
ชื่อ นามสกุล: ศ.คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร
ตำแหน่งปัจจุบัน: รองประธานคณะที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) (ศบค.)
คู่สมรส: นางกาญจนา คชินทร
ประวัติการศึกษา:
- พ.ศ. 2519 ระดับปริญญาตรี วทบ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2521 ระดับปริญญาโท พบ. จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2525 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2527 ระดับปริญญาเอก วว. อายุรศาสตร์ แพทยสภา
- พ.ศ. 2533 Certificate research fellowship training in Gastroenterology at University of California, San Diego, U.S.A.
ประเภทบุคคล : แพทย์
ประวัติการทำงาน:
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (9 ธ.ค. พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2558)
- ประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (9 ธ.ค. พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)
- หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วาระที่ 1 (วันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2548 – 19 ก.พ. พ.ศ. 2552), วาระที่ 2 (วันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2552 – 8 ธ.ค. พ.ศ. 2554)
- รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช (12 ธ.ค. พ.ศ. 2543 – 19 ก.พ. พ.ศ. 2548)
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2 ธ.ค. พ.ศ. 2534 -11 ธ.ค. พ.ศ. 2543)
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2558 – 30 ก.ค. 2560)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสาธารณสุข (พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน)
เกียรติบัตรและรางวัลที่เคยได้รับ :
- หัวหน้าแพทย์ฝึกหัดโรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2521 – 2522
- แพทย์ประจำบ้านดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2524
- หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2526 – 2527
- Quality Person of the Year 2009 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2552
- ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554
- ประธานการจัดประชุมวิชาการโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555
- บุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2555
- ศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2555
- ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556
- นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2556
- พระปฐมเจดีย์ทองคำ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมด้านพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
ผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ :
ศ.คลินิก นพ.อุดม เป็นผู้นำที่มีความโดดเด่น ผลักดันให้ผลงานด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย การเรียนการสอน และการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สู่ความเป็นเลิศระดับสากลจนเป็นที่ยอมรับในภูมิภาค ASEAN ทำให้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธาน ASEAN Medical School Network
ผลงานเด่นที่เป็นที่ยอมรับและน่าภาคภูมิใจ :
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง ทั้งในระดับองค์กรระดับประเทศและระดับนานาชาติ จึงชี้แนวทางที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดำเนินการที่จะมีประโยชน์แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งแก่ประชาชนชาวไทยด้วย
ดังงานในฐานะคณบดีเป็นผู้มีความซื่อตรงคิดพูดทำตรงกันเสมอ ทำให้บุคลากรมีความเชื่อถือ จะเห็นได้จากการทำงานเป็นหัวหน้าภาควิชาที่มีอาจารย์ในภาคมากกว่า 120 คน และจากการทำงานเป็นรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราชพยาบาล อยู่ในความดูแลมากกว่า 4,000 คน หรือจากการเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลซึ่งมีบุคลากรมากกว่า 15,000 คน
เป็นผู้มีความเสียสละอดทนทุ่มเทให้เวลาแก่งานและส่วนรวมอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ในฐานะคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีหน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
ต่อวงการศึกษาวงการวิจัยเป็นผู้มีความสามารถในการประสานงานเพื่อให้งานใหญ่สำเร็จโดยทุกคนพอใจ ตัวอย่างเช่นการเป็นประธานจัดงาน Asia Pacific Digestive Week ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 2,700 คนจากนานาประเทศ ซึ่งเป็นอีกผลงานหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถในการแบ่งงานและความเป็นผู้บริหารระดับสากล
เป็นผู้วางนโยบายและผลักดันให้โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับสากล JCI เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556
ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี :
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่และการเจริญพัฒนาการของมวลมนุษยชาติทั้งโลก หลักของวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความคิดที่เป็นระบบ มีหลักฐานเชิงประจักษ์และมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ชีวิตประจำวัน การทำงาน การดูแลสุขภาพ เป็นต้น
รวมทั้งนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้เราทำงานได้สะดวกคล่องตัว และประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งต่อตัวเราเองและผู้มารับบริการ และสุดท้ายทำให้มีความสุขและมีความยั่งยืน สรุปได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน
ปณิธานที่ยึดถือในการทำงานและการดำรงชีวิต :
ยึดมั่นในความซื่อตรงเสียสละอดทน ทุ่มเทให้เวลาแก่งานและส่วนรวม มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
ลิงก์ข่าวที่เกี่ยวข้อง