Next Curve ไม่ใช่แค่ “Disruption !”

คอลัมน์ ช่วยกันคิด

โดย ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ Line@drsidney

 

วันนี้ผมจะพูดเรื่อง disruption ที่เข้ามาในเมืองไทยแล้วทำไมถึงต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลง และโมเดลธุรกิจไม่ได้หยุดอยู่แค่ขั้นนี้ แต่จะเป็นขั้นไหนค่อย ๆ ติดตามมา

disrupt เกิดขึ้นไม่นาน เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกับการใช้อีเมล์แทนไปรษณีย์ โดยมีเทคโนโลยีที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกคนในปัจจุบัน เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิด disruption ส่งผลให้ business model เปลี่ยนไปจากเดิม

มองย้อนกลับไปในยุค 1990 ที่ .com เพิ่งเปิดตัวออกมา ตอนนั้นทำให้เกิด “digital wave” ลูกแรกขึ้น Kodak เป็นกรณีศึกษาที่ถูกยกมาให้เห็นภาพได้ง่ายที่สุด เมื่อกล้องฟิล์มเริ่มถูกแทนที่ด้วยกล้องดิจิทัล แต่ Kodak ไม่สนใจ ปล่อยให้คนอื่นทำไป

ผลก็คือ Kodak พัง และฝืนกระแสต่อไปไม่ไหว และในท้ายที่สุดก็ผลิตกล้องดิจิทัลออกมาแข่งในตลาด

จนถึงปัจจุบัน ปรากฏ stage disruption 5 ขั้น เริ่มจากกรณี Kodak moment ซึ่งถือเป็นช่วงต้นของการ disrupt ขั้นที่ 2 คือ internet infrastructure เป็นช่วงที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาเชื่อมต่อทุกคนบนโลกไว้ด้วยกัน ซึ่งตอนแรกทุกคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่สุดท้ายกิจการในลักษณะอาลีบาบา ช้อปปี้ ฯลฯ ก็คือภาพของ business model ที่ต้องเปลี่ยน

ขั้นที่ 3 disruptive business model ก่อให้เกิดธุรกิจหลากหลาย เช่น อูเบอร์ ส่วน ขั้นที่ 4 คือ ขั้นที่กำลังจะมาถึงคือ internet of things ต่อด้วย ขั้นที่ 5 คือ artificial intelligence ยุค AI เริ่มผนวกรวมเครื่องไฟฟ้ากับอินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนระบบการทำงานที่มีหุ่นยนต์มากขึ้น

ไทยอยู่ตรงไหน ขั้นไหน สำหรับผมคือ ขั้นแรกของ internet of things ที่กำลังอยู่ในช่วงการเดินทางไปสู่ the adaption curve ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายคือ การเอาเรื่องทั้งหมดมาปรับปรุงจนถึงจุดสูงสุด คาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี 10 ปี เรียกว่าต้องเหนื่อยหน่อย

ปรากฏการณ์ disrupt เกิดขึ้นให้เห็นอยู่บ่อย ๆ กรณีของโรงภาพยนตร์ที่ย้ายมาอยู่ในบ้านจาก Netflix ที่ราคาถูกกว่าไปดูตามโรงภาพยนตร์

ขณะที่ Netflix ก็กำลังจะโดน disrupt ด้วยเช่นกัน เมื่อเจ้าใหญ่อย่างดิสนีย์กำลังเข้าสู่ตลาดออนไลน์ และจะไปซื้อหนังลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มาเพราไไะมีทุนเยอะกว่า Netflix

กรณีที่เห็นได้ชัด ในขั้น internet of things คือ การขนส่ง ความยุ่งยากของความจำหลากหลายเบอร์โทร. ถูกรวมอยู่ภายใต้แอปพลิเคชั่นไม่กี่แอป จำแค่ Grab กับ Line Man ก็ครบจบทุกเรื่องรวมถึงกรณีธุรกิจที่โลดแล่นอยู่ใน S&P 500 ที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อย และโดยทั่วไปจะอยู่ใน list ได้ไม่ถึง 20 ปี สะท้อนภาพธุรกิจที่ต้องมีการเปลี่ยนตามเทคโนโลยีเพราะถ้าไม่เปลี่ยน คนอื่นจะเปลี่ยนคุณด้วย disrupt

ประสบการณ์ตรงจากงานในฐานะที่ต้องเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ พบเห็นกรณี disrupt อยู่บ่อย ๆ กรณีเสิ่นเจิ้นของจีน ที่อดีตผู้ไปเยือนต่างหวาดหวั่นเรื่อง “ของหาย” มาวันนี้ของหายได้คืนใน 7 นาที ด้วยเทคโนโลยีที่ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งยังส่งผลให้ดินแดนแห่ง “ของก๊อป” อย่างเสิ่นเจิ้น ปรากฏ startup อย่างมากมายในปัจจุบัน

Distruptive มีผลกระทบไปยังอาชีพ ธุรกิจการงาน ทั้งระดับบุคคลและองค์กร อย่าคิดว่าเรื่องเหล่านี้ไกลตัว หรือเกี่ยวข้องแต่ในวงของเทคโนโลยีเท่านั้น แท้ที่จริงมันกำลังเข้าไปอยู่ในทุกวงการธุรกิจ แม้แต่ธุรกิจเกษตร ที่คิดว่าไม่น่าเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีการใช้โดรนในการพ่นยาฆ่าแมลง

สิ่งเหล่านี้คือ curve หรือคลื่นใหม่ ที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นโดยมีเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อน