ส่อง Mindset ผู้หญิง ผู้ผลักดันองค์กรสู่ Cognitive Tech-Co ต้อนรับวันสตรีสากล

วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีนับเป็น ‘วันสตรีสากล’ หรือ International Women’s Day วันสำคัญที่ทั่วทั้งโลกต่างรำลึกถึงการต่อสู้ เรียกร้องสิทธิ ร่วมสร้างสังคมที่ผู้หญิงมีสิทธิ เสียง โอกาสเท่าเทียม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของ 5 หญิงแกร่งแห่ง AIS ที่จะมาเผย

ถึงประสบการณ์การทำงาน ความสำเร็จ แรงผลักดัน ที่เกิดจากการทำงานที่ AIS องค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียม พร้อมพัฒนาศักยภาพด้วยวัฒนธรรมการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบไร้ขีดจำกัด ภายใต้การสนับสนุนความหลากหลาย และยอมรับความแตกต่างของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งไม่มีการจำกัดหรือเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

หญิงแกร่ง ผู้อยู่เบื้องหลังการก้าวสู่ Cognitive Tech-Co  

โอปอล เลิศอุทัย

โอปอล เลิศอุทัย หัวหน้าฝ่ายงานบริหารข้อเสนอและผูกพันลูกค้า เอไอเอส Head CRM ผู้วางรากฐาน โปรแกรมดูแลลูกค้าของ AIS เล่าถึงมุมมองของคำว่า ‘โอกาส’ ไว้ว่า โอกาสก็เหมือนกับงานวันนี้ที่ดูแลอยู่ เป็นการมอบโอกาสที่จะเข้าถึงประสบการณ์จากงานบริการของเอไอเอสให้แก่ลูกค้ากว่า 45 ล้านราย ผ่าน Digital Platform อย่าง myAIS  

“โอกาส ในมุมของปอล ในฐานะของคนที่ไม่เคยทำงาน Telco มาก่อนมันสนุกและท้าทายมาก เพราะเราได้มีโอกาสทำงานท่ามกลางพี่ๆ น้องๆ ที่เต็มเปี่ยมด้วยหัวใจบริการ และรักลูกค้า เป็นห่วงลูกค้าในทุก Journey จึงเป็น โอกาส ที่สำคัญมากๆ สำหรับปอล ที่จะได้เข้ามา Integrate เส้นทางการดูแลลูกค้าให้เป็นเส้นเดียวกัน เติมส่วนผสมจากประสบการณ์กว่า 10 ปี ที่ผ่านมาให้ โอกาส นี้สามารถสร้าง Growth ความพึงพอใจจากลูกค้าให้โตแบบก้าวกระโดดได้ หากถามว่า โอกาส ของผู้หญิงใน AIS เป็นอย่างไร ปอล ตอบได้ทันทีว่าที่นี่ Genderless สิทธิ เสรีภาพ โอกาสในการแสดงความสามารถเท่าเทียมกันสุดๆ”  

ดร.ศรีหทัย พราหมณี

ด้านหญิงแกร่งแห่ง AIS The StartUp ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้าน AIS The StartUp  คนสำคัญที่ช่วยต่อยอด และเติมเต็มศักยภาพ สนับสนุนสตาร์ทอัพในเมืองไทย กล่าวถึงบทบาทในการทำงานว่า โอกาสที่ได้รับในการทำงานที่ AIS ถือเป็นความท้าทาย เนื่องจากต้องมีความเป็นผู้นำสูง เพราะการทำงานกับกลุ่มสตาร์ทอัพ ความท้าทายคือเราไม่ได้นำแค่กลุ่มคน แต่เรานำธุรกิจและอุสาหกรรม ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญที่ AIS มอบโอกาสให้ตนเองได้มาทำงานในส่วนนี้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ และไม่ว่าจะได้รับบทบาทไหน ตนเองก็ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด เพราะงานที่ทำไม่ใช่แค่เพียงช่วยให้ AIS บรรลุพันธกิจขององค์กร แต่สิ่งสำคัญคือการช่วยส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพในเมืองไทยให้เติบโตไปพร้อมกับ AIS และเมื่อเราสร้างกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีแล้ว กลุ่มธุรกิจเหล่านั้นจะพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ต่อไป ซึ่งถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญที่ตนเองได้รับมอบหมาย

“แนวคิดสำคัญที่ตนเองนำมาใช้ในการทำงานคือ Charismatic Leadership หรือการมีภาวะผู้นำที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ ด้วยการที่ต้องทำงานในบทบาทผู้นำหญิง ตนจึงดึงจุดเด่นตามแนวคิดดังกล่าว มาช่วยส่งเสริมการทำงานอีกด้วย และที่ AIS ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องเพศ อายุ หรือตำแหน่งงาน โดยที่นี่ให้ความเท่าเทียมกับทุกคน พร้อมส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาส ที่จะพัฒนาตัวเอง เพราะที่ AIS เชื่อว่าเมื่อได้รับโอกาส ทุกคนก็จะแสดงศักยภาพของตนเองออกมาได้อย่างเต็มที่ พร้อมขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Cognitive Tech-Co ขององค์กรได้ต่อไป”

ดร.น้ำทิพย์ ทาตะนาม

อีกมุมมองของหญิงเก่งจากส่วนงานที่เป็นหัวใจสำคัญอย่าง การพัฒนา AI เพื่อการดูแลลูกค้าผ่าน Call Center สุดล้ำ ดร.น้ำทิพย์ ทาตะนาม ผู้จัดการด้านการวางแผนกลยุทธ์ของ AIS Call Center ได้เล่าถึงโอกาสที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการทำงาน การได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากหัวหน้า ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พิ้งค์สามารถเปลี่ยนระบบการทำงานสู่การนำเทคโนโลยี AI เข้าช่วยในการจัดระบบ Workforce ของพนักงาน ซึ่งทำให้เราสามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่ง นอกจากนี้ยังตอบโจทย์แนวทางของบริษัทที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดการทำงานแบบ Routine และยังเป็นพัฒนาศักยภาพใหม่ๆ ให้กับบุคลากร ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ

เมื่อถามมุมมองต่อการเป็นผู้หญิงที่ทำงานในโลกของเทคโนโลยี ดร.น้ำทิพย์ ได้ให้ความเห็นว่า ส่วนตัวเป็นผู้หญิงที่เติบโตมากับสายงานในโลกของ IT ทำให้เรากล้าคิด กล้าลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ เพราะพิ้งค์มีมุมมองที่ว่า เมื่อโลกนี้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาได้ แสดงว่าก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ มีเพียงแต่ว่าเราต้องหา How to หรือต้องทำอย่างไร เพราะฉะนั้นเรื่องเพศจึงไม่ได้มีส่วนสำคัญต่องานการงานในสาย IT แต่หากมองอีกมุมการเป็นผู้หญิงเราอาจจะได้เปรียบจาก Soft Skill ที่มีความละเอียดอ่อน และสามารถบริหารจัดการในบางเนื้องานได้ดีกว่าอีกด้วย

คุณวริษา คุณลักษิกา

ฟังมุมมองของ 2 วิศวกรสาวยุคใหม่ กับบทบาทผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมอัจฉริยะ ของ AIS ได้เล่าถึงการก้าวสู่อาชีพวิศวกรว่า “จริงอยู่ที่วิศวกรส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย แต่หากเรามองคิดอีกมุมหนึ่งว่าถ้าเราเป็นผู้หญิงที่ประสบการณ์ความสำเร็จในอาชีพวิศวกรนี้ได้ก็ดูมีความท้าทาย และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็สามารถทำทุกอย่างได้เช่นเดียวกันไม่เกี่ยวกับเรื่องของเพศ หนูจึงเลือกเรียน และเข้ามาทำงานที่ AIS ในตำแหน่งวิศวกรผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคม  ซึ่งการทำงานที่นี้เป็นเครื่องยืนยันว่าวิศวกรไม่ว่าจะเป็นเพศไหนทุกคนก็จะได้รับ “โอกาส” ในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้ง AIS ยังเปิด “โอกาส” ให้ใช้มุมมองในการทำงานที่หลากหลาย สามารถนำความรู้ ความสามารถ และศักยภาพ ที่เรามีมาช่วยผลักดันการดูแลคุณภาพสัญญาณได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิมากยิ่งขึ้นค่ะ” คุณลักษิกา กล่าว

ด้านคุณวริษา ไชยมงคล เผยจุดเปลี่ยนของการเดินหน้าสู่การเป็นวิศวกรสาวเต็มตัวไว้อย่างน่าสนใจว่า แรงบันดาลใจของการทำงานสายวิศวกร เริ่มต้นเลยจากการมองเห็นความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ต และสัญญาณมือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร เลยมีความตั้งใจที่อยากจะทำงานเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายของให้มีประสิทธิภาพ สามารถรับรองการใช้งานในทุกสถานการณ์ และถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานที่ AIS ในการดูแล Monitor สัญญาณการใช้ของลูกค้า 

“หนูมีความสนใจในเรื่องของการเขียนโปรแกรม จึงได้รับ “โอกาส” ในการทำงาน เพื่อเขียนโปรแกรมระบบอัตโนมัติเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ที่มีปัญหาในการใช้ ทำให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้หนูรู้สึกว่าการทำงานที่ AIS เราได้รับโอกาสในลองทำงานที่เรามีความสนใจและตรงกับเป้าหมายที่วางเอาไว้”

เรื่องราวทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างของวิธีคิดจากบุคลากรสุภาพสตรีที่ AIS จากหลากหลายสายงาน ที่ต่างยืนยันว่า ‘ได้รับโอกาส’ และ ‘การสนับสนุนอย่างเท่าเทียม’ ในการได้แสดงความสามารถในองค์กร เพราะแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากตื่นมาทำงานทุกวันคือ การได้พัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อรับมือกับความท้าทายทุกรูปแบบในโลกยุค Now Normal ร่วมกันสร้างให้ AIS เป็น Most Admired Cognitive Tech-CO พร้อมกับบุคลากรจากทุกหน่วยงานกว่า 13,000 ชีวิตนั่นเอง