ไขกุญแจความสำเร็จ “ท่าจอดเรือยอชท์รักษ์โลก” แห่งแรกเอเชีย สู่ความยั่งยืน

ไขกุญแจความสำเร็จ “ท่าจอดเรือยอชท์รักษ์โลก” แห่งแรกเอเชีย สู่ความยั่งยืน

เป้าหมายหลักของไทย คือ จะผลักดันให้ประเทศเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ดังนั้นจึงทำให้ปัจจุบันภาคธุรกิจต่างเดินหน้าทำธุรกิจที่เป็นสีเขียว โดยเฉพาะการหันมาใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคการท่องเที่ยวไทยนับว่าเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการรักษ์โลก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะปัจจุบันนักท่องเที่ยวทั่วโลกหันมาท่องเที่ยวแนวรักษ์โลกกันมากขึ้น

หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ คือ จังหวัดภูเก็ต โดยมีจุดเด่น คือ ทะเลที่สวยงาม รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียบพร้อม ครบครัน ทันสมัย ทั้งนี้ข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยว 2 เดือนแรกของปี 2567 จาก ท่าอากาศยานภูเก็ต ระบุว่า มีนักท่องเที่ยวเข้าภูเก็ตแล้ว 1,036,667 คน เติบโตจากจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า 27% ซึ่ง 10% ของจำนวนนี้เดินทางมายัง รอยัล ภูเก็ต มารีน่า โดยเป็นต่างชาติ 98% รัสเซียเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา และจีน ตามลำดับ ส่วนอีก 2% คือ นักท่องเที่ยวคนไทย

แน่นอนว่าภูเก็ต คือ สวรรค์ของนักเดินทางจากทั่วโลก แต่ปัจจุบันก็มีผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วันนี้จะพามาดูกลยุทธ์ของ ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ จากท่าเรือปลอดคาร์บอนหนึ่งเดียวของเอเชีย ที่กำลังก้าวสู่ฮับ ‘Sustainable Living Lifestyle’ ครบวงจรทุกรูปแบบ โดย “คุณกูลู ลัลวานี” ประธานบริษัท และผู้ก่อตั้งโครงการรอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) เปิดเผยว่า ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า‘ (RPM : Royal Phuket Marina) คือผู้ให้บริการท่าจอดเรือยอชท์ชั้นนำในภูเก็ต ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นท่าเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย รวมทั้งยังเป็นโครงการ Mixed-use เพียงแห่งเดียวของภูเก็ตที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน

ในขณะเดียวกัน RPM ยังเป็นท่าเรือแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น Gold Anchor Certification ระดับ 5 จาก สมาคมท่าเรือยอชท์ และรางวัล International Clean Marina Award จาก MIA ในฐานะผู้บุกเบิกแนวทางปฏิบัติการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมเพื่อลด CO2 Emission เพื่อรักษา Biodiversity ในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘Sustainability is Our Key Priority‘

จากเดิมคือผู้ให้บริการจอดเรือยอชท์ จากนี้ไปจะขยับมามาสู่ Lifestyle Destination  ซึ่งจะเป็นไลฟ์สไตล์ในตลาดระดับ Luxury ตั้งเป้ากลุ่มเป้าหมายโครงการ คือ Billionaire หรือกลุ่มมหาเศรษฐีเจ้าของเรือยอทช์จากทั่วโลก ซึ่งมีพื้นที่โครงการ 185 ไร่ ปัจจุบันได้พัฒนาไปแล้วราว 35% ให้บริการท่าจอดเรือยอทช์กว่า 250 ลำ รวมทั้งการพัฒนาที่พักอาศัยระดับ 5 ดาว ทั้งอพาร์ทเมนต์ เพนท์เฮ้าส์ รวมทั้งวิลล่าและอความิเนียม (ที่พักพร้อมท่าจอดเรือส่วนตัว) ครบครัน

สำหรับกลยุทธ์ที่ท่าจอดเรือแห่งนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย “รอยัล ภูเก็ต มารีน่า” ท่าจอดเรือรักษ์โลก ต้องการก้าวสู่ ‘Sustainable Living Lifestyle’ พร้อมเดินหน้าเป็นแห่งการรักษ์โลก โดยมีรายละเอียดแผนงงาน ดังนี้

  • ตั้งจุดเติมน้ำดื่ม 5 จุด ลดการใช้ขวดพลาสติก
  • มีจุดแยกขยะ ตั้งเป้าลดขวดพลาสติกกว่า 4 ล้านขวดต่อปี
  • มีเรือเก็บขยะออกไปเก็บขยะในทะเล
  • มีการตรวจวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
  • มีการจัดการเรื่องขยะอาหาร
  • รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวช่วยกันลดขยะ
  • ให้ความรู้กับผู้ประกอบการผู้เช่า บริษัททัวร์
  • นำขยะอาหารไปทำเป็นปุ๋ยหมัก
  • ตั้งเป้าปี 2025 สู่ Carbon Neutrality
  • ตั้งแผงโซลาร์เซลล์ อาคารเก็บเรือ ติดตั้งแล้ว รวม 173.44 kWp
  • กำลังจะติดตั้ง Future plan (Tennis court roof) ขนาดประมาณ 100 kWp แล้วเสร็จประมาณ ปลายปี กลางปี2567
  • ขณะนี้โซลาร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้าได้ 45 % ตั้งเป้าอนาคต 100%
  • ตั้งจุด Monitor คุณภาพอากาศ
  • มีแนวคิดทำเรือ EV ที่ใช้พลังงานสะอาด
  • ปั้นเศรษฐกิจภูเก็ต สร้างอาชีพชุมชน จ้างงานพนักงานจากภูเก็ตกว่า 31 % ( 29 คน จากพนักงานทั้งหมด 95 คน)
  • กิจกรรมมอบถังขยะรีไซเคิล และกล้องวงจรปิด ให้กับโรงเรียนบ้านเกาะนาคา

อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จ และความพยายามของ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า ได้ตอกย้ำการก้าวสู่การเป็นท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย กำหนดนิยามใหม่ของความสำเร็จด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทางทะเล ณ สวรรค์ใจกลางภูเก็ต จนได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย หรือ อบก. ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศเพื่อต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อน

“หนึ่งในความตั้งใจของเราคือ การมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาที่ยั่งยืนในกลุ่ม Top Tier ได้ในทิศทางเดียวกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่ โดยเราจะมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน การพัฒนานวัตกรรม หรือเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม ยกระดับการจากการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนที่สามารถบรรลุได้แล้ว ไปสู่เป้าหมายใหม่ในการสร้าง Sustainability Living เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถเป็น Global Best Practice เพื่อเป็นหนึ่งตัวอย่างที่สามารถสื่อสารถึงการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน” กูลู ลัลวานี กล่าว