‘AIS The Startup’ เผย 10 หลักการ สร้างไทยให้เป็น Makers United ต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพไปได้ไกลกว่าเดิม

AIS The Startup ผู้ผลักดันและสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการ Digital Startup และ Tech SMEs ไทย ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘Partnership for Inclusive Growth’ ทั้งยังมุ่งนำขีดความสามารถของดิจิทัลโครงข่าย และเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม รวมถึงองค์ความรู้แขนงต่างๆ มาร่วมพัฒนาต่อยอดให้การดำเนินธุรกิจของเหล่าสตาร์ทอัพไปได้ไกลกว่าเดิม 

ซึ่งภายในงาน Makers United 2023 โดย สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย เป็นเวทีที่มัดรวมเหล่าผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัพมาไว้ด้วยกัน และ AIS The Startup โดย ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The Startup ก็ได้มาร่วมเผยแนวคิดแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ Startup หรือผู้ต้องการลงทุน Startup ด้วยการแนะนำเทคนิคตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงประสบความสำเร็จในเส้นทางสตาร์ทอัพบนเวทีแห่งนี้

ดร.ศรีหทัย กล่าวว่า ปัจจุบันโลกยุคดิจิทัลเปิดกว้างยิ่งขึ้น คู่แข่งทางการค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Startup Thailand ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ก็ต้องมีการศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งจาก Maker กลุ่ม startup หรือผู้ประกอบการต่างๆ ต่อมาเป็นการศึกษากลุ่ม User โดยการเรียนรู้พฤติกรรม อาทิ ใช้ช่องทางอะไรในการติดต่อ มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าอย่างไร เป็นต้น 

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีตัวกลางที่คอยเชื่อมระหว่าง Maker และ User นั่นคือ Connector ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือ ซัพพลายเออร์ ที่เป็นองค์กรจัดหาสินค้าและบริการให้กับธุรกิจอื่น รวมถึงยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ที่มาเป็นตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาเจอกันได้ เสมือนเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อน โครงการ Startup ในไทย

“สิ่งที่เน้นย้ำเสมอ คือ เราไม่ได้เป็นเพียงผู้ที่ให้การสนับสนุนเท่านั้น แต่ต้องมีแนวคิดว่า เราทุกคนต้องร่วมกันสร้างไม่ใช่รอให้ Maker ทำสำเร็จแล้วค่อยมาซัพพอร์ตในภายหลัง ต้องจับมือกันและก้าวไปพร้อมกันจึงจะประสบความเร็จได้อย่างแท้จริง” ผู้จัดการด้าน AIS The Startup เน้นย้ำ

ดร.ศรีหทัย พราหมณี

10 หลักการ สร้างไทยให้กลายเป็น Maker United

Advertisment

และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่า สตาร์ทอัพของคุณมีศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน ก็ต้องมีการปรับธุรกิจให้ตอบโจทย์กับความต้องการ และต้องอาศัยความเพียรพยายามขั้นสูงสุดจึงจะประสบความสำเร็จได้

ซึ่ง ดร.ศรีหทัย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านแนวคิด ’10 Years 10 Attributes For Thai Industry To Drive Thai Makers’ เป็น 10 หลักการ ที่จะทำให้คนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ Startup สามารถร่วมกันสร้างให้ไทยกลายเป็น Maker United และเกิดเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถขับเคลื่อนประเทศต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

Advertisment
  1. Deep Understanding Industry Dynamics & Economic Landscape ต้องมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมของตนเองและอุตสาหกรรมใกล้เคียง การเข้าใจไม่ใช่จะเข้าใจเพียงแค่ทฤษฎี แต่ต้องเข้าใจทั้งบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วย กล่าวคือ ไม่ใช่แค่รู้ แต่ต้องรู้สึกและรู้จริงในอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งเมื่อเข้าใจจะสามารถหาโอกาสในการเชื่อมการทำงานร่วมกันได้
  2. Problem-Solving Orientation and Risk Mitigation เมื่อสามารถทำความเข้าใจในอุตสาหกรรมได้แล้ว จะต้องเป็นนักแก้ปัญหา หมายความว่าหากแก้ปัญหาหนึ่งอย่างแล้ว ก็จะสามารถเจอปัญหาอื่นๆ ได้อีก ดังนั้น นอกจากการแก้ปัญหาแล้ว จะต้องรู้จักบริหารความเสี่ยงจากการแก้ปัญหานั้นด้วย
  3. Resource Mobilization ต้องมีความสามารถที่จะรู้ว่าใครคือ Right People ในเรื่องๆ นั้น เพื่อจะ Connect Right People ให้เข้ากับ Right Opportunity ได้ ซึ่งโอกาสที่ดีก็จะถูกขับเคลื่อนด้วยคนที่ถูกต้องนั่นเอง
  4. Adaptability สามารถจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เมื่อจะต้องเป็นผู้ช่วยในการขับเคลื่อน เราจะเจอกับสิ่งที่หลากหลาย ซึ่งต้องดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสิ่งๆ นั้น
  5. Result-Oriented หากจะทำอะไรให้มองถึงจุดมุ่งหมายที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในระยะเวลาที่กำหนด และจะต้องโฟกัสในเรื่องคุณค่า และสร้างคุณค่าให้ได้ในแต่ละอย่างที่กำลังจะทำในธุรกิจ แล้วสามารถแชร์แนวคิดต่างๆ ออกมาสู่ผู้อื่นได้
  6. Strong Networking Skill ผู้ที่จะทำเรื่องนี้ต้องมี Networking Skills หากเปรียบคือ เมื่อเราไปร่วมงานปาร์ตี้ เราจะต้องรู้ว่าใครเป็นผู้ร่วมงานบ้าง และมีเป้าหมายจะคุยกับใครในนั้น เพื่อใช้เวลาใน Networking ให้มีคุณค่า รวมถึงจะต้องหาให้ได้ว่าจะทำอย่างไร ให้สามารถคุยกับคนที่เป็น Right People ได้
  7. Trustworthiness and Credibility ผู้ที่เป็น Connector หรือเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม ต้องมีความน่าเชื่อถือ และเป็น Partnership Builder ซึ่งสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องมี คือ Trust Point กล่าวคือ เมื่อมีคนมาคุยกับเรา บุคคลนั้นต้องไว้ใจเราได้ และเราต้องมีความซื่อสัตย์เพียงพอที่จะทำให้ผู้ที่มาคุยกับเราสามารถเล่าถึงปัญหา พร้อมทั้งให้เราช่วยแก้ปัญหาตรงนั้นให้ได้
  8. Excellent Communication Skills การที่จะถ่ายทอดข้อมูลออกไปให้กับคนที่แตกต่างกัน ต้องใช้ทักษะและวิธีการที่แตกต่างเช่นกัน เนื่องด้วยการถ่ายทอดข้อมูลนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรากำลังจะกล่าวถึงเรื่องอะไร แต่อยู่ที่คนรับสารว่า จะเข้าใจและสามารถนำเอาไปปรับใช้ต่อได้อย่างไร เพื่อให้ทุกคนทำในสิ่งเดียวกันในวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายเดียวกัน
  9. Continuous Learning การจะประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะในวงการอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา
  10. Patience & Persistence ต้องอดทนและมุ่งมั่นกับสิ่งที่เจอ ทั้งอดทนที่จะเจอกับความล้มเหลว แล้วพร้อมที่จะเรียนรู้ รวมถึงอดทนที่จะแก้ปัญหา และอดทนในการสร้างขึ้นมาใหม่ และมุ่งมั่นกับสิ่งนั้นต่อไป

และนี่คือ 10 หลักการ จาก AIS The Startup ที่ทำให้คุณกลายเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ของอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนประเทศและสร้างให้ไทยกลายเป็น Makers United ต่อไป

AIS The Startup มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพไทย สร้างเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร.ศรีหทัย เพิ่มเติมอีกว่า สิ่งที่ AIS The Startup มุ่งมั่นทำมาตลอด คือ การสร้าง Partnership ที่ขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจแบบดิจิทัลร่วมกับกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งปัจจุบันเราสามารถสร้างการขับเคลื่อนดังกล่าวนี้ออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการทํางานที่เรียกว่า Partnership Model หรือ Business Model เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการทำงานร่วมกับองค์กรใหญ่ได้

ซึ่งแนวทางการดำเนินงานจะเป็นการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และต้องสอดคล้องกับการประเมิน Business Impact จากความร่วมมือแต่ละครั้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ Revenue Impact, Productivity Impact และ Customer Experience Impact

“AIS The Startup มีแพลตฟอร์มให้สตาร์ทอัพเอาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโปรโมทนำขึ้นไปวางบนแพลตฟอร์ม แล้วเราทําหน้าที่ช่วยโปรโมทไปสู่ลูกค้าให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก รวมถึงลูกค้าจะได้ทดสอบและทดลองใช้ด้วย ซึ่งสิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้รับ คือ ได้ฐานลูกค้าและข้อมูลการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เปรียบเสมือนเราเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการนั่นเอง”

ผู้จัดการด้าน AIS The Startup บอกด้วยว่า ความเก่งของสตาร์ตอัพ คือ การสร้างเซอร์วิสที่โดนใจลูกค้า ส่วนความชำนาญของเอไอเอส คือ การทำงานอย่างมีระบบ เอามาบวกกันอย่างไรให้เราสามารถที่จะสร้าง Digital Service สู่ลูกค้าได้ในเวลาที่รวดเร็วและมีระบบมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันเอไอเอสมีสตาร์ทอัพกว่า 200 ราย ที่ทำงานร่วมกัน ดังนั้น ผลงานจึงเป็นที่ประจักษ์ว่าเราไม่ได้มีแค่แผน แต่มีผลงานออกมาจริง

“วันนี้ AIS The Startup ได้มุ่งมั่นผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้ง Digital Startup และ Tech SMEs ให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมาแล้วมากมาย ซึ่งผู้ประกอบการต่างๆ ได้นำไปต่อยอดธุรกิจ สร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรม จนกลายเป็นส่วนผสมสำคัญที่ช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศเติบโตและขับเคลื่อนไปได้อย่างยั่งยืน”

หากมีสตาร์ทอัพไทยรายใดสนใจจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว AIS The Startup สามารถส่งผลงานเข้ามาได้ที่เว็บไซต์ www.ais.co.th/thestartup หรือ facebook/aisthestartup เพื่อเข้าร่วม Monthly Online Pitching ได้ทุกเดือน และต้องบอกว่า AIS The Startup ไม่เพียงแต่เปิดกว้างสตาร์ทอัพทุกสเตจเท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างสตาร์ทอัพทุกประเภทธุรกิจ และทุกประเภทเทคโนโลยีอีกด้วย

#AISTheStartUp #ThaiStartup #MakersUnited2023 #FromUsersToMakers #สตาร์ทอัพ
#StartupThailand #Startup #สตาร์ทอัพ #ธุรกิจStartup #ธุรกิจสตาร์ทอัพ #ลงทุนStartup #โครงการStartupในไทย