เตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี’66 อ่างเก็บน้ำใหญ่-กลางเหลือน้ำ 55%

ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน
ประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

กรมชลประทานเตรียมพร้อมบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี’66 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวม  41,774 ล้าน ลบ.. คิดเป็น 55% พร้อมเดินหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบนตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี เร่งเครื่อง 4 โครงการสำคัญ หวังบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (22 พ.ค.) วันที่ 22 ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานครการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป

พร้อมกับเปิดเผยว่าปัจจุบัน (22 .. 66) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 41,774 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างรวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 34,563 ล้าน ลบ.. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,328 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างรวมกัน สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 12,543 ล้าน ลบ..

จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา วันที่ 22-27 .. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมชลประทานได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ติดตามสภาพอากาศและสภาพฝนอย่างใกล้ชิด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือ เข้าไปดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำ

พร้อมเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 ที่กรมชลประทานกำหนดไว้ ได้แก่ 1.จัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี 2.บริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก 4.กักเก็บน้ำในเขื่อน รวมไปถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้มากที่สุด 5.วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอสำหรับทุกกิจกรรม และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้มากที่สุด

พร้อมกันนี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้วางแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างเป็นระบบในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบันและอนาคตของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบนตอนกลางจังหวัดอุดรธานี เพื่อนำเสนอโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัย

สำหรับ 4 โครงการสำคัญ ประกอบไปด้วย

1.โครงการฝายบ้านกุดหมากไฟ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 8,300 ไร่

2.โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านขอนยูงน้อย ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ ความจุ 4.38 ล้าน ลบ.. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 6,789 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ปีละกว่า 2 ล้าน ลบ..

3.โครงการประตูระบายน้ำห้วยเชียง 2 ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 1,300 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ประมาณปีละ 4.13 ล้าน ลบ..

4.โครงการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำบ้านสามพร้าว ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี มีความจุเก็บกักประมาณ 1.88 ล้าน ลบ..

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำ

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ซึ่งมุ่งเน้นในการบรรเทาทั้งปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงการพัฒนาลุ่มน้ำและพื้นที่ชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ จะทำให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 99,728 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 24,289 ไร่ และมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 103.36 ล้าน ลบ.. ช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ รวมทั้งยังจะทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน ตอบสนองต่อการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำ