กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองฮิตชาวสตาร์ทอัพในเอเชีย-ติดอันดับ 7 ของโลก

ข่าวดีนี้ได้รับการยืนยันจาก “ดร.อรรชกา สีบุญเรือง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลังจัดงาน “Startup Thailand 2017 – Scale up Asia” จบไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า กรุงเทพฯ ครอบอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุดสำหรับชาวสตาร์ทอัพในเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก เราแซงฮ่องกงและสิงคโปร์ที่ถือว่าเป็นสถานที่อันดับต้นที่เหมาะสมกับการเริ่มต้นธุรกิจ และมีความสามารถในการแข่งขันสูง

แต่จากผลสำรวจของ PeoplePerHour บริษัทจัดหางานอิสระ ผู้จัดทำตัวชี้วัดเพื่อจัดอันดับโดยใช้เกณฑ์วัดจากค่าครองชีพ ค่าเช่า เงินเดือน และประเทศที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการประกอบธุรกิจ กลับกลายเป็นว่ากรุงเทพมีตัวเลขของการเติบโตของธุรกิจ Startup ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แวนคูเวอร์ ได้ถูกจัดอันดับยกให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดในโลกสำหรับธุรกิจ Startup แน่นอนว่าเมืองหลวงของประเทศแคนนาดาสามารถคว้าอันดับหนึ่งได้โดยวัดผลจากคุณภาพชีวิตที่ดี มีช่องทางง่ายต่อการเข้าถึงพื้นที่สำนักงาน และสามารถเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทได้อย่างง่ายดาย อันดับสองตกเป็นของเมืองเบอร์ลินจากทวีปยุโรป อันดับรองลงมาคือเมืองแมนเชสเตอร์จากประเทศอังกฤษ

ขณะที่ กรุงเทพฯ ของเราได้รับความสนใจในกลุ่มเทคโนโลยีทางการเงิน : FinTech และในกลุ่มอื่นๆ ด้วย ซึ่งทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์กลางที่เหมาะสมสำหรับการผลักดันธุรกิจดังกล่าวสู่ภูมิภาคอาเซียนไปพร้อมกับประชากรจำนวนมหาศาลและการเติบโตของชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ยังมีเมืองหลวงประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีรายชื่ออยู่ใน 10 อันดับ ได้แก่ บังคาลอร์ กัวลาลัมเปอร์ ส่วนสิงคโปร์ ติดโผมาอยู่อันดับที่ 12 ดีกว่าฮ่องกงที่ผู้ประกอบการยังคงต้องต่อสู้ดิ้นรนกับค่าที่อยู่อาศัยและค่าใช้จ่ายสำนักงานที่สูงขึ้นและไม่มีวี่แววว่าจะเป็นเมืองที่ติด 1 ใน 25 อันดับต้นๆ อีกด้วย

“ดร.อรรชกา” กล่าวเพิ่มเติมว่า นี่คือความสำเร็จที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสตาร์ทอัพอย่างจริงจัง เราใช้ทั้งกลไกสนับสนุนและการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาคมสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างนักรบทางเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ นั่นคือผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

ปัจจุบันเรามีสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงพัฒนาแนวคิด (Idea startup) กว่า 8,000 ราย เกิดสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและเริ่มดำเนินธุรกิจจริงอีกกว่า 1,500 ราย เกิดการจ้างงานใหม่ไม่น้อยกว่า 7,500 อัตรา ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะกลายเป็นกำลังแรงงานที่มีทักษะทางเทคโนโลยีและทักษะด้านความเป็นผู้ประกอบการสูงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ

และยิ่งไปกว่านั้น เราเห็นการเติบโตของการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นสูงจากปีก่อนกว่า 150% เกิดความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ กระจายไปในทุกภาคส่วนอีกด้ว