ตลาดรถหดตัว “โตโยต้า” ฟันธงขายรวมทั้งปี 8.55 แสนคัน

โตโยต้าหั่นเป้ายอดขายตลาดรถยนต์ปีนี้คาดการณ์อยู่ที่ 855,000 คัน ชี้ผลกระทบจากปัจจัยลบด้านไฟแนนซ์และเศรษฐกิจ หั่นเป้าขายทั้งปีเหลือที่ 291,000  คัน ส่วนยอดผลิตลง 2.4% 

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 นายโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปีนี้ว่า จากปัจจัยทั้งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ทำให้การบริโภคของภาคเอกชนและภาคบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลดลง การสนับสนุนการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านโครงการต่าง

และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และแคมเปญส่งเสริมการขายจากค่ายรถต่าง ๆ น่าจะส่งผลต่อทิศทางของเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์

ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้น่าจะยังคงฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

โตโยต้าได้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2566 จะอยู่ที่ 855,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่ประกาศไว้ตอนต้นปีที่ 900,000 คัน

Advertisment

สำหรับยอด 855,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 316,900 คัน โต 19.6% รถเพื่อการพาณิชย์ 538,100 คัน 7.9%

สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2566 อยู่ที่ 291,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.8% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 34% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 104,800 คัน โต 26.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 186,200 คัน ลดลง 9.6% รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 153,014 คัน ลดลง 13%

ขณะที่เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 380,000 คัน เท่าปีที่แล้ว

สำหรับตลาดส่งออกนั้น เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 อยู่ที่ระดับ 643,500 คัน หรือลดลง 2.4% จากปีที่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก

Advertisment

สำหรับยอดขายรถยนต์ในครึ่งปีแรก (..-มิ..) ว่ายังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีปัจจัยบวกจากแรงหนุนด้านอุปสงค์ของสภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่เริ่มขยายตัวดีขึ้นในปีนี้

อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีทิศทางกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มมีการฟื้นตัว ส่งผลให้มีความต้องการใช้รถยนต์มากขึ้น บวกกับแรงกระตุ้นจูงใจผู้บริโภคด้วยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมแคมเปญการขายเชิงรุกของบรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย

แต่ทั้งนี้ ยังคงมีปัจจัยอื่น ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้โดยเฉพาะผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะสินเชื่อตึงตัว และความผันผวนทางเศรษฐกิจในช่วงของการเลือกตั้ง

ทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อทั้งจากภาคธุรกิจและภาคประชาชน ที่ต่างเฝ้ารอความชัดเจนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทย

เห็นได้จากยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 406,131 คัน ลดลง 5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็น รถยนต์นั่ง 148,087 คัน โต 9% 258,044 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ ลดลง 11.4% รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 182,952 คัน ลดลง 19.7%

ส่วนโตโยต้าในช่วงครึ่งแรก มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 136,859 คัน ลดลง 3.6% มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 33.7% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด