ไทย-ยูเรเซีย กระชับสัมพันธ์ภาคเกษตร พร้อมขอใบรับรองส่งออกลูกสัตว์ปีก-ไข่ฟัก

ไทย-ยูเรเซีย กระชับสัมพันธ์ภาคเกษตร

ไทย-ยูเรเซีย กระชับความสัมพันธ์ภาคเกษตร พร้อมผลักดันตลาดสินค้าเกษตรร่วมกัน ชงขอใบรับรองสุขอนามัยเพื่อส่งออกลูกสัตว์ปีกและไข่ฟักจากประเทศไทย

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับ นายอาร์ทัค คามัลยัน (Mr.Artak Kamalyan) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission: EEC)

“ในวันนี้ทางยูเรเซียได้หารือถึงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเกษตร (Agro-Industrial Complex) ซึ่งประเทศไทยมีความยินดีที่จะร่วมมือในด้านการเกษตรกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย นอกเหนือจากความร่วมมือในระดับทวิภาคี โดยเฉพาะกับประเทศสมาชิก EEC ได้แก่ รัสเซีย และคาซัคสถาน”

เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีฤดูกาลผลิตตลอดทั้งปี โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกมันสำปะหลัง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ข้าว และน้ำตาล ที่สำคัญของโลก อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทยจะใช้วัตถุดิบในประเทศกว่าร้อยละ 80 ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการ และสามารถให้บริษัทแข่งขันได้ในตลาดโลก

Advertisment

และปัจจุบันภาครัฐของไทยยังส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และ 2) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ โดยผู้เข้ามาลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี

โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์การวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) สถาบันอาหาร สถาบันมาตรฐานฮาลาล เป็นต้น สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลด้านการผลิตเป็นหลัก ซึ่งจะพยายามดูแลภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน และส่งต่อไปยังหน่วยงานด้านการแปรรูปขั้นสูงให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นอกจากนี้ ยังหารือถึงการพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายอาจหารือในระดับภาพใหญ่ ไม่ได้เน้นเฉพาะด้านการเกษตรมากนัก ส่งผลให้ความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรมและการเกษตรแห่งสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย

โดยเฉพาะประเด็นขั้นตอน กฎระเบียบและมาตรการการนำเข้าและส่งออกที่ชัดเจน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เสนอฝ่ายยูเรเซียให้ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านความร่วมมือด้านการเกษตร เพื่อที่จะสามารถผลักดันความร่วมมือ และเป็นคู่ค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันในอนาคต โดยฝ่ายยูเรเซียตอบรับและเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย

Advertisment

สำหรับฝ่ายไทยหยิบยกประเด็นหารือ ทั้งในเรื่องการขอให้กลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union: EAEU) รับรองใบรับรองสุขอนามัยเพื่อส่งออกลูกสัตว์ปีกและไข่ฟักจากประเทศไทย และการพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและยูเรเซีย

ซึ่งการค้าสินค้าเกษตรที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ร้อยละ 90 มาจากรัสเซีย จึงถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประมง ปศุสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ โดยการเปิดตลาดสินค้าเกษตรมาไทย โดยเฉพาะสินค้าประมงและปศุสัตว์จะมีขั้นตอนและกระบวนการที่รัดกุม โดยเฉพาะการตรวจประเมินการควบคุมโรคต่าง ๆ เช่น โรค African Swine Fever (ASF)

ทั้งนี้ การค้าสินค้าประมงระหว่างไทย-ยูเรเซีย ในปี 2559-2563 มีปริมาณเฉลี่ย 33,121.16 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ย 2,768.45 ล้านบาทต่อปี โดยการส่งออก ปริมาณเฉลี่ย 12,645.77 ตันต่อปี มูลค่าเฉลี่ย 1,131.72 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นการส่งออกไปรัสเซียกว่าร้อยละ 90 ซึ่งสินค้าที่มีการส่งออกเฉลี่ยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ปลาทูน่า เนื้อปลาซูริมิ ปลาเฮอร์ริง อาหารสุนัขหรือแมวที่มีปลาบรรจุภาชนะ