ผู้เลี้ยงสุกรเฮ DSI ไล่บี้สอบขยายผลเพิ่มอีก 2 บริษัทในภาคใต้ สอบล้วงลึกขบวนการหมูเถื่อน หลังลงพื้นที่ตรวจ 11 บริษัท ทั้งปิดร้างและเป็นรายเล็ก พร้อมเตรียมทำลายหมูเถื่อน 161 ตู้ เสื่อมคุณภาพ ในก.ย.นี้ มั่นใจช่วยลดปัญหาขาดทุนเกษตรกรจาก 150 ล้านบาทเหลือ 100 ล้าน/เดือน
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 สมาคมผู้เรียนสุกรแห่งชาติรายงาน กรณี พ.ต.ต.ณัฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ( DSI )แถลงข่าวความคืบหน้าคดีหมูเถื่อนเลขที่ 59/2566 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 หลังจากได้มีการลงพื้นที่ตรวจค้นผู้นำเข้าทั้ง 11 บริษัทจากรายชื่อการตรวจตู้ของกลาง 161 ตู้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นบริษัทร้าง โดยเมื่อตรวจสอบเส้นทางการเงินในการชำระค่าสินค้า โดยมีมูลค่าย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2564 มีมูลค่า แต่ละรายหลายสิบล้านบาท มีทั้งชำระจากบริษัทดังกล่าวเองและผู้ชำระเป็นบุคคลภายนอก
ล่าสุด นอกจากบริษัทผู้นำเข้าทั้ง 11 ราย DSI มีการตรวจขยายผลอีก 2 บริษัทอยู่ในภาคใต้ โดยจะทำการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนบริษัทจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อดำเนินการ เอาผิดกับกระบวนการลักลอบนำเข้าหมู่เถื่อน
DSI มีความห่วงใยกับความเสียหายของเกษตรกรที่ขาดทุนในเบื้องต้นวันละประมาณ 150 ล้าน หรือคิดเป็น 30 บาท/กก.จากปริมาณการบริโภคหมูวันละ 5 ล้านกก. ปัจจุบันลดลงมาเหลือประมาณวันละไม่ถึงร้อยล้านบาทเนื่องจากราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวดีขึ้น
พร้อมกันนี้ กรมฯ มีความเห็นว่าควรจะ ทำลายสินค้าของกลางภายในเดือนกันยายน 2566 นี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่อยู่ในหมูซึ่งเก็บมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมเมื่อปีก่อนเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว
โดยปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้เตรียมพื้นที่ไว้แล้ว โดยวันที่แน่นอนจะมีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 7 วันก่อนเริ่มทำลาย
ระดับพื้นที่ที่ DSI ลงตรวจสอบทั้งหมด 11 จุดได้แก่ 1.บริษัทขวัญชัย เทคโนโลยี แอนด์คอนซัลแตนท์ 2.บริษัท กู๊ดวอเตอร์ อีควิปเม้นท์ จำกัด 3. หจก.กันตา ไทย โฟรเซนฟิช 4.บริษัท มายเฮ้าส์ เทรดดิ้ง จำกัด 5.บริษัท อาร์. ที.เอ็น.โอเวอร์ซี จำกัด 6.บริษัท เรนโบว์กรุ๊ป จำกัด 7.หกจ.สหัสวรรษ ฟู้ด 8.บริษัทซีเวิร์ด โฟรเซ่นฟู้ด จำกัด
9.และ 10. บริษัท ศิขัณทิน เทรดดิ้งจำกัด 11.บริษัทเดอะ คิว โลจิสติกส์ จำกัด