1 ปี มหาดไทย ลุย “สำรวจ สะสาง เพื่อสร้างสุข” พุ่งเป้าแก้ไขปัญหาทุกครัวเรือน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน EP.02

1 ปี มหาดไทย ลุย “สำรวจ สะสาง เพื่อสร้างสุข”

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง ภารกิจที่คนมหาดไทยทุกคนจับมือร่วมกันกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง คือ “การพุ่งเป้าแก้ไขปัญหาความยากจน ผ่าน35 เมนูที่ครอบคลุมสภาพปัญหาทุกเรื่องของประชาชน ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว คือ ปัญหาข้อที่ (16) ไม่มีเงินออม โดยส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย ตลอดจนการส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มเติมจากรายได้ทางเดียว และการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและพึ่งพาตนเองที่เริ่มต้นจากครอบครัว ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 907,917 ครัวเรือน จาก 996,548 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 91.11

(17) ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำนัน ผญบ. เจ้าหน้าที่ปกครองฝ่ายความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าตรวจตรา ลาดตระเวน จัดให้มีเวรยามและตั้งด่านรักษาความสงบในจุดเสี่ยง เพื่อความปลอดภัยในพื้นที่ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 227,919 ครัวเรือน จาก 257,059 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.66

(18) ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด โดยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัย คอยตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยโดยฝ่ายปกครอง/ตำรวจเข้าดูแลพื้นที่ จัดกิจกรรมการป้องกันกลุ่มเสี่ยง ปราบปรามผู้กระทำผิด บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยผู้ติดยาเสพติด รวมถึงประสานงานไปยังสถานีตำรวจในพื้นที่ สอดส่องตรวจสอบบุคคลที่มีพฤติกรรมยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และร่วมกันรณรงค์หมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด/สอดส่องคนในชุมชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 256,183 ครัวเรือน จาก 286,157ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.53

(19) มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือ โดยประสานโรงพยาบาล/รพ.สต.ในพื้นที่ ลงพื้นที่ให้การดูแลรักษา จัด อสม.ติดตาม ดูแล และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการช่วยเหลือ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 182,362 ครัวเรือน จาก 206,268 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.41

(20) มีผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือ โดยประสานโรงพยาบาล/รพ.สต.ในพื้นที่ ลงพื้นที่ให้การดูแลรักษา จัด อสม.ติดตาม ดูแล บูรณาการหน่วยงานในสังกัด พม. ให้การช่วยเหลือ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค สิ่งของที่จำเป็นและมอบยาเวชภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ประสานสาธารณสุขเข้าไปดูแลในส่วนของการรักษาพยาบาลและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการช่วยเหลือ จัดการแพทย์เคลื่อนที่ให้การรักษาพยาบาล ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 185,794 ครัวเรือน จาก 209,358 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.74

(21) มีผู้พิการไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือ โดยมอบรถเข็นผู้พิการและเครื่องอุปโภค​บริโภค​ พร้อมแนะนำผู้ดูแลในเรื่องการดูแลผู้พิการ จัด อสม.ติดตาม ดูแล และประสานหน่วยงานในสังกัด พม. ให้การช่วยเหลือ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 187,250 ครัวเรือน จาก 210,941 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.77

(22) มีผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือ โดยจัดกิจกรรมเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุ ตรวจสอบและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค สิ่งของที่จำเป็น ยาเวชภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงให้ความรู้วิธีการการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 212,854 ครัวเรือน จาก 238,959 ครัวเรือ คิดเป็นร้อยละ 89.08

(23) ไม่สามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลได้ โดยประสาน อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ในพื้นที่ เข้าช่วยเหลือ รวมถึงประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขเยี่ยมบ้าน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 214,821 ครัวเรือน จาก 240,860 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.19

(24) มีคนในบ้านไม่มีบัตรประชาชน โดยนำเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน และในกรณีที่มีหลักฐานทางการทะเบียนอื่นยืนยัน ได้มีการพาไปจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 33,951 ครัวเรือน จาก 33,972 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99

(25) บ้านที่อยู่อาศัยไม่มีบ้านเลขที่ โดยแจ้งเจ้าของบ้านในฐานะเจ้าบ้านนำเอกสารหลักฐานมาแจ้งขอเลขประจำบ้าน และให้นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบสภาพบ้านและดำเนินการตามขั้นตอนการขอเลขประจำบ้านและทะเบียนบ้าน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 186,915 ครัวเรือน จาก 186,934 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99

(26) ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หมู่บ้าน/ชุมชนที่สำรวจ โดยตรวจสอบข้อเท็จจริง สภาพแวดล้อม พยานแวดล้อม เอกสารหลักฐานยืนยันตัวตน และอำนวยความสะดวกประสานสำนักทะเบียน/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มชื่อ/ขอคืนรายการชื่อและรายการบุคคลรวมถึงการแนะนำการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านให้ตรงตามภูมิลำเนาหรือย้ายเข้าทะเบียนบ้านตามที่ประสงค์ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 192,557 ครัวเรือน จาก 192,573 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99

(27) ไม่มีทางเข้าบ้าน โดยได้ประสาน อปท. จัดทำทางเข้าบ้านให้ครัวเรือนที่เดือดร้อน รวมถึงเข้าไปให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยใช้กลไกศูนย์ดำรงธรรม และประสานเจ้าของที่ดินข้างเคียงเพื่ออนุญาตใช้เป็นทางสัญจรได้ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 154,963 ครัวเรือน จาก 178,563 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 86.78

(28) ไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยติดต่อขอใช้ไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่เดือดร้อนกับการไฟฟ้ารวมถึงจัดหาแผงโซลาเซลล์และประสานบ้านข้างเคียงเพื่อขอพ่วงใช้ไฟฟ้าบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 179,708 ครัวเรือน จาก 218,313 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 82.32

(29) ไม่มีประปาใช้ โดยดำเนินการขยายเขตบริการประปาหมู่บ้าน และต่อประปาให้ครัวเรือนที่เดือดร้อนใช้สำหรับอุปโภคบริโภค รวมถึงจัดหาแหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อน้ำ บ่อบาดาลสำหรับแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 363,075 ครัวเรือน จาก 407,327 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 89.14

(30) มีคนในบ้านเป็นหนี้นอกระบบ โดยการไกล่เกลี่ยผ่านกลไกศูนย์ดำรงธรรม รวมถึงให้คำแนะนำในการจัดหาสถาบันการเงินในระบบ ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 252,672 ครัวเรือน จาก 286,895 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 88.07

(31) มีคนในบ้านถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ โดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สนง.พมจ. สนง.แรงงานจังหวัด สนง.จัดหางานจังหวัด ให้การช่วยเหลือแนะนำ และให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สร้างการรับรู้การไปทำงานต่างประเทศ รวมถึงให้คำแนะนำในการดำเนินคดีและติดตามผู้ที่ถูกหลอกลวง ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 155,654 ครัวเรือน จาก 177,078 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 87.90

(32) มีคนในบ้านถูกหลอกลวง ถูกโกง โดยประสานตำรวจให้การช่วยเหลือทางกฎหมาย และใช้กลไกศูนย์ดำรงธรรมในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือครัวเรือนที่เดือดร้อน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 192,819 ครัวเรือน จาก 217,168 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.79

(33) มีคนในบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยใช้กลไกศูนย์ดำรงธรรมในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือครัวเรือนที่เดือดร้อน ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 116,171 ครัวเรือน จาก 124,939 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 92.98

(34) ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน (มีที่ดินทำกิน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์) โดยการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในการยื่นเรื่องขออนุญาตทำกินในพื้นที่ของหน่วยงานนั้น ๆ และดำเนินการแก้ไขปัญหาตามโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล (คทช.) ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 1,201,998 ครัวเรือน จาก 1,653,239 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 72.71 และ

(35) สภาพปัญหาอื่น ๆ โดยหมั่นลงพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหา ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข และติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว 221,579 ครัวเรือน จาก 236,385 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 93.74

นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า จากผลการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความยากจน และความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในทุกเรื่อง เป็นการสะท้อนถึงภารกิจในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของชาวมหาดไทยที่มีเจตนาเพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะหน้าที่ของ “ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ “ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย” คือ การมุ่งมั่นก้าวข้ามทุกอุปสรรคเพื่อทำให้พี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยมี “แม่ทัพ” ในพื้นที่ คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายกรัฐมนตรีของพื้นที่ และท่านนายอำเภอในฐานะนายกรัฐมนตรีของอำเภอ เป็นผู้นำการบูรณาการทุกภาคส่วน ร่วมแก้ปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนของผู้คนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งที่เป็นงบราชการและไม่ใช่งบราชการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะไม่หยุดลงเพียงแค่นี้ เพราะงานของพวกเราในหลายพื้นที่อาจจะเสร็จ “แต่ยังไม่สำเร็จ”

ดังนั้น พวกเราชาวมหาดไทยทุกคนจะยังคงลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหา ติดตามการพัฒนาคุณภาพชีวิต และติดตามความสำเร็จของพี่น้องประชาชนในแต่ละครัวเรือนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เราจะอยู่เคียงข้างอย่างใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนทุกคนเสมือนญาติพี่น้อง ญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวใหญ่ นั่นคือ “ครอบครัวประเทศไทย” เราจะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่อย่างยั่งยืนตลอดไป