AP หนุนนักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างพื้นที่สีเขียวให้ที่อยู่อาศัยแนวตั้ง

เอพี ประกาศผลนักออกแบบรุ่นใหม่ดีเด่น ในโครงการ AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ ออกแบบพื้นที่สีเขียวกับการอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง 3 สไตล์

3 นักออกแบบรุ่นใหม่ดีเด่น ในโครงการ “AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์” ออกแบบพื้นที่สีเขียวกับการอยู่อาศัยในชีวิตแนวตั้ง 3 สไตล์ ภายใต้โจทย์ NEW BREATH OF THE CITY ที่ “เอพี ไทยแลนด์” ร่วมกับภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จัดแข่งขันขึ้นเมื่อ 18 ธ.ค. 2563 โครงการดังกล่าวมีวัตถุเพื่อเอ็มพาวเวอร์นักออกแบบไทยรุ่นใหม่ ให้ได้พัฒนาความสามารถเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงานจริงในอนาคต

“วิทการ จันทวิมล” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กร และการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า โครงการ AP NEW GEN DESIGNER – สร้างนักคิด ต่อยอดดีไซน์สร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการเวิร์คช็อปเพื่อเข้าใจภาพรวมของการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างครบลูป จากนั้นลงสนามจริงเพื่อเรียนรู้ในทุกกระบวนการ แลกเปลี่ยนไอเดียระหว่างนิสิต คณาจารย์ และทีมงานเอพีอย่างเป็นระบบ และเปิดโอกาสให้นิสิตได้ลงมือทำจริง กับโจทย์ของคนที่ใช้งานจริง รวมระยะเวลา 2 เดือนเต็ม

นิสิตได้รับโจทย์ในหัวข้อ NEW BREATH OF THE CITY เพื่อสร้างสรรค์โปรเจคงานแลนด์สเคปดีไซน์ของที่อยู่อาศัยแนวตั้งหรือคอนโดมิเนียม ที่มีความท้าทายในด้านพื้นที่ คาแรคเตอร์ของตัวอาคาร บรรยากาศโดยรวม และพื้นที่แวดล้อม ความลงตัวกับวิถีชีวิต จำนวนของผู้พักอาศัย ตลอดจนต้องรักษาความร่มรื่นในระยะยาวได้ โดยได้ 3 ผู้ชนะ ดังนี้

นีรชา นิธิภิญโญเลิศ นิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับรางวัลวัลชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าของผลงาน “Home is a Shelter from Storms-all Sorts of Storms”

หนึ่ง “Home is a Shelter from Storms-all Sorts of Storms” ผลงานของ นางสาวนีรชา นิธิภิญโญเลิศ ที่ให้คำจำกัดความว่า คอนโดเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของคนที่ต้องเข้ามาทำงานในเมือง แต่ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างด้านพื้นที่ จึงทำให้ความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยแตกต่างกัน

ในฐานะของดีไซน์เนอร์ จึงต้องทำให้บ้านไม่ใช่เพียงสถานที่ แต่เป็นความรู้สึกสบายใจ เพื่อกลับมาเป็นสถานที่ที่สามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเองได้มากที่สุด ผ่านองค์ประกอบทางการออกแบบ 4 อย่าง คือ 1) material การเลือกใช้วัสดุธรรมชาติของไม้ เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น สบาย 2) planting การสร้างพื้นที่สีเขียวที่โล่งกว้าง เปรียบ เสมือนสนามหน้าบ้าน 3) lighting การสร้างพื้นที่โดยให้ได้รับแสงธรรมชาติตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก 4) space การสร้างพื้นที่ส่วนกลางแบบ semi-outdoor

“To Feel Free” ผลงานของ นางสาวปิยากร งามเกียรติขจร ที่สื่อถึงการสร้างอิสรภาพในการตามหาประสบการณ์ที่แตกต่างกัน 5 แบบภายในที่พักอาศัย ได้แก่ 1) difference ความแตกต่างที่เกิดจากการออกแบบพื้นที่ภูมิสถาปัตยกรรม 2) option หรือตัวเลือกที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกทางเข้าถึง และการใช้พื้นที่ส่วนกลางได้อย่างอิสระ 3) easiness & convenience การสร้างความสะดวกสบายและการเข้าถึงพื้นที่ส่วนกลางได้โดยง่าย 4) relaxing การสร้างพื้นที่ให้ได้พักผ่อน และปลดล็อคความเครียดในชีวิต 5) privacy การสร้างพื้นที่แห่งความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ส่วนกลาง

ปิยากร งามเกียรติขจร นิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับรางวัลวัลชนะเลิศอันดับ 2 เจ้าของผลงาน “To Feel Free”

“Back to the Wild” ผลงานของ นายตรัย ตั้งพิมาย ที่เป็นงานดีไซน์ เพื่อลดทอนความรู้สึกการหายไปของธรรมชาติในเมืองใหญ่ ผ่านการสร้างประสบการณ์ให้รู้สึกและได้สัมผัสอ้อมกอดของธรรมชาติ กับการส่งมอบประสบการณ์ใหม่ใน 3 ส่วนพื้นที่ของโครงการ ดังนี้ 1) Welcome to the Wild การสร้างสวนต้อนรับที่เปลี่ยนผ่านประสบการณ์ในเมืองที่วุ่นวายเข้ามาสู่ความสงบในโครงการ ผ่านองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตย์ ที่ช่วยตัดขาดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 2) Mysterious Garden การสร้างทางที่เดินเชื่อมต่อพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละก้าวย่าง 3) Top of Mountain Cliff การออกแบบเล่นระดับของพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่แตกต่างกัน โดยชั้นบนสุดต้องการให้สัมผัสถึงความเอ็กซ์คลูซีฟ เสมือนยืนอยู่บนยอดเขาในบรรยากาศธรรมชาติที่เห็นเส้นขอบฟ้า และยอดไม้

ตรัย ตั้งพิมาย นิสิตชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับรางวัลวัลชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าของผลงาน “Back to the Wild”