
ดวงอาทิตย์ร้อนด้วยเหตุผลง่าย ๆ ครับ มันมีมวลมหาศาล แรงบัดอัดมหาศาลเกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงที่บีบอัดสสาร ณ ใจกลางดวงอาทิตย์
เมื่อก๊าซถูกบีบ มันจะร้อนขึ้น คนที่เคยสูบลมจักรยานคงทราบกันดี ในแกนกลางดวงอาทิตย์ ก๊าซถูกบีบจนอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
ด้วยอุณหภูมิที่สูงเช่นนั้น สสารหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันไม่สามารถระบุสถานะได้ หรือเรียกว่า “พลาสมา” ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นสสารชนิดใดก็ตาม
ดวงอาทิตย์คือก๊าซไฮโดรเจนหนักล้านล้านตัน ต่อให้เป็นกล้วยหนักล้านล้านตันกองไว้ในที่เดียวกันก็คงร้อนพอกัน
ข้อเท็จจริง : อุณหภูมิของดวงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับปริมาณสสารที่อยู่ในดวงอาทิตย์ หาใช่ส่วนประกอบไม่ (แม้ส่วนประกอบจะมีส่วนเล็กน้อยในการกักเก็บความร้อนภายใน)
แต่การที่สสารถูกบดอัดในศูนย์กลางดวงอาทิตย์อธิบายเพียงว่า ทำไมดวงอาทิตย์จึงยังร้อนอยู่ในขณะนี้ แต่ไม่ได้อธิบายว่าทำไมมันจึงยังร้อนต่อเนื่องซึ่งเป็นคนละคำถามโดยสิ้นเชิง
ดวงอาทิตย์สูญเสียความร้อนสู่อวกาศอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นมันก็ไม่เคยเย็นลง ดังนั้น ต้องมีบางอย่างที่คอยสร้างความร้อนทดแทนได้เร็วพอ ๆ กับที่มันสูญเสียความร้อน แต่มันคืออะไรล่ะ ?
คำตอบคือ พลังงานนิวเคลียร์ ดวงอาทิตย์กำลัง “หลอมรวม” แกน หรือ “นิวคลิไอ” ของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่เบาที่สุด ให้กลายเป็นธาตุที่เบาเป็นอันดับสอง ฮีเลียม ผลพลอยได้ก็คือแสงอาทิตย์
เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ไร้ประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่เราจะนึกได้ โดยเฉลี่ยนิวเคลียสของไฮโดรเจน 2 ตัวในดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาถึงหมื่นล้านปีกว่าจะเจอและรวมตัวกันได้
แต่เราควรจะดีใจที่การรวมตัวนั้นกินเวลานาน และดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลานับหมื่นล้านปีในการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งนานพอสำหรับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงเช่นเรา
เพื่อให้เข้าใจเรื่องความเชื่องช้าของดวงอาทิตย์ ลองนึกถึงกระเพาะของคุณ เทียบกับแกนของดวงอาทิตย์ที่มีปริมาตรเท่ากระเพาะของคุณ กระเพาะของคุณจะผลิตความร้อนมากกว่า
คำถาม : ถ้าการผลิตความร้อนของดวงอาทิตย์นั้นไม่มีประสิทธิภาพ ทำไมดวงอาทิตย์จึงร้อน ? คำตอบ : เพราะมันมีปริมาตรเท่ากระเพาะจำนวนนับไม่ถ้วนเรียงกันไงล่ะครับ !
ขอบคุณที่มาจากหนังสือ “ทวิตภพสยบจักรวาล Tweeting the Universe” มาร์คัส โชวน์และโกเวิร์ท ชิลลิ่ง เขียน รุ่งกานต์ รุจิวรางกุล แปล จากสำนักพิมพ์มติชน สั่งซื้อหนังสือส่งตรงถึงบ้านได้ที่ www.matichonbook.com