KBTG ผุด “Tech Kampus” อัพสกิลเทคเด็กไทยป้อนตลาดไอที

เรืองโรจน์ พูนผล

KBTG ชี้วิจัยไอทีขึ้นหิ้ง ใช้งานไม่ได้จริง ผนึกกำลังสถาบันวิจัย-สถาบันศึกษา ผุด “Tech Kampus” บ่มสกิลเทคเด็กไทยป้อนตลาดไอที พร้อมเดินหน้าปั้นนวัตกรรมเสริมแกร่งธนาคารกสิกรไทย

วันที่ 31 มี.ค. 2564 นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG เปิดเผยว่า ปัจจุบันไทยอยู่ในยุคที่เรียกว่า “Continue Digital Disruption” ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับคนในประเทศ

ที่ผ่านมาพบว่าไทยมีค่าใช้จ่ายสำหรับ R&D ในวงการไอทีต่ำสุดในภูมิภาค มีสัดส่วนเพียง 0.34% ของ GDP สาเหตุเพราะการวิจัยและพัฒนาเป็นลักษณะไม่หวังผลกำไร และผลงานวิจัยส่วนมากถูกนำไปขึ้นหิ้ง ไม่สามารถใช้งานได้จริง

KBTG จึงริเริ่มที่จะทำ “Deep Collaboration” หรือร่วมมือกับสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาและบุคลากรไอที ให้สามารถต่อยอด วิจัยนวัตกรรใหม่ ๆ และสามารถลงมือปฏิบัติได้จริงผ่านโครงการ “Tech Kampus”

โดยจับมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และสถาบันการศึกษาอีก 7 แห่ง ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจาก KBTG ไปถ่ายทอดประสบการณ์ และพัฒนาหลักสูตรสาขา “Dala Science” และ “Arificial Inteligence” (Al) เพื่อต่อยอดผลิตงานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านเทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังเปิดรับนักศึกษาฝึกงานผ่านโครงการ “InternshipBootCamp” เพื่อสร้างทักษะด้านไอทีที่ใช้งานได้จริงให้กับนักศึกษา รวมถึงพัฒนานวัตกรรมยืนยันตัวตนของธนาคารให้มีความรวดเร็ว อาทิ Biometrics และ Facial Recognize ต่อยอดไปยังบริการออนไลน์ และ Smart Branch ของธนาคารกสิกรไทยด้วย

“เป้าหมายในปีนี้ KBTG ตั้งเป้าที่จะจับมือกับสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษามากกว่า 10 ราย โดยกลุ่มเป้าหมายถัดไปคือ นักเรียนมัธยมปลาย”

นายเรืองโรจน์ กล่าวต่อว่า KBTG ได้เข้าไปร่วมพัฒนาเทคโนโลยีให้กับองค์กรภาครัฐ เช่น โครงการ Thai NLP (Thai Natural Language Processing) การประมวลผลทางภาษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยี AI เพื่อลดช่องว่างในการสื่อสารภาษาธรรมซาติระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ที่เริ่มพัฒนาร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยได้ต่อยอดมาพัฒนา Chatbot ของเพจ “KBank Live” และ “LINE BK”

การวิจัย “Facial Recognition” ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) พัฒนา Face Liveness Detecion พิสูจน์ตัวตน ป้องกันการปลอมแปลง และแอปพลิเคชั่น “CU NEX” ของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ให้บริการข้อมูลและการเข้าถึงสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อมุ่งหน้าสู่การเป็น “Digital Lifestyle University”