึ้น

3.ความง่ายในการเชื่อมต่อ จากปัญหาการ KYC ที่ธุรกิจจะต้องดำเนินการกับลูกค้าของตนจะทำให้การเชื่อมต่อ หรือการสมัครใช้มีความล่าช้าราว 1-2 เดือน แต่หากใช้ Stripe ธุรกิจสามารถใช้ Sub Merchant และฐานข้อมูลลุกค้าของบริษัทเพื่อต่อกับ Stripe

“ถ้าเขาไม่มีโซลูชั่นการชำระเงินที่ชัดเจน เขาจะไม่สามารถสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ได้ เราจึงต้องพูดคุยเพื่อหาความต้องการเเล้วช่วยเหลือเขา” นายธีร์ กล่าว

ท้ายสุด นายธีร์ กล่าวถึงภารกิจของ Stripe ที่ต้องการเพิ่ม GDP ให้กับเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตว่า โลกเศรษฐกิจดิจิทัลหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ Stripe คือผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเปลี่ยนลูกค้าที่อยู่ออฟไลน์มาออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโวลลุ่มของการชำระเงินทางดิจิทัล นี่คือการเพิ่ม GDP ดิจิทัล

โดยปัจจุบันนี้แม้มีระบบการชำระเงินดิจิทัลมากมาย แต่ยังมีปัญหาคือความยุ่งยากที่ระบบของร้านค้าที่เงินมาจากหลายช่องทาง