ชำแหละมาตรการคุมสารเคมีในโรงงาน ผู้ประกอบการส่งรายงานภายใน 30 เม.ย.นี้

โรงงาน
Photo : freepik

เปิดประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ภายใต้ พ.ร.บ.โรงงาน 2535 คุมเข้มทุกส่วนแล้ว ตั้งแต่ประเภทสารเคมี ประเภทโรงงาน การจัดเก็บ การรายงาน การป้องกัน การเตือน รวมถึงการกำจัด แต่เหตุใดยังเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันทุกปี

ดึงสถานประกอบการพลุเป็นโรงงาน

จากเหตุการณ์ระเบิดสถานประกอบการผลิตพลุ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา นับเป็นความสูญเสียครั้งร้ายแรง แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว จากการระเบิดของดอกไม้เพลิง หรือพลุ แม้ว่าสถานประกอบการแห่งนี้จะไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่มีเครื่องจักรในการประกอบกิจการ จึงไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน แต่ด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง

กระทรวงอุตสาหกรรมอาจต้องนำมาพิจารณาใหม่ เพื่อให้สถานประกอบการในลักษณะเหล่านี้ ประเภทนี้ ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ และเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เนื่องจากกฎหมายของ กรอ. มีการควบคุมเรื่องของสารเคมีที่เป็นอันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นการจัดระเบียบ และป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นในลักษณะนี้อีกในอนาคต

แก้ประกาศกระทรวง ให้ครอบคลุมทุกส่วน

และด้วยปัจจุบันการประกอบกิจการโรงงาน ของโรงงานภายใต้กฎหมายว่าด้วยโรงงาน บางครั้งอาจมีการเก็บหรือการใช้สารเคมีที่มีความเป็นอันตรายจำนวนมาก โดยหากโรงงานดังกล่าวยังมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมี ที่ยังไม่เหมาะสม กรณีดังกล่าวนี้อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อประชาชน ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม ในโรงงานและชุมชนโดยรอบโรงงานขึ้นมาได้

ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมีที่มีอยู่เดิมไม่สอดคล้องกับสภาพ ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จึงสมควรที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อกำหนด ให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

โดยกำหนดให้โรงงานต้องมีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงาน และจัดทำรายงานปริมาณสารเคมีของโรงงาน ภายใต้ “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2566”

ตีความหมายสารเคมี การเก็บ อุปกรณ์

ดังนั้น มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 จึงได้มีประกาศเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งกำหนดไว้ว่า กรณีเป็นสารเดี่ยวให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กรณีเป็นสารผสมให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

โดยใช้บังคับกับผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง ซึ่งหมายถึงผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการเก็บหรือการใช้ สารเคมีในการประกอบกิจการโรงงาน ยกเว้นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

โดย “สารเคมี” หมายความว่า สารที่อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ทั้งที่เป็นสารเดี่ยว และสารผสม ยกเว้นน้ำ “สารเคมีอันตราย” หมายความว่า สารเคมีที่สามารถจำแนกความเป็นอันตรายได้ “การจัดเก็บ” หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายแต่ไม่หมายความรวมถึงการเก็บ เตรียมเพื่อใช้งานในการประกอบกิจการโรงงาน

“การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร” หมายความว่า การจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร โรงงานที่จัดไว้เพื่อจัดเก็บสารเคมีอันตรายเป็นการเฉพาะ หรือการจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร โรงงานที่จัดเก็บในห้องจัดเก็บสารเคมีอันตราย

“เหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตราย” หมายความว่า เหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในทันทีทันใด ที่มีต้นเหตุหรือที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย เพลิงไหม้ หรือระเบิด

“อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” หมายความว่า อุปกรณ์ที่สวมใส่เพื่อป้องกัน อันตรายหรือลดความรุนแรงของการประสบอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน โดยต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO) หรือมาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN) เป็นต้น

ตรวจ-รายงานปีละครั้ง

นอกจากนี้ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยการตรวจสอบต้องดำเนินการโดยบุคลากรของโรงงาน หรือหน่วยงานตรวจสอบภายนอก และจัดเก็บบันทึกผลการตรวจสอบไว้ในโรงงานพร้อมให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

การบริหารจัดการความปลอดภัยสารเคมี ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีที่มีการเก็บหรือการใช้ ในการประกอบกิจการโรงงาน และต้องปรับปรุงบัญชีรายชื่อสารเคมีให้เป็นปัจจุบัน

ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตราย ที่มีการเก็บหรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน ในปริมาณตั้งแต่ 1 ตันต่อปีต่อสารเคมีอันตราย 1 ชนิด ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบตามที่กำหนดท้ายประกาศนี้ปีละ 1 ครั้ง

ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีฉลากที่เป็นภาษาไทย หรือคำแนะนำความปลอดภัย สารเคมีที่เป็นภาษาไทยไว้ที่ภาชนะบรรจุสารเคมี รวมถึงกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุฉลาก ต้องมีรายละเอียดตามระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของสารเคมี

ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) ของสารเคมีที่เป็นภาษาไทย หรือคำแนะนาความปลอดภัยสารเคมีี่เป็นภาษาไทย โดยคนงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

คุมเรื่องภาชนะบรรจุ

ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดูแลภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายให้ปิดสนิทมิดชิด ภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายต้องแข็งแรง ทนทานปลอดภัยในการจัดเก็บและใช้งาน สามารถขนย้ายได้ด้วยความปลอดภัย

ต้องจัดการไม่ให้สารเคมีอันตรายอยู่ใกล้เตาไฟ หม้อน้า ท่อไอน้า สายไฟฟ้าแรงสูง บริเวณที่อาจมีการเกิดประกายไฟ หรือในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูง

ต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรที่เหมาะสมกับชนิดของสารเคมี อันตราย โดยส่วนที่มีการสัมผัสกับสารเคมีอันตรา

ต้องทำจากวัสดุที่ถูกต้องและเหมาะสม ต้องจัดให้มีลิ้นเปิดปิด (Valve) ที่เหมาะสมกับชนิดของ สารเคมีอันตราย มีสัญลักษณ์หรือเอกสารแสดงคุณลักษณะในการใช้งานที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความดัน ทิศทางการไหล

ต้องจัดให้มีการตรวจสอบ ทดสอบและบารุงรักษาอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการร่ัวไหลของสารเคมีอันตราย ตามระยะเวลาที่กาหนดหรือเป็นไปตามแผนการบำรุงรักษา

ต้องจัดให้มีระบบการอนุญาตในการทำงานที่มีประกายไฟ หรือความร้อนที่เป็นอันตราย (Hot Work Permit System) ในการปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ความร้อน หรือการสะสมของสารไวไฟ หรือติดไฟในบริเวณปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมีอันตรายที่มีความเส่ียงในการติดไฟ ออกซิไดซ์ หรือระเบิดได้

ต้องจัดให้มีป้ายที่มีสัญลักษณ์ เรื่องความปลอดภัย เช่น ป้ายห้าม ป้ายเตือน ป้ายบังคับ หรือป้ายแสดงสภาวะปลอดภัย ที่เห็นได้ชัดเจน ในบริเวณที่มีการเก็บหรือ การใช้สารเคมีอันตราย

ต้องดำเนินการไม่ให้มีการสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่ม หรือพักอาศัย ในบริเวณที่มีการเก็บหรือการใช้สารเคมีอันตราย

ต้องจัดให้มีวิธีการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนในการประกอบกิจการโรงงาน เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในที่ปฏิบัติงาน หรือสามารถเข้าถึงได้

ต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ต้องจัดให้มีที่ชำระล้างดวงตาและร่างกายในกรณีฉุกเฉิน ในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีอันตราย วิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และการจัดการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ต้องจัดให้มีระบบการสื่อสารหรือการแจ้งเตือนในกรณีเกิด การรั่วไหลของสารเคมีอันตราย เพื่อสื่อสารให้คนงานในพื้นที่รับทราบและปฏิบัติตามแผนการระงับ เหตุฉุกเฉินสารเคมีอันตรายอย่างเคร่งครัด

เข้มระบบการขนย้าย

นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการความปลอดภัยการรับ การขนถ่ายและการเคลื่อนย้ายสารเคมีอัรตราย โดน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับ การขนถ่ายและการเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตราย รวมถึงมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจาย รวมถึง การกระเด็น หก รั่ว ไหล หรือตกหล่น โดยต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นไปตามหลักวิชาการ หรือคำแนะนาของผู้ผลิต โดยเก็บไว้ในที่ปฏิบัติงานพร้อมทั้งสื่ออสารให้คนงานที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจ และปฏิบัติตาม

ต้องจัดให้มีการติดตั้งสายดิน (Grounding) รวมถึงต่อฝาก (Bonding) ภาชนะบรรจุในขณะที่ทำการรับ การขนถ่าย หรือการเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายที่มี สมบัติไวไฟ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้าสถิต โดยการติดตั้งสายดิน (Grounding) รวมถึงต่อฝาก (Bonding) ต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม ต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุที่รับเข้ามาให้อยู่ใน สภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

9 มาตรการห้ามหย่อน

ดังนั้น จะสรุปได้ชัดเจนว่า มาตรการความปลอดภัยในการจัดเก็บสารเคมีอันตรายในอาคาร ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีมาตรการ ความปลอดภัย ดังนี้ 1.มีป้ายบ่งชี้ว่าเป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายแสดงให้เห็นชัดเจน

2.จัดทำแผนผังแสดงการจัดเก็บสารเคมีอันตรายที่เป็นปัจจุบัน โดยจัดเก็บในสถานที่ ที่ถึงได้ง่ายและพร้อมใช้งาน 3.ภาชนะบรรจุที่จัดเก็บต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสารเคมีอันตราย และอยู่ในสภาพ เรียบร้อย ไม่ชารุด เสียหาย

4.จัดเก็บสารเคมีอันตรายตามสมบัติความเป็นอันตราย โดยต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี อันตรายประเภทอื่นๆ ที่จัดเก็บอยู่แล้ว 5.จัดวางเรียงภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายซึ่งความจุสูงสุดไม่เกิน 450 ลิตร มวลสุทธิสูงสุดไม่เกิน 400 กิโลกรัม โดยต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หรือหากวางบนแผ่นรองสินค้า (Pallet) ต้องวางเรียงกันไม่เกิน 3 ชั้น ยกเว้นกรณีที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายบนชั้นวางที่มีความมั่นคง แข็งแรงเพียงพอ

6.มีมาตรการป้องกันหรือควบคุมไอระเหยสารเคมีอันตรายในพพื้นที่ที่มีการเก็บสารเคมี อันตราย 7.มีมาตรการในการป้องกันและระงับการหก รั่วไหล ของสารเคมีอันตราย 8.ต้องสามารถนำเครื่องมือและอุปกรณ์เข้าไประงับเหตุได้โดยสะดวกและปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง 9.มีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เหมาะสมกับชนิด และเพียงพอกับปริมาณสารเคมี อันตรายที่จัดเก็บ

รายงานภายใน 30 เมษายน 2567

ทั้งนี้ ยังมีประกาศเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ได้มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานใน 24 ประเภทโรงงานบัญชีแนบท้ายประกาศ (ทั้งประเภทโรงงานหลักและโรงงานรอง) ต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตราย ที่มีการเก็บหรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน (ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2566) เกิน 1 ตัน/ปี/สารเคมีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ปีละ 1 ครั้ง หรือต้องรายงานภายในวันที่ 30 เมษายน 2567

ส่วนผู้ประกอบกิจการโรงงานนอกเหนือจาก 24 ประเภทโรงงานบัญชีแนบท้ายประกาศ ซึ่งอยู่ในรอบการรายงานครั้งแรกนั้น ต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตราย ที่มีการเก็บหรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน (ตั้งแต่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2566) ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 กรณีที่ได้รายงานข้อมูลแล้วในปี 2565 หรือ 2566 ให้รายงานครั้งต่อไปภายในวันที่ 30 เมษายน 2568

ซึ่งการรายงานให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรายงาน ข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม