เปิดสถิติน้ำท่วม “ทางหลวง” เผยครึ่งเดือนกระทบ 121 สายทาง 37 จังหวัด

เปิดสถิติน้ำท่วม “ทางหลวง” เผยครึ่งเดือนกระทบ 121 สายทางในพื้นที่ 37 จังหวัด

วันที่ 27 กันยายน 2564 นายสราวุธ ทรงศิวิไล  อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือพายุดีเปรสชันเตี้ยนหมู่ 

กรมทางหลวงรับข้อสั่งการดังกล่าว โดยหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย สำนักบริหารบำรุงทาง, สำนักงานทางหลวง, ศูนย์สร้างทาง, ศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน แขวงทางหลวง และหมวดทางหลวงทั่วประเทศ พื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลน์  พร้อมเร่งระบายน้ำและบำรุงรักษาเส้นทาง โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยจากการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง 

โดยในช่วงเดือนกันยายน 2564  ที่ผ่านมา  กรมทางหลวงได้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

-จัดชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรออกแก้ไข น้ำท่วมบนเส้นทางเพื่อให้ยานพาหนะสามารถสัญจรผ่านได้  พร้อมอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ติดตั้งป้ายเตือน และไฟวับวาบแก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง

-จัดเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและรถช่วยเหลือฉุกเฉิน ออกช่วยเหลือประชาชนเนื่องจากรถดับเนื่องจากน้ำท่วม บนทางหลวง  พร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยขนย้ายสิ่งของ

-จัดชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร ออกแก้ไข ดินสไลล์  แก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะคอสะพานชำรุด พร้อมติดตั้งสะพานเหล็กชั่วคราว (Baileys) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

-ดำเนินการขุดลอกวัชพืชเปิดทางน้ำสองข้างทาง  และเรียงกระสอบทรายซ่อมแซมจุดรั่วซึมที่เรียงไว้  และติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากทางหลวงและบ้านเรือนประชาชน  

-จัดชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักรออกเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากทางหลวงและบ้านเรือนประชาชน

-จัดทำแผนที่ทางเลี่ยงและประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบ 

ครึ่งเดือน น้ำท่วมซัด 121 เส้นทาง

นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้สรุปสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงในระหว่างวันที่ 14 – 27  กันยายน 2564  พบว่า ทางหลวงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจำนวน 37  จังหวัด 121 สายทาง  ผ่านไม่ได้ 11 จังหวัด 29 สายทาง  ดังนี้

-ภาคกลาง จำนวน 16 จังหวัด  55 สายทาง

1. จ.สุโขทัย  ( 13  สายทาง ได้แก่ ทล.1113  , ทล.12  , ทล.101 , ทล.1048 , ทล.1056 , ทล.1332 ,ทล. 1056, ทล.1113 , ทล.1347 , ทล.125 , ทล.1272 , ทล.1294 , ทล.1308)

2. จ.กำแพงเพชร  (4 สายทาง ได้แก่ ทล.1 , ทล.1117 , ทล.1242 , ทล.101)

3. จ.พิษณุโลก  ( 4 สายทาง ได้แก่ ทล.1065  , ทล.126 , ทล.1303 , ทล.12)

4. จ.นครสวรรค์ (2 สายทาง ได้แก่ ทล.3473 , ทล.225)

5. จ.เลย  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.201)

6. จ.หนองบัวลำภู  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.2097)

7. จ.เพชรบูรณ์  (5 สายทาง ได้แก่ ทล.21 , ทล.12 , ทล.225 , ทล.2275 , ทล.2007)

8. จ.ลพบุรี   (8 สายทาง ได้แก่ ทล.205 , ทล.2260 , ทล.1 , ทล.3017 , ทล.3326 , ทล.2243 , ทล.2247 , ทล.3353)

9. จ.อุตรดิตถ์  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.1339)

10. จ.สมุทรปราการ (2 สายทาง ได้แก่ ทล.3 , ทล.3268)

11. จ.กาญจนบุรี (3 สายทาง ได้แก่ ทล.323  , ทล.367 , ทล.3306)

12. จ.สุพรรณบุรี  (5 สายทาง ได้แก่ ทล.3488 , ทล.3306 , ทล.304 , ทล.33 , ทล.340)

13. จ.อ่างทอง  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.32)

14. จ.พระนครศรีอยุธยา  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.32 )

15. จ.สมุทรสาคร (2 สายทาง ได้แก่ ทล.35 , ทล.5)

16. จ.อุทัยธานี (2 สายทาง ได้แก่ ทล.3013  และ ทล.3456)

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 12 จังหวัด 45 สายทาง

17. จ.นครราชสีมา (18  สายทาง) ได้แก่  ทล.2 , ทล.201 , ทล.205 , ทล.2421 , ทล.24 , ทล.304 , ทล.304 , ทล.2090 , ทล.224 , ทล.2068 , ทล.2256 , ทล.2285 , ทล.2217 , ทล.2073 , ทล.2148 , ทล.2246 , ทล.226 , ทล.2369 

18. จ.มหาสารคาม (1 สายทาง ได้แก่ ทล.213 )

19. จ.ศรีสะเกษ (3 สายทาง ได้แก่ ทล.221 , ทล.2111 , ทล.226)

20. จ.สุรินทร์  (3 สายทาง ได้แก่ ทล.226  , ทล.2334 , ทล.214)

21. จ.อำนาจเจริญ  (1 สายทาง ได้แก่  ทล.202)

22. จ.กาฬสินธุ์  (6 สายทาง ได้แก่ ทล.2268 , ทล.12 , ทล.227 , ทล.2336 , ทล.2367 , ทล.2009)

23 จ.ขอนแก่น (5 สายทาง ได้แก่ ทล.12 , ทล.2187 , ทล.229 , ทล.2361 , ทล.201)

24. จ.ชัยภูมิ  (4 สายทาง ได้แก่ ทล.2170 , ทล.205 , ทล.201, ทล.2179)

25. จ.หนองคาย  ( 1 สายทาง ได้แก่ ทล.233)

26. จ.ยโสธร  ( 1 สายทาง  ได้แก่ ทล.23)

27. จ.มุกดาหาร ( 1 สายทาง ได้แก่ ทล.2169)

28. จ.อุบลราชธานี  (1 สายทาง ได้แก่ ทล.24)

-ภาคตะวันตก จำนวน 1 จังหวัด 7 สายทาง

29. จ.ตาก  (7 สายทาง ได้แก่  ทล.12 (ดินสไลด์ ตอน แม่ละเมา-ตาก และตอน กลางสะพานมิตรภาพ-แม่ละเมา) ทล.101 , ทล.201 , ทล.1 , ทล.1331 , ทล.1107 , ทล.1090)

-ภาคตะวันออก จำนวน 5 จังหวัด 9 สายทาง

30. จ.ชลบุรี ( 3 สายทาง ได้แก่ ทล.7 , ทล.315 , ทล.361)

31. จ.ตราด (1 สายทาง ได้แก่ ทล.3)

32. จ.ระยอง (2 สายทาง ได้แก่ ทล.7  , ทล.3)

33. จ.ปราจีนบุรี (1 สายทาง ได้แก่ ทล.3077 )

34. จ.สระแก้ว (2 สายทาง ได้แก่ ทล.3366  , ทล.3586)

-ภาคเหนือ จำนวน 2  จังหวัด 4 สายทาง

35. จ.เชียงใหม่ (3 สายทาง) ได้แก่  ทล.1012 ทล.107 , ทล.108)

36. จ.ลำพูน (1  สายทาง ได้แก่ ทล.3306)

-ภาคใต้ จำนวน 1 จังหวัด 1 สายทาง

37. จ.กระบี่  (1 สายทาง ได้แก่ ทล. 4206)

27 ก.ย. กระทบ 11 จังหวัด 29 สายทาง

โดยสถานการณ์อุทกภัยบนทางหลวงวันนี้ (27 กันยายน 2564)  เวลา 17.00 น พบการจราจรผ่านไม่ได้ 11 จังหวัด 29 สายทาง

1. จ.ชัยภูมิ  2 สายทาง ได้แก่ 

– ทล.201 (ตอน หนองบัวโคก-บ้านลี ที่ กม.84+-300) 

– ทล.2170  (ตอน วัดปทุมชาติ-หนองจาน ที่ กม.0+000-4+100 , กม.15+000-18+000)

2. จ.นครราชสีมา  3 สายทาง ได้แก่

– ทล.201  (ตอน ด่านขุนทด-หนองบัวโคก ที่ กม.กม.44+000- 48+300)

– ทล.2217 (ตอนด่านขุนทด-หนองกราด เป็นช่วงๆ หากเดินทางไป จ.ชัยภูมิ ใช้ ทล.2 แทน)

– ทล.2246 (ตอน โคกสี-ตะโก ที่ กม.49+945 หากเดินทางไป จ.ชัยภูมิ ใช้ ทล.202  หรือ ทล.2160 แทน)  

3. จ.สุโขทัย  6 สายทาง ได้แก่

– ทล.12 (ตอน เมืองเก่า-สุโขทัย  ที่ กม.168+178-กม.171+270 )

– ทล.101 (ตอน คลองโพธิ์-ท่าช้าง ที่ กม.79+969-82+000)

– ทล.125 (ตอน แจกัน-บ้านสวน ที่ กม.14+450-19+400)

– ทล.1347 (ตอน วัดโคก-สระบัว ที่ กม.1+800-3+200 หากเดินทางจาก จ.ตาก ไป จ.พิษณุโลก ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.12 แทน)

–  ทล.1195 ตอน สุโขทัย-เดวิด ที่ กม.0+000-1+900

4. จ.ลพบุรี 3 สายทาง ได้แก่

– ทล.2243 (ตอน บัวชุม-สี่แยกบัวชุม ที่ กม.0+340 และที่ กม.1+400)

– ทล.2260 (ตอน ลำสนธิ-ซับลังกา ที่ กม.1+800-2+500)

–  ทล.205 (ตอน เทศบาลลำนารายณ์-ช่องสำราญ ที่ กม.100+400 – กม.104+800 , กม.82+900 ทางลอดใต้สะพานแม่น้ำป่าสัก, ตอน ม่วงค่อม-คลองห้วยไผ่ ที่ กม.53+300-53+500 ,และตอน  ดงพลับ-ม่วงค่อม เป็นช่วงๆ เดินทางไป จ.ลพบุรี ใช้ ทล.2 หรือ ทล.21 แทน ) 

5. จ.กำแพงเพชร  1 สายทาง ได้แก่ ทล.1 (ตอน โนนปอแดง-ปากดง  เป็นช่วงๆ)

6. จ.อ่างทอง 1 สายทาง ได้แก่ ทล.32  (ตอน นครหลวง-อ่างทอง บริเวณจุดกลับรถใต้สะพานหลวงปู่ทวด)

5. จ.เพชรบูรณ์  2 สายทาง  ได้แก่ 

– ทล.21  (ตอน ศรีเทพ-ซับสมอทอด ที่ กม.112+700  -กม.116+000 และตอน คลองกระจัง-ศรีเทพ ที่ กม.99+000-102+500)

– ทล.2275 (ตอน แยกศรีเทพ-ซับบอน ที่กม.33+000-34+000 และที่ กม.44+000-48+500) 

7. จ.สุพรรณบุรี 2 สายทาง  ได้แก่

– ทล.33 (ตอน สุพรรณบุรี-นาคู   ที่ กม.9+886  สะพานคลองทับน้ำ)

–  ทล.340 (ตอน สาลี-สุพรรณบุรี ที่ กม.59+674 สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม)  

8. จ.นครสวรรค์ 6 สายทาง  ได้แก่

– ทล.11 (ตอน ตากฟ้า-ไดตาล ที่ กม.68+725 แ ละที่ กม.71+600-72+000 และ ไดตาล-น้ำสาดเหนือ ที่ กม.71+600-72+000 เดินทางไป จ.พิจิตร ใช้ ทล.1145 แทน)

– ทล.225  (ตอน เกยชัย-ศรีมงคล ที่ กม.82+000-84+500)

– ทล.1072 (ตอน ลาดยาว-เขาชนกัน  ที่ กม.62+000-63+000 และ กม.44+665 ใช้ทางเลี่ยง ทล. 1072 กม. 22+300 เลี้ยวซ้ายเข้า ทล. 3013 กม.42+900  มุ่งหน้าสู่ อ.ชุมตาบง ทล. 3473 กม. 27+500 เลี้ยวขวา เข้าสู่ ทล. 3504 มุ่งหน้าไปสู่ จ.กำแพงเพชร)

–  ทล.1119 (ตอน หนองผักหวาน-ท่าตะโก) ที่ กม.31+800-34+000

– ทล.3004  (ตอน ท่าตะโก-ไดตาล ที่ กม.49+000)

– ทล.3330 (ตอน เกษตรชัย-สำโรงชัย ที่ กม.20+200-29+000)

10. จ.อุทัยธานี 1 สายทาง ได้แก่ ทล.3456 (ตอน หนองกระดี่-คลองข่อย ที่ กม.3+604)

11. จ.ตาก 2 สายทาง ได้แก่

– 1175 (ตอน ห้วยส้มป่อย-เจดีย์ยุทธหัตถี  ที่ กม.23+606 – กม.83+606

– ทล.1090 (ตอน ห้วยน้ำริน-อุ้มผาง ที่ กม.148+750 – 148+900)

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586  (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1